diff --git a/data/law.json b/data/law.json index a60ac80..cea4e71 100644 --- a/data/law.json +++ b/data/law.json @@ -1 +1 @@ -[{"no":1,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1ys9v80hud1-w5sySbU-rW3jwcrwEX21t/view","name":"ศนิวาร บัวบาน และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมการพัฒนาของมนุษย์ส่งผลให้เกิดภาวะอากาศสุดขั้วและภัยพิบัติต่าง ๆ ก่อให้เกิดความสูญเสียและความเสียหายในด้านต่าง ๆ เช่น ความพร้อมใช้ของน้ำและการผลิตอาหาร สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เมือง การตั้งถิ่นฐาน และโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ","solution":"สิทธิและหน้าที่\n- นิติบุคคล หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ตรวจวัดและจัดส่งรายงานปริมาณการปล่อยและดูดกลับ GHG\n- รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลทั้วไปเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยหรือดูดกลับ GHG ให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และเพิ่มศักยภาพประชาชนในการปรับตัว สร้างสังคมที่ยืดหยุ่น เน้นภาคส่วน/กลุ่มคนที่เปราะบาง พัฒนานวัตกรรมที่ช่วยในการปรับตัว มีการวางแผนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่\n- ภาคประชาสังคมต้องมีส่วนร่วมในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ สามารถติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐในการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้\n\nกลไกการขับเคลื่อน\n- คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและแผนการดำเนินงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ\n- แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ / แผนปฏิบัติการลด GHG / แผนการปรับตัว\n- กองทุนการเปลี่ยนผ่านสีเขียว การปรับตัวและรับมือภัยพิบัติ\n\nเป้าหมายและกลไกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก\n- ขยับเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เข้ามา 15 ปี และมีการทบทวนทุก 5 ปี\n- ใช้เครื่องมือทางการเงิน (เช่น ตราสารทุน การค้ำประกัน เงินอุดหนุน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ) สำหรับ SMEs / การคลัง (ภาษีคาร์บอน) / ราคาคาร์บอน เพื่อจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวและมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ปล่อยเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด\n- กำหนดกรอบเพดานการปล่อย GHG รายอุตสาหกรรม และตั้งเป้าหมายลด GHG ในรายอุตสาหกรรม โดยระดับเพดานจะลดลงทุกปี\n- คาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรอง ต้องลด GHG ได้จริง อันเกิดจากความพยายามเพิ่มเติม ตรวจสอบได้ ดูดซับถาวร มีกลไกป้องกันทางสังคมและสิ่งแวดล้อม แบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม และต้องเป็นไปตามหลักการให้ฉันทานุมัติที่ได้รับการรับรู้ บอกแจ้งล่วงหน้า และเป็นอิสระสำหรับชนเผ่าพื้นเมือง\n- ผู้ส่งออกสินค้าไป EU ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechamism: CBAM) สามารถจ่ายราคาคาร์บอนได้ในรูปของภาษี ค่าธรรมเนียม หรือสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ (ยกเว้นคาร์บอนเครดิต)\n\nบทกำหนดโทษ\n- กำหนดโทษทั้งผู้พัฒนาโครงการ เจ้าของโครงการ ผู้ซื้อ และผู้ประกอบธุรกิจคาร์บอนเครดิต ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย"},{"no":2,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน (อากาศสะอาด)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/184JiTVe-ful44ewvvVsc_8hsaQGPImSc/view?usp=sharing","name":"ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ และคณะ","status":[1,1,1,4,1,2,0,0,0,0],"detail":"ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) รวมถึงปัญหามลพิษทางอากาศมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยสาเหตุการเกิดปัญหามีด้วยกันหลายประการ เช่น การเผาในที่โล่ง เกษตรกรรม ไฟป่า อุตสาหกรรม ฯลฯ ตลอดจนปัญหามลพิษข้ามพรมแดน ซึ่งปัญหานี้ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งในเรื่องของสุขภาพ และเศรษฐกิจ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน จึงเป็นการสมควรให้มีกฎหมายที่จะแก้ไขปัญหาทั้งโครงสร้าง","solution":"บังคับจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ\n- โรงงานตามกฎหมายโรงงาน และบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต้องจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมท้ังระบบ \n- ธุรกิจที่มีหน้าที่ส่งรายงานแล้วไม่ส่งหรือแจ้งเท็จต้องระวางโทษท้ังจำคุกและปรับรวมถึงการส่งล่าช้าจะมีค่าปรับเป็นรายวัน \n\nนายก อบจ. เป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่\n- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นประธานกรรมการระดับจังหวัด และมีผู้บริหารท้องถิ่น ผู้แทนจากราชการส่วนภูมิภาค เป็นกรรมการร่วม \n- หากเกิดปัญหาฝุ่นพิษในพื้นที่เป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อประชาชน คณะกรรมการระดับจังหวัดสามารถประกาศ “เขตฝุ่นพิษอันตราย” และผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจในการส่ังการป้องกันและแก้ไขปัญหา \n- ป้องกันไม่ให้ท้องถิ่นถูกฟ้องกลับหากการดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ที่ทำไปด้วยความสุจริต\n\nเปิดเผยรายชื่อผู้ก่อมลพิษ (Social Sanction)\n- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีหน้าที่ ออกประกาศรายนามผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ที่เป็นสาเหตุของการก่อมลพิษ \n- หากพบว่าบุคคล องค์กร ธุรกิจ เป็นผู้ทำความผิด หรือมีส่วนท้ังทางตรงหรือทางอ้อม ที่ก่อให้เกิดฝุ่นพิษจะต้องถูกประกาศรายนามให้ประชาชนทราบ\n\nเปิดข้อมูลการทำงานของหน่วยงานให้ประชาชนทราบ\n- กระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. ต้องทำรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมทราบ \n- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต้องรายงานผลการดำเนินการให้สภาผู้แทนราษฎรปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ผู้แทนราษฎรได้เป็นกระบอกเสียงในการสะท้อนผลการดำเนินงาน"},{"no":3,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การรายงานการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม (PRTR)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1SH05PnaBFAnTssqrwHZVUnnSj8TeGv18/view","name":"กมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"- ประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่ปกป้องและรับรองสิทธิของชุมชนและประชาชนในการเข้าถึง รับรู้และตรวจสอบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม และสารเคมีอันตราย\n\n- ประชาชนไม่สามารถรู้ข้อมูลแหล่งที่มาของสารมลพิษเพื่อนำไปประเมินความเสี่ยงในการอยู่อาศัยได้ \n\n- รัฐไม่มีข้อมูลในการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดจากสารมลพิษได้ทันที \n\n- ประชาชนไม่มีเครื่องมือในการตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบกิจการ","solution":"- กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ครอบครอง, ปล่อย, หรือเคลื่อนย้ายสารมลพิษต้องทำการรายงานและเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง\n- หน่วยงานตามข้อ 1 ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะถึงข้อมูลเกี่ยวกับชนิดและปริมาณของสารเคมีหรือมลพิษที่มีการปลดปล่อยจากแหล่งกำเนิดสู่ตัวกลางสิ่งแวดล้อม ทั้งอากาศ ดิน น้ำ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลการนำน้ำเสียหรือของเสียที่มีสารเคมีหรือมลพิษออกจากแหล่งกำเนิด ไปบำบัดหรือกำจัดภายนอก"},{"no":4,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการขยะและการหมุนเวียนทรัพยากร","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/17epdYUpQXyMSZuJHeYuTZB0rDA58Y0qC/view","name":"พูนศักดิ์ จันทร์จําปี และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"การจัดการขยะเป็นปัญหาที่สะสมมาเป็นเวลานาน โครงสร้างการจัดการขยะของประเทศไทยยังมีความล้าหลังมีหน่วยงานทำงานซ้ำซ้อนและขาดการบูรณาการ ส่งผลให้ประเทศมีพื้นที่รับจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง เช่น บ่อเทกองซึ่งปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมและประชาชนมากกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ พื้นที่ปนเปื้อนจากการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับขยะไม่ได้รับการจัดการ ควบคุม และฟื้นฟู นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีการใช้ทรัพยากรที่สูง อัตราการรีไซเคิลยังมีค่าต่ำเนื่องจากขาดกฎหมายที่สนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน","solution":"- ยกเลิกการจัดการขยะตามการรับผิดชอบของหน่วยงานราชการ ให้แบ่งการจัดการขยะตามลักษณะของขยะ ได้แก่ ขยะติดเชื้อ, ขยะไม่อันตราย, ขยะอันตราย\n- กำหนดแนวทางด้านการจัดการขยะแบบครบวงจร ได้แก่ การคัดแยกขยะต้นทางภายใน 3 ปี, กำกับการขนส่งกลางทาง, กำหนดมาตรฐานและแนวทางการอนุญาตและควบคุมสถานที่จัดการขยะที่ปลายทาง\n- นำหลักการ Waste Hierarchy หรือลำดับขั้นในการจัดการขยะ (Reduce การลดการเกิดขยะ , Reuse การใช้ซ้ำ, Recycle การนำมาใช้ใหม่, Heat Recovery การนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการทำเป็นเชื้อเพลิง, Disposal การกำจัด) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการขยะ \n- สนับสนุนให้เกิดการหมุนเวียนทรัพยากร (Circular Economy) โดยใช้หลักการ “การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต” เพื่อให้ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ของตนเอง เช่น ซากบรรจุภัณฑ์, ซากขยะอิเลคโทรนิคส์ เป็นต้น โดยใช้มาตรการทางสังคมและเศรษฐศาสตร์ควบคู่กันในการออกแบบระบบการจัดการซาก ทั้งนี้สามารถกฎเกณฑ์ในรูปของกฎกระทรวงโดยไม่จำเป้นต้องออกเป็น พรบ. เพื่อลดระยะเวลาในการออกกฎหมายลง\n- กำหนดเงินค้ำประกันการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับขยะ และการตั้งกองทุนเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนเพื่อให้ภาครัฐเข้าไปแก้ไขและฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนได้ทันที"},{"no":5,"title":"ร่าง พ.ร.บ. สหภาพแรงงาน","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1FOPVAqu06YVlPgiyQOL8q_YK407Uu4jx/view?usp=drive_link","name":"เซีย จำปาทอง และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหากฎหมายเดิม โดยเฉพาะ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ที่มีบทบัญญัติหลายประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และไม่สอดคล้องกับหลักการที่เป็นมาตรฐานแรงงานสากลว่าด้วย “เสรีภาพในการรวมตัว” และ “การเจรจาต่อรองร่วม” (หลักการ ILO ฉบับที่ 87 และ 98) ทำให้คนทำงานและผู้จ้างงานส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้จริง นำไปสู่ความขัดแย้ง การต่อสู้ และเผชิญหน้ากันด้านแรงงานในประเทศไทยหลายครั้ง \n\nนอกจากนี้ กฎหมายเดิมยังครอบคลุมเฉพาะแรงงานในระบบและพนักงานรัฐวิสาหกิจเท่านั้น แต่ยังมีคนทำงานอีกมากมายทั้งที่ถูกเรียกว่าเป็นแรงงานนอกระบบ ข้าราชการ และลูกจ้างของรัฐที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว นี่จึงเป็นเหตุให้คนทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วมได้อย่างแท้จริง และทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่คนทำงานเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในอัตราที่ต่ำที่สุดของโลก คือราว 1.5% เท่านั้น\n\nการที่คนงานส่วนใหญ่ไม่สามารถรวมตัวและทำการเจรจาต่อรองร่วมได้ ส่งผลให้คนทำงานต้องถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ได้รับความเป็นธรรม มีค่าจ้างต่ำ สวัสดิการที่เลวร้ายไม่เหมาะสม ต้องทำงานหนักและยาวนานในแต่ละวัน และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลี่อมล้ำด้านแรงงานเป็นอันดับต้นๆ ของโลกด้วย","solution":"- ยกเลิกกฎหมายเดิมว่าด้วยเรื่องแรงงานสัมพันธ์ทุกฉบับ\n- เพิ่มคํานิยามใหม่ให้สอดคล้องกับหลักการของ ILO ได้แก่ ผู้จ้างงาน\" \"คนทํางาน\" \"คู่กรณี\" \"งานที่มีคุณค่า\" \"การเฉื่อยงาน\" \"การนัดหยุดงาน\" \"องค์การผู้จ้างงาน\" \"องค์การคนทํางาน\" \"คณะกรรมการคนทํางาน\"\n- คนทํางานทุกคนทุกรูปแบบงานสามารถตั้งสหภาพแรงงานได้\n- ตั้งสหภาพได้ทันที ไม่มีต้องขออนุญาต\n- เพิ่มการคุ้มครองสหภาพจากการฟ้องปิดปาก (SLAAP)\n- ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาแรงงานสัมพันธ์\n- ให้จัดตั้งสํานักงานส่งเสริมและพัฒนาแรงงานสัมพันธ์เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน\n- ให้มีคณะกรรมการการมีส่วนร่วมในสถานประกอบกิจการและในระดับอุตสาหกรรม\n- คนทำงานอาจจัดตั้งคณะกรรมการคนทํางานในสถานประกอบกิจการและในระดับอุตสาหกรรม\n- ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ให้ทําเป็นหนังสือและมีผลเริ่มบังคับภายในระยะเวลาที่คนทํางานและผู้จ้างงานตกลงกัน\n- องค์การคนทํางาน จะมีสิทธิแจ้งข้อเรียกร้องแทนต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยจํานวนสมาชิกองค์การคนทํางานต้องมีไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนคนทํางานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น ในกรณีองค์การคนทํางานเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องนั้นไม่จําเป็นต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อคนทํางานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง\n- กรณีที่จะมีการปรับโครงสร้างองค์กร ผู้จ้างงานต้องเจรจาต่อรองกับองค์กรคนทํางานที่เกี่ยวข้องก่อน\n- เมื่อมีการแจ้งข้อเรียกร้อง ถ้าข้อเรียกร้องยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การปิดงาน การนัดหยุดงาน ห้ามผู้จ้างงานเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงาน จนกว่าข้อพิพาทนั้นจะสิ้นสุด\n- กรณีนัดหยุดงานหรือปิดงาน ให้คนทํางานมีสิทธิชุมนุมในเขตพื้นที่สถานประกอบกิจการ และใช้น้ำ ไฟฟ้า ห้องสุขา หอพัก และสวัสดิการอื่น ที่ผู้จ้างงานจัดให้ก่อนนัดหยุดงานหรือปิดงานได้ โดยแจ้งให้คู่กรณีทราบและหลังจากแจ้งให้ทราบแล้ว 24 ชั่วโมง จึงจะนัดหยุดงานได้ เว้นแต่กิจการสาธารณูปโภคทั้งรัฐและเอกชนเป็นเจ้าของต้องแจ้งให้คู่กรณีและสาธารณชนทราบล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 3 วัน จึงจะนัดหยุดงานได้\n- คนทํางานทุกคนมีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้องในกิจกรรมที่คนทํางานทําร่วมกัน รวมทั้งการรวมกัน นัดหยุดงานได้ โดยการกระทําต่างๆ ดังกล่าวต้องมีเจตนาเป็นไปเพื่อเป้าหมายที่กำหนด\n- ห้ามผู้จ้างงานเลิกจ้าง โยกย้าย เปลี่ยนตําแหน่งหน้าที่ ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวาง การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการคนทํางาน หรือกระทําการใดๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการคนทํางานไม่สามารถทํางานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะมีคําพิพากษาถึงที่สุดจากศาลแรงงาน\""},{"no":6,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ยกเลิกประกาศ คสช.)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1WzDD5cl7cRGBip-ZqRMBC3-fGx5eJBah/view?usp=drive_link","name":"รังสิมันต์ โรม และคณะ","status":[1,1,1,4,1,2,0,0,0,0],"detail":"หลังรัฐประหาร 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกประกาศและคำสั่งหลายฉบับที่เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งถูกรับรองโดยมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ให้มีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมี พ.ร.บ. ยกเลิกหรือแก้ไข ถึงแม้จะมีการยกเลิกประกาศและคำสั่งไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังเหลืออีกหลายฉบับ (17) ที่มีเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ขัดต่อหลักนิติธรรม และไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล","solution":"ยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ที่จำกัดเสรีภาพการแสดงออก\n- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557\n- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 25/2557\n- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 29/2557\n- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557\n- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 49/2557\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558\n\nยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ที่จำกัดเสรีภาพสื่อมวลชน\n- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 26/2557\n\nยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ที่จำกัด\nสิทธิในกระบวนการยุติธรรม\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2559\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 5/2560\n\nยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ที่จำกัดสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 4/2558\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 17/2558\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2559\n-คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 4/2559\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 9/2559\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 74/2559\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 31/2560"},{"no":7,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน (อำนวยความสะดวก)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1tmG8ee04U-O1U5z4XfTefiGcxMX_E0jQ/view?usp=drive_link","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันประชาชนต้องเผชิญกับขั้นตอนการอนุญาตที่ไม่จำเป็นมากมายทำให้กระบวนการเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงการพิจารณายังต้องอิงการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการอนุมัติ อนุญาต ซึ่งเสี่ยงนำไปสู่การทุจริตและประพฤติมิชอบได้","solution":"เพิ่มกลไกในการทบทวนใบอนุญาตอย่างสม่ำเสมอ\n- กำหนดให้มีการทบทวนทุกกระบวนการขอใบอนุญาตอย่างน้อยทุก 5 ปี \n- กำหนดให้หน่วยงานจัดทำคู่มือประชาชนสำหรับทุกกระบวนการขอใบอนุญาต รวมถึงกรอบระยะเวลาในการพิจารณาใบอนุญาต โดยต้องมีการทบทวนคู่มืออย่างน้อยทุก 2 ปี\n\nเพิ่มความสะดวกและลดระยะเวลาในการขอใบอนุญาต\n- เปิดให้มีการจัดช่องทางพิเศษแบบเร่งด่วน (fast track) โดยมีค่าธรรมเนียมพิเศษ \n- กำหนดให้คำขอมีผลบังคับใช้เหมือนใบอนุญาตทันที (auto approve) หากไม่แจ้งผลการพิจารณาภายในกรอบเวลาที่ระบุในคู่มือ \n- เปิดให้มีการต่ออายุใบอนุญาตผ่านการชำระค่าธรรมเนียม โดยไม่ต้องยื่นคำขอต่ออายุ\n\nลดความซ้ำซ้อนในการขอใบอนุญาต\n- เปิดให้ผู้ขออนุญาตที่ต้องขออนุญาต จาก > 1 ราย ขอเพียงแค่ใบอนุญาตหลักได้\n- เปิดให้ผู้อนุญาตพิจารณาคำขอแทนกันได้ ในกรณีที่งต้องได้รับอนุญาตจาก > 1 ราย\n\nจัดตั้งศูนย์รับคำขอกลาง\n- ให้มีศูนย์รับคําขอกลางซึ่งดำเนินการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ"},{"no":8,"title":"ร่าง พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แผนและการกระจายอำนาจ)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/14c-hiDHijQihd0TEVUOFAYqMnrwy8xir/view?usp=drive_link","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"แม้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานรัฐที่ใกล้ชิดและมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่ แต่ท้องถิ่นปัจจุบันมีข้อจำกัดทั้งด้านอำนาจและงบประมาณในการจัดทำบริการสาธารณะและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเพราะข้อจำกัดจากการเขียนกฎหมายแบบ“positive list” ที่ระบุสิ่งที่ท้องถิ่นมีอำนาจทำได้เป็นข้อ ๆ ซึ่งทำให้ท้องถิ่นลังเลว่าทำได้หรือไม่เวลามีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาในพื้นที่แต่ไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย หรือข้อจำกัดทางกฎหมายที่ไม่รับรองช่องทางการหารายได้ที่หลากหลายเพียงพอ","solution":"เพิ่มอำนาจท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะ\n- กำหนดอำนาจท้องถิ่นแบบ “negative list” โดยระบุให้ท้องถิ่นจัดทำบริการสาธารณะได้ทั้งหมด ยกเว้น ทหาร-ศาล-เงินตรา-การต่างประเทศ และบริการสาธารณะระดับประเทศ \n- เพิ่มอำนาจท้องถิ่นเกี่ยวกับรูปแบบในการจัดทำบริการสาธารณะ - เช่น การร่วมมือกันระหว่างท้องถิ่นหลายแห่ง การทำสัญญากับเอกชนในรูปแบบการร่วมทุนหรือสัญญาสัมปทาน\n\nเพิ่มอำนาจท้องถิ่นในการหารายได้\n- เพิ่มช่องทางให้ท้องถิ่นหารายได้ผ่านการกู้เงินและออกพันธบัตร โดยให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) กำหนดหลักเกณฑ์ \n- เพิ่มช่องทางให้ท้องถิ่นหารายได้ผ่านการเก็บค่าธรรมเนียมที่รับรองโดยข้อบัญญัติท้องถิ่น\n\nกำหนดมาตรฐานบริการสาธารณะ\n- ให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของบริการสาธารณะที่ท้องถิ่นจัดทำทั่วประเทศ"},{"no":9,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ภาษีที่ดินแยกแปลง)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1ml1SATP6FQNfqWkqMcdglougjeSY9sPC/view?usp=drive_link","name":"ภัณฑิล น่วมเจิม และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"การกำหนดอัตราภาษีโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ยืดหยุ่น มีช่องโหว่ในการเลี่ยงภาษีด้วยการปลูกพืชในพื้นที่รกร้างใจกลางเมือง รวมถึงขั้นตอนและวิธีการประเมินและจัดเก็บภาษีไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพที่แท้จริงในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น","solution":"ปรับนิยามและการใช้ประโยชน์\n- ในนิยาม “สิ่งปลูกสร้าง” เพิ่มท่าเทียบเรือและนำเรื่องการอยู่อาศัยและใช้สอยออกจากนิยาม\n- เปลี่ยนการจัดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารใหม่\n\nปรับอัตราภาษี/อัตราเบี้ยปรับ\n- ปรับเพิ่มอัตราภาษีสูงสุดเป็น 3% และให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดอัตราภาษี\n- ปรับลดการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีสำหรับการประกอบเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยเป็นไม่เกิน 5 ล้านบาท \n- ปรับลดอัตราเบี้ยปรับภาษีค้างชำระลง 10 เท่า\n- ยกเลิกการเพิ่มอัตราภาษี กรณีปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าต่อไป\n\nแก้ไขวิธีการแจ้งการประเมินภาษี\n- กรณีที่ไม่สามารถนำส่งให้กับผู้เสียภาษีโดยตรงได้ ให้ประกาศในหนังสือพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นทางการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น\n- เพิ่มเวลาให้ อปท. ในการแจ้งภาษี\n\nแก้ไขหน้าที่-อำนาจของ คกก. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจังหวัด\n- ยกเลิกหน้าที่และอำนาจในการให้ความเห็นชอบอัตราภาษีตามร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"},{"no":10,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ภาษีความมั่งคั่ง","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1WW-BN6ofMfAyGjSyjRFgOvyHrbzbfku-/view?usp=drive_link","name":"ศิริกัญญา ตันสกุล และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยเป็นปัญหาใหญ่ ช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนรวยและคนจน ในประเทศไทยขยายมากขึ้นอย่างชัดเจน บุคคลทั่วไปจนลง แต่บุคคลหรือครัวเรือนที่ร่ำรวยกลับมีสินทรัพย์ถือครองเพิ่มมากขึ้นในขณะที่เสียภาษีในอัตราต่ำกว่าที่ควรจะเป็น อีกทั้งรัฐจำเป็นต้องจัดเก็บรายได้เพื่อเป็นงบประมาณในการบริหารประเทศและกระจายทรัพยากรให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน","solution":"กำหนดให้ผู้ที่มีสินทรัพย์สุทธิเกิน 300 ล้านบาท ต้องเสียภาษีความมั่งคั่ง \n- นำภาษีที่ชำระไปแล้ว หรือจะต้องชำระในปีนั้น เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีที่ดินรวมแปลง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาหักลบออกจากจำนวนภาษีความมั่งคั่งที่จะต้องชำระ ได้เป็นจำนวนภาษีความมั่งคั่งที่ต้องชำระจริง\n- อัตราภาษีเป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา แต่ต้องไม่เกิน 0.5% ของฐานภาษี\n- ทรัพย์สินบางประเภทจะไม่นำมาคำนวณเป็นฐานภาษี เช่น เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว หุ้นใน บมจ. ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ\n- การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกำหนด แต่อยู่บนพื้นฐานของราคาซึ่งอาจซื้อขายได้จริงในตลาด\n- การเก็บภาษีความมั่งคั่งจะไม่เก็บภาษีซ้ำซ้อนจากที่บุคคลนั้นเคยจ่ายไปแล้ว"},{"no":11,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อประชาชน (ส.ป.ก.)","category":"local","link":"https://drive.google.com/file/d/1pY75srBim-hKpxD-vwOVfw4VXD3fC1e_/view?usp=drive_link","name":"อภิชาติ ศิริสุนทร และคณะ","status":[1,3,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบัน เกษตรกรจำนวนมากขาดเอกสารสิทธิหรือโฉนดในที่ดินที่ตนเองใช้ชีวิตและทำมาหากินมาหลายรุ่น แม้เกษตรกรที่มีที่ดิน ส.ป.ก. ก็ยังไม่มีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน เพราะเอกสารสิทธิที่ดิน ส.ป.ก. เป็นเอกสารสิทธิที่มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนมือการครอบครอง ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ยกเว้นกับ ธ.ก.ส.) และการเปลี่ยนพื้นที่ทำกินและเปลี่ยนอาชีพ","solution":"เปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก. ให้เป็นโฉนดอย่างเป็นธรรม\n- หากผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน ตรงกัน: ออกโฉนดที่ดินได้เลย\n- หากผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่ตรงกัน: ออกโฉนดที่ดินต่อเมื่อ\n(1) เป็นผู้ที่มีหลักฐานใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี และ\n(2) เป็นผู้ที่มีหลักฐานข้อตกลงระหว่างผู้ได้รับสิทธิเดิมกับผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินจริง และ\n(3) เป็นผู้ที่มีทรัพย์สินทั้งหมดไม่เกิน 10 ล้านบาท\n- กรณีที่ใช้ที่ดินที่ผ่านมาเพื่อการเกษตร: ได้รับการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดได้ไม่เกิน 50 ไร่\n- กรณีที่ใช้ที่ดินที่ผ่านมาเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากการเกษตร: ได้รับการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด เฉพาะผู้ที่ครอบครองที่ดินรวมกันทั้งหมด (ทั้งโฉนดที่ดินแปลงอื่นๆ และ ส.ป.ก. ที่จะถูกเปลี่ยนเป็นโฉนด) ไม่เกิน 50 ไร่\n\nปรับเงื่อนไขการเปลี่ยนมือการครอบครอง\n- ภายใน 5 ปีแรก (กรณีที่ผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินตรงกัน) หรือ 10 ปีแรก (กรณีผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ตรงกัน): โอนมรดกได้ แต่หากจะขายหรือจำนอง ต้องดำเนินการผ่านธนาคารที่ดิน\n- หลัง 5 ปีผ่านไป (กรณีที่ผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินตรงกัน) หรือ 10 ปีผ่านไป (กรณีผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ตรงกัน): ทำธุรกรรมได้เหมือนกับโฉนดที่ดินทั่วไป"},{"no":12,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินรวมแปลง","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/16fA5Huf0Le9V6toFke7vOgf8swISAB4N/view?usp=drive_link","name":"ศิริกัญญา ตันสกุล และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ไทยมีปัญหาเรื่องการกระจุกตัวของที่ดินอยู่กับคนบางกลุ่มซึ่งอาจไม่ได้เกิดการใช้สอย โดยประมาณ 80% ของที่ดินกระจุกตัวอยู่ที่คนรวยที่สุดเพียง 5% ขณะที่ 75% ของคนไทยไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ซึ่งขณะนี้ไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้บุคคลซึ่งถือครองที่ดินจำนวนมากต้องเสียภาษีสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับบุคคลที่ถือครองที่ดินจำนวนน้อยกว่า อีกทั้งภาษีที่ดินในปัจจุบันถูกคำนวณและจัดเก็บแบบแยกแปลง จึงทำให้บุคคลที่มีที่ดินหลายแปลงทั่วประเทศที่มีขนาดเล็ก อาจจ่ายภาษีที่ดินน้อยกว่าบุคคลที่มีที่ดินไม่กี่แปลงแต่มีขนาดใหญ่ ทั้งๆที่พื้นที่ที่ดินรวมทุกแปลงของแต่ละบุคคลจะเท่ากัน","solution":"พัฒนาระบบภาษีที่ดินแบบรวมแปลง\n- ประเมินฐานภาษีจากมูลค่าที่ดินทุกแปลงที่บุคคลนั้นเป็นเจ้าของ\n- ผู้มีขนาดที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ และที่ดินนั้นมีมูลค่าตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไปต้องเสียภาษี (กรณีนิติบุคคล มีที่ดิน 1 ไร่ ก็ต้องเสียภาษี) \n- อัตราภาษีเป็นไปตามบัญชีแนบท้าย แต่ไม่เกิน 1% (กรณีนิติบุคคล ให้ใช้อัตราภาษีสูงสุดในการคำนวณภาษี)\n- เมื่อคำนวณได้ภาษีที่ต้องจ่าย ให้นำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้จ่ายให้ อปท. ในปีนั้นมาลบออก จะได้จำนวนภาษีที่ต้องจ่ายจริง\n- ภาษีส่วนหนึ่งที่เก็บได้จะถูกหักออกมาเข้าธนาคารที่ดินก่อนนำส่งคืนรัฐ"},{"no":13,"title":"ร่าง พ.ร.บ. บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า (บำนาญถ้วนหน้า)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1otk2NS9b6KOyX1hq4sEYEQ-cGUiH4L8p/view?usp=drive_link","name":"เซีย จำปาทอง และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันหลักประกันสำหรับผู้สูงอายุที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอต่อการเป็นหลักประกันทางรายได้และได้รับเงินในอัตราที่แตกต่างกันไปตามอาชีพ หากผู้สูงอายุที่เคยรับราชการอาจมีหลักประกันชีวิตจากเงินบำเหน็จบำนาญ ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับราชการแต่เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคมอาจมีเงินบำนาญจากกองทุนประกันสังคมซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนกับบริษัทผู้ประกอบการแต่รัฐไม่ได้อุดหนุน และมีผู้สูงอายุอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าเกณฑ์สองข้อข้างต้นและได้รับเพียงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่รัฐบาลให้ 600 - 1,000 บาทต่อเดือน ซึ่งไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยจากสถิติด้านความยากจนและการกระจายรายได้ในปี 2564 ของ สศช. พบว่า เส้นแบ่งความยากจน (Poverty Line) ค่าเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่ 2,803 บาท ดังนั้น ประชาชนที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไปทุกคนควรมีสิทธิได้รับการดูแลจากภาครัฐอย่างถ้วนหน้าทุกคนโดยไม่มีความเหลื่อมล้ำกันระหว่างประชากรสาขาอาชีพต่างๆ","solution":"ให้มีบำนาญพื้นฐานแบบถ้วนหน้าเป็นหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุทุกคน \n- กำหนดคำนิยาม “บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า” “คณะกรรมการ” “กรรมการ” และ “รัฐมนตรี” กำหนดให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย\n- กำหนดให้บุคคลทุกคนที่มีสัญชาติไทยอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้ได้รับบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า โดยไม่ตัดสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุที่ได้รับบำนาญตามกฎหมายอื่น กำหนดให้รัฐมีหน้าที่จักบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า และกำหนดอัตราบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า ปรับเพิ่มทุก 3 ปี ตามเส้นความยากจนที่กำหนดโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ\n- กำหนดให้มีคณะกรรมการ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ โดยให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตาม พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เป็นคณะกรรมการบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า การห้ามกรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาเข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น และให้มีอำนาจหน้าที่ในการออกคำสั่งเรียกให้บุคคลผู้เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ และส่งเอกสารประกอบการพิจารณา และการตั้งอนุกรรมการเฉพาะด้านเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษา เสนอแนะทางวิชาการต่อคณะกรรมการ\n- กำหนดบทกำหนดโทษกรณีผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ กรณีผู้มีสิทธิโดยไม่สุจริต และกรณีที่รัฐจ่ายเงินบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าล่าช้า หรือไม่ครบถ้วนจะต้องจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จนกว่าจะจ่ายครบถ้วน\n- กำหนดบทเฉพาะกาลให้คณะกรรมการประกาศปรับเปลี่ยนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เป็นบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าภายใน 180 วัน หลังจาก พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ"},{"no":14,"title":"ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ลาคลอด 180 วัน)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1i2wliZDhLJDHvIaUpbcLGOUw-dPdrcNd/view?usp=drive_link","name":"วรรณวิภา ไม้สน และคณะ","status":[1,1,1,4,1,2,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันมีผู้ใช้แรงงานมากกว่า 700,000 คนที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ แต่ไม่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบคุ้มครองให้เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงทําให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวได้รับสิทธิประโยชน์ต่ำกว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานกําหนด เช่น ลาป่วยโดนหักค่าจ้าง เป็นต้น\n\nวันลาคลอดตามกฎหมายปัจจุบันให้สิทธิลาคลอดเพียง 98 วัน และมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียง 90 วัน โดยพ่อแม่ไม่สามารถแบ่งวันลากันได้ ซึ่งถือเป็นเหตุหนึ่งที่ทําให้พ่อแม่หลายคนตัดสินใจมีบุตรน้อยลง มีส่วนมาจากความกังวลในภาระค่าใช้จ่ายและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการมีบุตร","solution":"- เจ้าหน้าที่ในภาครัฐไม่ว่าจะอยู่ในราชการส่วนใด รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หากมีกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ กําหนดสิทธิประโยชน์ไว้อยู่แล้ว ให้ใช้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบนั้น โดยไม่ต่ำกว่า พรบ.คุ้มครองแรงงาน กําหนด\n- ขยายสิทธิลาเพื่อคลอดหรือเลี้ยงดูครรภ์หนึ่ง (การท้อง 1 ครั้ง) รวมไม่เกิน 180 วัน (ตามคําแนะนําขององค์การอนามัยโลก) โดยได้รับค่าจ้าง 180 วัน จากนายจ้างไม่น้อยกว่า 90 วัน และได้รับค่าจ้างพร้อมสิทธิประโยชน์อื่นจากสํานักงานประกันสังคมเพิ่มเติมอีก 90 วัน โดยวันลาดังกล่าวสามารถมอบสิทธิของตนให้บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร(บิดาและมารดาได้จดทะเบียนสมรส) หรือคู่สมรสตามกฎหมายของตนได้ไม่เกิน 90 วัน"},{"no":15,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ปลดล็อกอุตสาหกรรมผู้ใหญ่)","category":"democracy","link":"ร่างฉบับเท่าพิภพเป็นผู้เสนอ (https://drive.google.com/file/d/1NJe-sozs4LTRUjY7jtm6k8psSlFY613h/view?usp=sharing) และร่างฉบับธัญวัจน์เป็นผู้เสนอ (https://drive.google.com/file/d/1tAdzjoJE18rnPk7Oi1tBEl_Z1NyKdtYo/view?usp=sharing)","name":"เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และคณะ\nธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้ความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งเอกสารภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก หรือประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าว จ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่าวัตถุหรือสิ่งของเช่นว่านั้น หรือเพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว การโฆษณาหรือไขข่าวโดยประการใด ๆ ถือเป็นความผิดอาญา อันเป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพของบุคคลตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงสมควรใช้มาตรการตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองการประกอบอาชีพของบุคคลในการประกอบการค้าเกี่ยวกับเอกสารภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก วัตถุหรือสิ่งของลามก การโฆษณาหรือไขข่าวที่ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับบุคคลอายุต่ำกว่ายี่สิบปีหรือที่เป็นการใช้ความรุนแรงให้สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ","solution":"- แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ปลดล็อกอุตสาหกรรมผู้ใหญ่ เพื่อความประสงค์แห่งการค้า การแจกจ่าย หรือการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้า-ส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ\n- สื่อผู้ใหญ่ ห้ามมีเนื้อหาเป็นบุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี"},{"no":16,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 (ยุบ กอ.รมน.)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1j_zsTfewI6TolPLWYqtUvuqlmdlQWgyZ/view?usp=drive_link","name":"รอมฎอน ปันจอร์ และคณะ","status":[1,3,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ได้เปิดช่องให้ข้าราชการทหารมีอำนาจเหนือข้าราชการพลเรือนในภารกิจการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ ผ่านการจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่ได้ขยายอำนาจมาเป็นโครงสร้างรัฐซ้อนรัฐ ที่ยัดเยียดนิยามความมั่นคงแบบทหารมาใช้ในภารกิจความมั่นคงภายใน ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลทหารในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของผู้เห็นต่าง และที่ทำภารกิจที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานความมั่นคงอื่น รวมถึงขยายมาสู่ภารกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง (เช่น การศึกษา พลังงาน สิ่งแวดล้อม)","solution":"ยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)\n- ยกเลิก พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 51/2560 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่เกี่ยวข้องกับการมีอยู่และอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน.\n- โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกอ.รมน. ที่ถูกยุบไป มาเป็นของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย"},{"no":17,"title":"ร่าง พ.ร.บ. รับราชการทหาร (ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/123FygDde7YOE0zkrMuOorUzjzTX2SmBF/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,3,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ประเทศไทยยังมีระบบเกณฑ์ทหารที่บังคับชายไทยบางส่วนเข้ารับราชการทหารเป็นเวลา 0.5- 2 ปี แม้ในห้วงเวลาที่ไม่มีภัยสงคราม ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียทั้งในการลิดรอนเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพในระดับปัจเจกบุคคล และในการนำทรัพยากรมนุษย์ในวัยทำงานออกจากระบบเศรษฐกิจในระดับประเทศ การยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารจะไม่กระทบกับภารกิจการรักษาความมั่นคงของประเทศ หากทำควบคู่กับการลดยอดกำลังพลที่ไม่จำเป็นและการยกระดับคุณภาพชีวิตของพลทหารซึ่งจะนำไปสู่ยอดสมัครใจที่สูงขึ้น","solution":"ยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร (ในยามปกติ)\n- ในยามปกติ: คัดเลือกบุคคลเข้าเป็นทหารกองประจำการจากบุคคลที่สนใจสมัครรับราชการทหารด้วยตนเองเท่านั้น โดยเปิดให้บุคคลทุกเพศสามารถสมัครเป็นทหารกองประจำการได้\n- เปิดช่องให้คณะรัฐมนตรีตราพระราชกฤษฎีกาเรียกและตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ เฉพาะในยามที่มีเหตุปรากฎว่าประเทศอาจเผชิญสงครามในระยะเวลาอันใกล้\n\nยกระดับคุณภาพชีวิตของพลหทาร\n- ห้ามนำทหารไปทำงานรับใช้ส่วนตัว (พลทหารรับใช้) หรือกระทำการใดที่ละเมิดต่อร่างกายหรือจิตใจ\n- กำหนดให้หลักสูตรฝึกวิชาทหารต้องส่งเสริมความรู้ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน\n- สนับสนุนให้มีการทบทวนรายได้ สวัสดิการ และ สิทธิประโยชน์ของพลทหารให้เหมาะสมขึ้น\n- ปรับระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่พลทหารให้มีความยืดหยุ่นขึ้น โดยคำนึงถึงความก้าวหน้าทางอาชีพ\n\nออกแบบขั้นตอนธุรการให้ทันสมัยขึ้น\n- กำหนดให้รายละเอียดและขั้นตอนธุรการต่าง ๆ (เช่น การขึ้นบัญชีทหารกองเกิน การรับสมัครทหารกองประจำการ การปลดทหารกองประจำการ) ถูกออกแบบในระดับกฎกระทรวง เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง"},{"no":18,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ถนน","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/14eYoK5cIwGGirWrOsZ7lJUyGlLjLELu2/view?usp=drive_link","name":"สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ และคณะ","status":[1,3,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบัน ถนนในท้องถิ่นไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมทั้งในแง่ของการก่อสร้าง ปรับปรุง และบำรุงรักษา ซึ่งทำให้ประชาชนไม่มีความสะดวกสบายและปลอดภัยในการสัญจรเท่าที่ควร เนื่องจากมีความทับซ้อนกันระหว่างภารกิจของหลายหน่วยงาน มีการกระจุกอำนาจและงบประมาณไว้ที่ส่วนกลาง ขาดการวางโครงข่ายและแบ่งลำดับชั้นของถนนอย่างเป็นระบบและไม่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาเมืองที่ควรจะเป็น","solution":"บริหารจัดการถนนทุกสายทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ\n- จัดตั้ง “คณะกรรมการนโยบายถนน” เพื่อกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาโครงข่ายถนนทั่วประเทศ \n- กำหนดประเภทถนนใหม่ โดยแบ่งลำดับชั้นของถนน (ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงหลัก ทางหลวงรอง ถนนท้องถิ่นสายหลัก ถนนท้องถิ่นสายรอง) ให้สอดคล้องกับหน้าที่การใช้งาน และการบริหารจัดการที่ยึดหลักกระจายอำนาจ\n- ยุบเลิกกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ภายใน 2 ปี เพื่อกระจายภารกิจและงบประมาณไปยังกรมทางหลวง (ทล.) และท้องถิ่น (อปท.) ตามประเภทถนน\n\nยกระดับประสิทธิภาพในการจัดการเงินค่าผ่านทาง\n- จัดตั้ง “กองทุนค่าผ่านทาง” เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการจัดการเงินค่าผ่านทาง และเพิ่มช่องทางในการนำเงินงบประมาณกองทุนไปใช้ในการก่อสร้าง-ปรับปรุง-บำรุงรักษาถนน และยกระดับความปลอดภัยในการใช้ถนน\n\nยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยในการใช้ถนน\n- จัดตั้ง “คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์บนถนน” เพื่อศึกษาและออกแบบมาตรการในการป้องกันและสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติเหตุร้ายแรง และอุบัติการณ์บนถนน\n- กำหนดเพดานความเร็วให้ชัดเจนตามนิยามประเภทถนนใหม่"},{"no":19,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/12int7l44cH8qNr1V0l6D0OmcEv0fdtf_/view?usp=drive_link","name":"เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล และคณะ","status":[1,1,1,1,1,2,0,0,0,0],"detail":"แม้ระบบกฎหมายของไทยจะไม่ได้บัญญัติให้มีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ หากแต่ในทางปฏิบัติการที่กลุ่มชาติพันธุ์มีวิถีชีวิต อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่มีโอกาสเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ เหมือนกับคนทั่วไปได้จริง ในทางตรงกันข้าม กลับได้รับผลกระทบจากกฎหมายและนโยบายที่ไม่เป็นธรรมหลายเรื่อง เช่น ป่าไม้และทรัพยากร การศึกษา สถานะบุคคลและสัญชาติ","solution":"คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ฯ ตามรัฐธรรมนูญฯ และพันธกรณีระหว่างประเทศ\n- ห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติหรือสร้างความเกลียดชัง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยบุคคล หน่วยงานรัฐ \n- การออกกฎหมายและนโยบาย รวมทั้งสื่อ\n- ส่งเสริมให้ได้รับสิทธิวิถีชีวิต ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนา\n\nจัดตั้งกลไกส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ฯ\n- ตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ฯ แห่งชาติ, จังหวัด, เฉพาะเรื่อง ทำหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ในทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และภาควิชาการ\n\nประกาศพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง\n- คุ้มครองสิทธิในวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนา และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีบนฐานเศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรม\n- ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ แล้วใช้ระเบียบที่ตั้งขึ้นมาตามกฎหมายฉบับนี้แทน"},{"no":20,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (ปลดล็อกเวนคืน)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1wQb8Zq-ZoemCQTUpTs8Bx5KqmtbczgIY/view?usp=drive_link","name":"ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และคณะ","status":[1,3,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบัน อำนาจในการอนุมัติการริเริ่มกระบวนการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีโดยการออกพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น ทำให้กระบวนการเวนคืนนั้นเกิดขึ้นอย่างล่าช้า ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการอันจำเป็นในกิจการสาธารณูปโภค หรือเพื่อประโยชน์สาธารณของประชาชนได้อย่างทันท่วงทีและไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร","solution":"เพิ่มอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจ\n- กำหนดให้มีผู้มีอำนาจอนุมัติการริเริ่มกระบวนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์\nครอบคลุมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดและกรุงเทพมหานคร โดยสามารถออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนได้เอง นอกเหนือจากการออกพระราชกฤษฎีกาของคณะรัฐมนตรีเพียงฝ่ายเดียว เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินภารกิจอันจำเป็น\nเพื่อตอบสนองต่อความต้องการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น\n- “ข้อบัญญัติท้องถิ่น” หมายความว่า ข้อบัญญัติอบจ. หรือข้อบัญญัติกทม. แล้วแต่กรณี"},{"no":21,"title":"ร่าง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ (ยกเลิกเงินนอกงบประมาณกองทัพ)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1B7mRPCMdSVE-yLPbeJmw55OHOqTN5DdF/view?usp=drive_link","name":"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคณะ","status":[1,4,1,1,3,0,0,0,0,0],"detail":"กระบวนการจัดทำและตรวจสอบงบประมาณปัจจุบัน ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการประเมินสถานะทางการคลังของประเทศ รวมถึงการประเมินความคุ้มค่าและความโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณ เนื่องจากการรายงานข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน (เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายของรัฐจากการดำเนินโครงการต่างๆ ของหน่วยงาน ข้อมูลเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณบางส่วนที่มีข้อตกลงให้ไม่ถูกฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง)","solution":"เพิ่มความโปร่งใสเรื่องภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐ\n- กำหนดให้มีการรายงานยอดคงค้างของภาระการชดเชยค่าใช้จ่ายของรัฐบาลต่อสาธารณะผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงการคลัง\n- กำหนดให้มีการเปิดเผยรายงานสถานะหนี้สาธารณะ หนี้ภาครัฐ และความเสี่ยงทางการคลังต่อสาธารณะผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงการคลัง\n\nเพิ่มความโปร่งใสเรื่องเงินนอกงบประมาณทั้งหมดของรัฐ\n- ยกเลิกข้อตกลงระหว่างหน่วยงานรัฐและกระทรวงการคลังทั้งหมดก่อนหน้านี้ (เช่น ระหว่างกองทัพและกระทรวงการคลัง) ที่อนุญาตให้นำเงินนอกงบประมาณไปฝากไว้ที่หน่วยงานและบริหารจัดการเอง แทนที่จะส่งกลับมาฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง\n- ห้ามไม่ให้มีข้อตกลงระหว่างหน่วยงานรัฐและกระทรวงการคลังอีกต่อไป ในการไม่นำเงินนอกงบประมาณมาฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง - การกระทำดังกล่าวจะกระทำได้เฉพาะกรณีที่มีกฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น"},{"no":22,"title":"ร่าง พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ระเบียบราชการกลาโหม)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1X2NRZtQLj_lRwQ_cHFkLT79cKM7nS6aq/view?usp=drive_link","name":"ธนเดช เพ็งสุข และคณะ","status":[1,4,1,2,0,0,0,0,0,0],"detail":"ที่ผ่านมา ทหารและกองทัพมีอิทธิพลทางการเมืองผ่านโครงสร้างรัฐที่จัดวางอำนาจของกองทัพให้อยู่เหนือรัฐบาลพลเรือนในหลายกระบวนการตัดสินใจ (เช่น อำนาจของสภากลาโหมในการกำหนดนโยบายและพิจารณางบประมาณทางการทหาร อำนาจของบอร์ดแต่งตั้งนายพลที่ประกอบไปด้วยข้าราชการทหารเป็นส่วนใหญ่) ซึ่งขัดกับหลักการประชาธิปไตยและทำให้กองทัพอยู่ในสภาวะยกเว้นเมื่อเทียบกับหน่วยงานส่วนราชการอื่น","solution":"ตัดอำนาจของสภากลาโหมทั้งหมดที่อยู่เหนือพลเรือน\n- กำหนดให้สภากลาโหมมีอำนาจหน้าที่เหลือเพียงแค่ให้คำปรึกษาหรือเสนอความเห็นแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตามเรื่องที่กำหนด\n- ปรับให้การกระทำการหรือการตัดสินใจใดๆ ที่เคยต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากลาโหม เปลี่ยนเป็นเพียงการให้มีการเสนอความเห็นโดยสภากลาโหม\n\nปรับที่มาของสภากลาโหมให้ยึดโยงกับพลเรือนมากขึ้น\n- ลดสัดส่วนของข้าราชการทหารในสภากลาโหมลง จากเดิม 19/24 คน เหลือ 5/11 คน\n- กำหนดให้สภากลาโหมชุดปัจจุบันพ้นตำแหน่งทันที เพื่อสรรหาสภากลาโหมตามกระบวนการใหม่\n\nยกเลิกบอร์ดแต่งตั้งนายพล\n- กำหนดให้การแต่งตั้งนายพล เป็นไปตามกลไกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนด\n- กำหนดให้การแต่งตั้งนายพล ต้องยึดหลัก merit system (ระบบคุณธรรม)\n\nปรับเกณฑ์ในการจัดซื้ออาวุธ\n- เพิ่มเกณฑ์ด้านความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบ และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ \n(การถ่ายทอดเทคโนโลยี & การจ้างงาน) ในทุกการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์"},{"no":23,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางบก (กระจายอำนาจขนส่ง)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1O_nf2mSh-xxGgh2i-KBb9ZubJ6Uka5z_/view?usp=drive_link","name":"สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"ท้องถิ่นมีข้อจำกัดในการจัดทำระบบขนส่งสาธารณะตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากต้องผ่านการอนุมัติจากราชการส่วนกลาง - แม้ว่าแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจบางส่วนให้แก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด แต่ปัจจุบันยังไม่มีการแก้กฎหมายเพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจเหล่านั้น ในขณะที่องค์ประกอบของคณะกรรมการส่วนใหญ่ยึดโยงกับราชการส่วนกลางมากกว่าประชาชนในพื้นที่","solution":"เพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่นด้านขนส่งสาธารณะทางตรงและทางอ้อม\n- เพิ่มอำนาจ เทศบาล อบต. กทม. และ เมืองพัทยา ในการกำหนดเส้นทาง-จำนวนผู้ประกอบการ-อัตราค่าบริการขนส่งสาธารณะภายใน อปท. \n- เพิ่มอำนาจคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดในการ\n(1) กำหนดเส้นทาง-จำนวนผู้ประกอบการ-อัตราค่าบริการขนส่งสาธารณะระหว่าง อปท. ในจังหวัด\n(2) อนุมัติการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง \n(3) อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบรับจัดการขนส่ง \n(4) อนุมัติการออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานีขนส่ง และการบริหารจัดการสถานีขนส่ง \n- เพิ่มอำนาจนายทะเบียนประจำจังหวัด ในการ\n(1) ออกใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง (แทนที่นายทะเบียนกลาง) \n(2) ออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานีขนส่ง (แทนที่นายทะเบียนกลาง)"},{"no":24,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า (แข่งขันการค้า)","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1Z6bHLF2APFjGKJPpllZSlg6CVg6rYWIP/view?usp=drive_link","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ประเทศไทยมีสภาพตลาดแข่งขันที่จำกัด กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ถูกครอบงำโดยผู้เล่นไม่กี่ราย กฎหมายการแข่งขันทางการค้ามีปัญหาในการบังคับใช้ จนทำให้หน่วยงานกำกับดูแลไม่สามารถเอาผิดกับผู้ประกอบการที่ปฏิบัติทางการค้าไม่เป็นธรรมได้ แต่กลับยอมให้มีการควบรวมกิจการขนาดใหญ่ในหลายอุตสาหกรรม ทั้งห้างค้าปลีก และผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ","solution":"ปรับกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า\n- ปรับกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าให้ได้กรรมการที่มีความเชี่ยวชาญ มีที่มาที่หลากหลาย ยึดโยงกับประชาชน\n\nขยายขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า\n- ขยายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายให้ครอบคลุมความผิดด้านการแข่งขันทางการค้าของ รัฐวิสาหกิจ, ธุรกิจในอุตสาหกรรมที่มีกฎหมายกำกับดูแลเฉพาะ\n- ขยายนิยามของ “ผู้ประกอบธุรกิจ” ให้กว้างขึ้น (เช่น รวมบริษัทโฮลดิ้ง)\n- ขยายนิยามของ “อำนาจเหนือตลาด” ให้กว้างกว่าแค่เรื่องส่วนแบ่งตลาดและยอดขาย \n\nเพิ่มความโปร่งใสของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า\n- กำหนดให้กรรมการแข่งขันทางการค้า และเลขาธิการฯ ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน\n- กำหนดให้เผยแพร่คำวินิจฉัยฉบับเต็มที่มีความเห็นกรรมการรายบุคคลภายใน 15 วันหลังคณะกรรมการมีคำวินิจฉัย\n\nเพิ่มมาตรการป้องกันการฮั้ว\n- ออกโครงการ “คนฮั้ววงแตก” ที่ลดหย่อนหรือยกเว้นโทษให้กับบริษัทที่ร่วมมือกันผูกขาดหรือลดการแข่งขัน ที่ออกมามอบตัวเป็นรายแรก เพื่อทำให้บริษัทที่คิดจะฮั้วกันเกิดการระแวงกันเองจนไม่มีใครกล้าร่วมมือกัน\n\nขยายสิทธิผู้เสียหายในการฟ้องคดี\n- ขยายกรอบเวลาให้ผู้เสียหายในการฟ้องคดีจาก 1 ปี เป็น 4 ปี"},{"no":25,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต (สุราก้าวหน้า)","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1rhF4MAl7rgu0DZ_pQuqEyt0eoezVf6dX/view?usp=drive_link","name":"เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"แม้รัฐบาลประยุทธ์ได้มีการออกกฎกระทรวงชุดใหม่เกี่ยวกับการอนุญาตผลิตสุรา แต่เนื้อหาของกฎกระทรวงใหม่ยังมีหลายส่วนที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ผลิตสุรารายเล็กและรายย่อย (เช่น มาตรฐานโรงงาน ข้อกำหนดเรื่องเครื่องจักร มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม กำลังผลิตขั้นต่ำสำหรับสุราบางประเภท) ในขณะที่สถานะของการเป็นกฎกระทรวงทำให้เกิดความกังวลว่ากฎเกณฑ์อาจถูกปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่กีดกันการแข่งขันทางการค้ามากขึ้นกว่าเดิมในอนาคต","solution":"วางหลักประกันไม่ให้มีการกีดกันการแข่งขันทางการค้าในอุตสาหกรรมสุรา\n- ห้ามไม่ให้การขอใบอนุญาตผลิตสุราเพื่อการค้ามีการกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับขนาดกำลังการผลิต กำลังแรงม้าเครื่องจักร จำนวนพนักงาน ประเภทบุคคลผู้มีสิทธิขออนุญาต จำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ หรือเกณฑ์อื่นที่อาจเปิดช่องให้มีการกีดกันการแข่งขันและผู้ผลิตสุรารายย่อย\n- กำหนดให้ปรับกฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัตินี้\n- กำหนดให้ใบอนุญาตที่ออกก่อนหน้าพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงใช้ได้ต่อไป"},{"no":26,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ล้มละลาย","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/18fEykocu8-aBWMSMphNXLKD9F2hkC9u8/view?usp=drive_link","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,4,1,2,0,0,0,0,0,0],"detail":"โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อม ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจปัจจุบันและประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว ให้สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้และมีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน ทั้งนี้ ลูกหนี้ยังคงเป็นผู้บริหารกิจการตามแผนฟื้นฟูกิจการ อีกทั้งกำหนดจำนวนหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อให้สามารถร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยเพิ่มเติมกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แบบเร่งรัดเพื่อใช้เป็นทางเลือกให้แก่ลูกหนี้ อีกทั้งสมควรกำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูฐานะของลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา และให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งคุ้มครองเจ้าหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทำให้กระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น","solution":"ให้ลูกหนี้ผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) สามารถยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้สะดวกขึ้น และเพิ่มสิทธิให้ลูกหนี้บุคคลธรรมดา ยื่นขอฟื้นฟูฐานะ/ฟื้นฟูหนี้สินได้เหมือนลูกหนี้ธุรกิจด้วย เพื่อให้ลูกหนี้สามารถขอเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทุกรายพร้อมกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถูกฟ้องล้มละลายก่อนได้ ซึ่งถือเป็นสิทธิของลูกหนี้ในหลากหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว\n\nเพราะสิทธิในการขอฟื้นฟูกิจการและฟื้นฟูฐานะ จะทำให้ลูกหนี้สามารถหลุดพ้นจากวงจรหนี้สินล้นพ้นตัวได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลล้มละลาย และเพื่อหาข้อสรุปและทางออกที่เป็นธรรมกับเจ้าหนี้ทุกรายพร้อมกัน จากเดิมที่จะต้องให้ลูกหนี้เจรจากับเจ้าหนี้ทีละรายซึ่งทำให้ปัญหาหนี้สินไม่สามารถหาทางออกได้ จะทำให้ช่วยแก้ปัญหาหนี้สินให้กับเศรษฐกิจไทยที่พึ่งฟื้นตัวจากวิกฤตโควิดและกลับมาสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น"},{"no":27,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (สมรสเท่าเทียม)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1E4jz7mCuWx5850YMC_WmMMlzn909EkLo/view?usp=drive_link","name":"ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ และคณะ","status":[1,4,1,4,1,1,1,1,1,1],"detail":"ปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวหรือการสมรสระหว่างชายหญิงมิได้ให้สิทธิแก่บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมี อัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพ และเพศวิถี ที่หลากหลาย สิทธิการก่อตั้งครอบครัวเป็นสิทธิมนุษยชนที่รัฐต้องให้แก้ประชาชนทุกคน เพื่อให้คนทุกคนสามารถสร้างครอบครัว โดยมี สิทธิ หน้าที่ รับอุปการะบุตรร่วมกัน การจัดการทรัพย์สิน และอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการสมรส","solution":"แก้ไขมาตรา 1448 จากคำว่า “ชาย” “หญิง” เป็น “บุคคล”\n- จากคำว่า ชาย และ หญิง แก้ไขเป็น บุคคล เป็นคำที่ Inclusive ที่หมายรวมถึงทุกเพศ นอกจากมาตรา 1448 แล้ว ยังแก้ไขในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในมาตราอื่น ๆ ที่มีคำว่า ชาย และ หญิง ให้สอดคล้องกับมาตรา 1448 เพื่อให้การจดทะเบียนสมรสเกิดความเท่าเทียมทุกเพศ ไม่ว่าจะเป็น ชาย หรือ หญิง หรือ บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ\n\nแก้ไขคำว่า “สามี” “ภริยา” เป็น “คู่สมรส”\n- จากคำว่า สามี และ ภริยา แก้ไขเป็น คู่สมรส เพื่อการจดทะเบียนระหว่างบุคคลสองคนนั้น ได้รับ สิทธิ มี บทบาทหน้าที่ ต่อกันในฐานะคู่สมรส ไม่ว่าจะเป็นการ อภิบาลดูแลกัน การดำเนินคดีแทนในฐานะคู่สมรส สิทธิในการทำประกันชีวิต สิทธิในการรับอุปการะบุตรในฐานะคู่สมรส การจัดการทรัพย์สินร่วมกัน การลดหย่อนภาษี สิทธิของราชการในฐานะคู่สมรส รวมถึงเหตุแห่งการฟ้องหย่า (ในร่างกฎหมายดังกล่าวมีบทเฉพาะกาลเพื่อให้สิทธิ แต่ต้องมีกฎหมายโดยรวม 48 ฉบับต้องแก้ไขให้สอดคล้อง ซึ่งกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล)\n\nแก้ไขหมวดหมั้นให้เป็น “ผู้หมั้น” และ “ผู้รับหมั้น”\n- เพื่อให้บุคคลทุกเพศสามารถหมั้นได้ โดยกำหนดว่าผู้ใดเป็นผู้หมั้นหมายถึงการผู้ให้สินสอดทองหมั้นหรืออื่นใดแก่อีกฝ่าย และผู้รับหมั้นเป็นผู้รับสินสอดทองหมั้นหรืออื่นใด โดยมีเงื่อนไขว่าจะทำการสมรสกัน หากไม่มีการสมรสก็ถือว่าผิดสัญญาหมั้น\n\nแก้ไขอายุในการสมรส\n- จาก 17 ปี เป็น 18 ปี เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กสากล ซึ่งกำหนดไว้บุคคลที่อายุไม่เกิน 18 ถือว่าเป็นผู้เยาว์ เพื่อให้เยาวชนได้สิทธิการคุ้มครอง การพิจารณาคดีตามกฎหมายในฐานะผู้เยาว์"},{"no":28,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ (รองรับอัตลักษณ์ทางเพศ)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1aPynRSTjC860LsVwyk_GPZfZSLg94TI6/view?usp=drive_link","name":"ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"ระบบกฎหมายไทยกำหนดเพียงแค่ 2 เพศ ที่ให้ คำนำหน้า สิทธิเฉพาะเพศ สวัสดิการ กฎระเบียบต่าง ๆ และมาตรการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่าง เพศ ส่งผลให้ บุคคลข้ามเพศ ผู้มีความหลากหลายทางอัตลักษณ์ทางเพศ หรือ เพศกำกวม ไม่สามารถดำรงชีวิตตามอัตลักษณ์ทางเพศและการแสดงออกของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปต่างประเทศ การแสดงตัวตนเกี่ยวข้องกับเอกสารทางการเงิน และการดำเนินชีวิตที่ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกกีดกัน เป็นต้น จึงตรากฎหมายดังกล่าวเพื่อให้สิทธิประชาชนทุกคนสามารถแสดงเจตจำนงต่อรัฐได้ว่าต้องการดำเนินชีวิตในเพศใด","solution":"คำนำหน้าตามสมัครใจ\n- กำหนดให้อายุ 18 ปี เลือกใช้คำนำหน้าตามสมัครใจ นาย นางสาว และ นาม\n- อายุยังไม่ 18 ปี ต้องมีผู้ปกครองรับรอง\n- เปลี่ยนแปลงเอกสารราชการต่าง ๆ บัตรประชาชน ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง ทะเบียนบ้าน สูติบัตร และ อื่น ๆ \n- จำกัดสิทธิของผู้ที่กำลังถูกดำเนินคดี\n- การขอสิทธิใช้คำนำหน้าตามสมัครใจให้สิทธิโดยไม่มีเงื่อนไขในครั้งแรก ส่วนครั้งที่ 2 ต้องผ่านศาลพิจารณา\n\nสิทธิและสวัสดิการ\n- ให้ผู้ที่ใช้คำนำหน้าได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย กฎระเบียบ ในเพศที่แสดงเจตจำนง\n- สวัสดิการทางการแพทย์ ที่เกี่ยวกับเพศ ให้ได้รับสิทธิเดิม และสิทธิที่ข้ามเพศ \n- สิทธิในการเลือกเพศของบุคคลเพศกำกวม มิให้แพทย์ตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว \n- ไม่เสียสิทธิในการเป็นบิดา มารดา รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง\n\nความปลอดภัยและความเสมอภาค\n- การแข่งขันกีฬาที่คำนึงถึงความเสมอภาคของร่างกาย\n- การจำคุกที่เหมาะสมและปลอดภัย คำนึงถึงสภาพร่างกาย และ ความเปราะบาง\n- พื้นที่ของผู้หญิงและมาตรการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ"},{"no":29,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน","category":"local","link":"https://drive.google.com/file/d/1rI2ClrWFLo3URJb7cmFRU41M0t1gWvN8/view?usp=drive_link","name":"อภิชาติ ศิริสุนทร และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"กฎหมายเดิมไม่ได้รับรองสิทธิชุมชนในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินไว้ ส่งผลให้ชุมชนที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินร่วมกันขาดความชอบธรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ในขณะที่กระบวนการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้กับที่ดินมีข้อจำกัด เนื่องจากเงื่อนเวลาที่สั้นไปสำหรับการที่ที่ดินที่ถูกทอดทิ้งจะนับว่าเป็นการสละกรรมสิทธิ์ การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางในการดำเนินการเพื่อให้ที่ดินที่ถูกทิ้งร้างตกเป็นของรัฐ และการจำกัดหลักฐานที่สามารถนำไปใช้ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้กับที่ดินที่มีอาณาเขตติดต่อคาบเกี่ยวหรืออยู่ในเขตที่ดินของรัฐ","solution":"เพิ่มนิยาม “สิทธิชุมชน”\n- เพิ่มนิยาม “สิทธิชุมชน” ไว้ในกฎหมาย โดยสามารถกำหนดให้ชุมชนเป็นผู้ทรงสิทธิในที่ดินตามที่ได้รับอนุญาต และมีสิทธิในการดูแล รักษา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และในการเข้าถือครองและใช้ประโยชน์ร่วมกันตามวิถีชีวิตของชุมชน \n\nเพิ่มประสิทธิภาพในการนำที่ดินรกร้างมาเป็นของรัฐ\n- ลดเงื่อนเวลาของการทอดทิ้งหรือไม่ทำประโยชน์ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (ซึ่งถือว่าเป็นการสละสิทธิในที่ดินโดยเจตนา) ให้สั้นลง\n- กำหนดให้เป็นอำนาจของท้องถิ่นในการดำเนินการตรวจสอบที่ดินและยื่นคำร้องต่อศาล\n\nเพิ่มความเป็นธรรมในการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน\n- กำหนดให้ใช้หลักฐานอื่นได้ (นอกจากระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศและระวางรูปถ่ายทางอากาศ) ในการพิสูจน์ว่ามีการครองครองทำประโยชน์จริงในพื้นที่ \n- ยกเลิกการใช้คำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดของศาลเพื่อประกอบการขอออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์\n- เปิดช่องสำหรับการออกโฉนด สำหรับผู้ที่มีสิทธิตามกฎหมาย ส.ป.ก. ที่ได้รับการพิสูจน์สิทธิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว\n- ให้กระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการสอบสวนการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย"},{"no":30,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1YMO62B3yGnXSQYhoS6lvyw1AqyU9TV63/view?usp=drive_link","name":"ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และคณะ","status":[1,4,1,1,1,2,0,0,0,0],"detail":"กฎหมายเดิมไม่ได้รับรองสิทธิชุมชนในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินไว้ ส่งผลให้ชุมชนที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินร่วมกันขาดความชอบธรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ในขณะที่กระบวนการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้กับที่ดินมีข้อจำกัด เนื่องจากเงื่อนเวลาที่สั้นไปสำหรับการที่ที่ดินที่ถูกทอดทิ้งจะนับว่าเป็นการสละกรรมสิทธิ์ การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางในการดำเนินการเพื่อให้ที่ดินที่ถูกทิ้งร้างตกเป็นของรัฐ และการจำกัดหลักฐานที่สามารถนำไปใช้ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้กับที่ดินที่มีอาณาเขตติดต่อคาบเกี่ยวหรืออยู่ในเขตที่ดินของรัฐ","solution":"สำหรับโครงการจัดสรรใหม่ (ขอใบอนุญาตจัดสรรตั้งแต่ปี 2543) แก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นอำนาจของลูกบ้านเกินกึ่งหนึ่งของโครงการ สามารถรวมตัวกันเพื่อขอจัดตั้งนิติบุคคลได้เอง โดยไม่ต้องรอให้ผู้จัดสรรเรียกขอให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลแต่เพียงฝ่ายเดียว"},{"no":31,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (แก้ปัญหาหน้าบ้าน)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1xw6HZQ9fqxEcsmrP1ZGKW9Y3S7MUdUKW/view?usp=drive_link","name":"ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"อปท. ไม่สามารถแก้ไข \"ปัญหาหน้าบ้าน\" (ถนนหนทาง ขยะ น้ำท่วม ไฟส่องสว่าง) ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่อยู่อาศัยตามชุมชน หรือที่อยู่ในโครงการจัดสรรที่ขาดนิติบุคคลบำรุงรักษาได้ เพราะเป็นที่ดินเอกชน และไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์","solution":"- พื้นที่ส่วนกลาง / สาธารณูปโภคที่ประชาชนใช้สอยร่วมกัน (ถนน ไฟส่องสว่าง ฯลฯ) หลายพื้นที่ อยู่ในพื้นที่ที่เป็นที่ดินเอกชน เช่น หมู่บ้านจัดสรร หรือ ชุมชนที่เป็นโฉนดที่ดินเป็นของบรรพบุรุษ หรือบุคคลอื่นที่ไม่สามารถตามหาตัวเจ้าของฉโนดที่ดินได้ หรือเป็นที่ดินของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ใช่ที่ดินสาธารณะประโยชน์\n- ปัจจุบัน มีสัดส่วนการจัดตั้งนิติบุคคล ตามโครงการจัดสรร ไม่ถึง 10% ของโครงการจัดสรรทั้งหมด (ตัวเลขจากกรมที่ดิน) ทำให้พื้นที่ส่วนกลางขาดคนดูแลรักษา\n- เพิ่มมาตรา 6/1 เพื่อให้ อปท. มีอำนาจในการเข้าปรับปรุงสภาพในพื้นที่บนที่ดินที่มีฉโนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิ์ในการทำประโยชน์ (เช่น ที่ดินเอกชน ที่ดินจัดสรร หรือที่ดินของหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ) หากประชาชนในบริเวณโดยรอบใช้สอยประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป โดยไม่กระทบกรรมสิทธิของเจ้าของที่ดิน หากไม่มีเจ้าของที่ดินแสดงตนคัดค้านการใช้สอยประโยชน์นั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด"},{"no":32,"title":"ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1I3dQlMW5JSTDRRfbDR20JD1glurMqGmF/view?usp=drive_link","name":"เซีย จำปาทอง และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"กฎหมายคุ้มครองแรงงานในปัจจุบันมีบางบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ ผู้ใช้แรงงานไทยจำนวนมากต้องเผชิญปัญหาไม่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ กระทบต่อคุณภาพชีวิตและสวัสดิการโดยรวม ทำให้แรงงานไม่มีอำนาจต่อรองและเวลาเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างเพียงพอ","solution":"- เปลี่ยนนิยาม ลูกจ้าง” ให้ครอบคลุมทุกรูปแบบการจ้างงาน รวมถึงอาชีพไรเดอร์ ฟรีแลนซ์ และแรงงานอิสระ เพื่อให้แรงงานทุกคนได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน\n- เพิ่มบทนิยาม คำว่า \"การจ้างงานรายเดือน” เป็นการจ้างงานที่มีลักษณะเป็นงานประจำและเต็มเวลา โดยลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อันรวมถึงค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี และวันลาป่วยตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ หนึ่งเดือนหมายถึงเวลา 30 วัน\n- เวลาทำงานลูกจ้าง เมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว ต้องไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างกำหนดให้ต้องไม่เกิน 35 ชั่วโมง/สัปดาห์\n- ให้การจ้างงานในสถานประกอบการที่มีการจ้างงานรายวันและรายเดือน นายจ้างจะต้องจ้างเป็นรายเดือนทั้งหมดโดยไม่เลือกปฏิบัติ เว้นแต่ลักษณะการจ้างงานที่มีความเฉพาะ\n- ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดอย่างน้อย 2 วัน/สัปดาห์\n- ให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 120 วัน มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนได้ไม่น้อยกว่า 10 วันทำงาน/ปี และในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันลาหยุดพักผ่อนให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 10 วัน/ปีก็ได้ และอาจกำหนดโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้สำหรับลูกจ้างซึ่งยังทำงานไม่ครบ 120 วัน\n- ให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาไปดูแลบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ที่พำนักอยู่ในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยที่มีความต้องการการดูแลทางร่างกายและจิตใจ ปีละไม่เกิน 15 วันทำงาน\n- ให้คณะกรรมการค่าจ้างต้องปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มทุกปีในอัตราไม่น้อยกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ประกาศโดย สศช. หรืออัตราเงินเฟ้อตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ตามแต่ว่าอัตราใดสูงกว่า\n- แก้ไขให้การจ้างงานมีความเท่าเทียมในทุกด้าน ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ\n- ในการจ้างงานที่มีคุณลักษณะเดียวกัน ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนต่างๆ ต้องเท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยก ในกรณีที่งานมีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ"},{"no":33,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1TnEHXgcW0R_JHCy_x6AYyQog3yoDIyk9/view?usp=drive_link","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลภายใต้บริบทเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการเพิ่มช่องทางให้ภาคประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ","solution":"ยกระดับสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ\n- กำหนดหลักการให้ข้อมูลของรัฐ และข้อมูลของเอกชนที่เป็นข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ต้อง “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” (Open by Default) โดยหากจะปกปิดต้องร้องขอด้วยเหตุผลที่สมควรเท่านั้น (เช่น ข้อมูลที่ต้องลับ ข้อมูลส่วนบุคคล )\n- กำหนดรายการข้อมูลข่าวสารสาธารณะเบื้องต้นซึ่งหน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผย\n- กำหนดให้ข้อมูลถูกจัดเก็บและเผยแพร่ในรูปแบบดิจิทัลที่นำไปวิเคราะห์ต่อได้ และถูกปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน เพื่อความสะดวกของประชาชนในการตรวจสอบ \n- ประกันสิทธิประชาชนในการเข้าตรวจดู ขอสำเนา หรือยื่นคำขอให้เพิ่มรายการข้อมูลข่าวสารสาธารณะ \n\nกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่ถูกเปิดเผย\n- กำหนดมาตรฐานในการจัดเก็บและรักษาความลับของข้อมูลความลับราชการ \n- กำหนดให้ข้อมูลความลับราชการต้องถูกเปิดเผยเมื่อครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามชั้นประเภทข้อมูลความลับ \n- กำหนดมาตรฐานในการจัดเก็บและรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล\n\nออกแบบกลไกรัฐเกี่ยวกับข้อมูลสาธารณะ\n- ตั้งสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารสาธารณะขึ้นในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี \n- ให้มีคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารสาธารณะและคณะกรรมการข้อมูลความลับราชการเพื่อติดตามและตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้"},{"no":34,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 (ประมง)","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/17CMBTPDJzlamMpiPMqTwLh2KedBkhzSn/view?usp=drive_link","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,4,1,1,1,2,0,0,0,0],"detail":"พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 บางมาตราขัดต่อหลักการของอนุสัญญาประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ที่ไทยเป็นภาคีสมาชิก หรือหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในประเด็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินและสิทธิในการประกอบอาชีพของประชาชน ขาดความเสมอภาค และบังคับใช้กฎหมายโดยไม่เท่าเทียมกัน รวมทั้งมีบทกำหนดโทษที่ไม่เป็นธรรมและไม่ได้สัดส่วนกับการลงโทษในความผิดทั่วไป","solution":"อำนวยความสะดวกในการทำประมง\n- ยกเลิกการห้ามผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านทำการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง\n- แก้ไขการใช้เครื่องมือทำการประมงบางประเภท เช่น เครื่องมืออวนรุนเคย เครื่องมือโพงพาง ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการประมงจังหวัดประกาศกำหนด\n\nกระจายอำนาจการออกกฎ\n- เพิ่มอำนาจคณะกรรมการประมงจังหวัดในการกำหนดกติกาทำการประมงภายในเขต 12 ไมล์ทะเล\n- เพิ่มสัดส่วนตัวแทนท้องถิ่นและองค์กรประมงชุมชนในคณะกรรมการประมงจังหวัด และให้ นายก อบจ. เป็นประธานคณะกรรมการประมงจังหวัด\n\nปรับอัตราโทษลงให้สมเหตุสมผล\n- แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทกำหนดโทษ เพื่อกำหนดโทษทางอาญาให้เหมาะสม เป็นธรรม และได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด\n- แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการทางปกครอง ควบคู่กับการใช้โทษอาญา เพื่อกำหนดการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล"},{"no":35,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1VYBW77T6vNuqocIUKgiMKJ55GZt_N6Os/view?usp=drive_link","name":"รังสิมันต์ โรม และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"สังคมไทยที่ผ่านมาอยู่ในสภาวะที่แตกแยกทางความคิด คนในชาติเกิดการแบ่งฝ่าย เกิดความคิดที่ไม่เคารพในระบอบประชาธิปไตย มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาล จนนำไปสู่การยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 \n\nนำมาสู่การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เกิดการชุมนุมประท้วงของประชาชน เกิดการกระทำผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง มีการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม ถูกจำกัดเสรีภาพ อิสรภาพระหว่างการกล่าวหาในการดำเนินคดีอาญา จากการที่รัฐบังคับใช้กฎหมายกฎหมายที่เคร่งครัดและขาดความยืดหยุ่น \n\nแต่เมื่อคำนึงถึงการกระทำของประชาชน มีไปเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมือง อันเป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ","solution":"นิรโทษกรรมให้แก่ประชาชน เพื่อคืนโอกาสให้แก่พลเมืองของประเทศ รักษาคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในกรณีที่เป็น\n1. การกระทำใดๆ ของบุคคลที่ร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง \n2. การกระทำใดๆ ของบุคคลที่ไม่ได้ร่วมเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองอันเป็นความผิดตามประกาศของคกก. กำหนด ไม่ว่าจะกระทำทางกายภาพ หรือการแสดงความคิดเห็น ซึ่งกระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง \n\nโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 จนถึงวันที่ พรบ.นี้ใช้บังคับ\n\nและการกระทำที่ไม่ได้รับการนิรโทษกรรม ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน\n1. การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกินกว่าเหตุ ไม่ว่าจะในฐานะของผู้สั่งการหรือปฏิบัติการ ไม่ว่าจะในขั้นตอนใด ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง และการสลายการชุมนุม \n2. การกระทำความผิดต่อชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา เว้นแต่เป็นการกระทำโดยประมาท\n3. การกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113\n\nโดยคณะกรรมการที่มีอำนาจในการวินิจฉัยว่า การกระทำความผิดใดๆ จะได้รับการนิรโทษกรรมหรือไม่ และกำหนดความผิดที่มีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง ประกอบด้วย\n1. ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานคณะกรรมการ และผู้นำฝ่ายค้าน เป็นรองประธานคณะกรรมการ\n2. กรรมการที่เป็นสส. จากพรรคการเมืองที่มีรัฐมนตรี และไม่มีรัฐมนตรีอย่างละคน\n3. กรรมการที่เป็นตัวแทนของรัฐมนตรี ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และอัยการ อีกอย่างละ 1 คน\n4. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรรมการและเลขานุการ"},{"no":36,"title":"ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิด อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1iwydfVVYQX2aNcWYRNy9yQ8w3S2Fnsfx/view?usp=drive_link","name":"ชัยธวัช ตุลาธน และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เกือบ 20 ปี นับตั้งแต่ 2549 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (เสื้อเหลือง) การยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในปี 2549 การชุมของกลุ่มนปช. (คนเสื้อแดง) กลุ่ม กปปส. การรัฐประหารของพลเอกประยุทธ์ 2557 และการชุมนุมของกลุ่มเยาวชน นักเรียนนักศึกษาช่วงปี 2562 เป็นช่วงเวลาความขัดแย้งอันยาวนานของสังคมไทย มีการเปลี่ยนรัฐบาลหลายครั้ง เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งความรุนแรงต่อกันทั้งสองฝ่ายมากมาย \n\nทั้งสองฝั่งความคิด มีประชาชนถูกกล่าวหาและดำเนินคดีมากมายนับพันคดี แต่เมื่อเราคำนึงว่า บรรดาการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนต่างก็ได้กระทำไปบนเจตนาเพื่อส่วนร่วม ต่างมีความปราถนาดีต่อบ้านเมือง ต่างมีความคิดเห็นทางการเมืองเป็นของตนเอง อันเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน แต่ว่าด้วยความเห็นของสังคมไทยในเวลานั้นถูกแบ่งออกเป็นสองข้าง แต่ด้วยความมุ่งมั่นทางการเมือง หรือเหตุผลประการใดก็ตาม ได้ผลักความคิดและการกระทำของประชาชนให้มองฝั่งตรงข้ามด้วยสายตาแห่งความเกลียดชัง ความโกรธจนนำพาสู่การล้ำเส้นแบ่งแห่งเสรีภาพของกันและกันจึง\n\nเมื่อการดำเนินคดีที่เกิดขึ้น ทั้งจากการฟ้องร้องกันเอง หรือการฟ้องร้องจากเจ้าหน้าที่รัฐในเวลานั้น มีสาเหตุและเจตนาจากประเด็นทางการเมือง การใช้กระบวนการทางกฎหมาย ใช้องค์กรในกระบวนการยุติธรรมใช้ และตีความการกระทำความผิดแต่เพียงตามองค์ประกอบทางกฎหมาย โดยไม่คำนึงถึงมูลเหตุจูงใจของการกระทำอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง จึงไม่ใช่หนทางของการพาสังคมไทยออกจากปัญหาความขัดแย้ง เพราะการแสดงออกของประชาชนอันมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความขัดแย้งทางการเมือง\n\nประเทศไทยเคยนิรโทษใหญ่กว่านี้แล้ว เช่น การนิรโทษกรรมแก่ประชาชนและพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อเข้ากระบนการสร้างความปรองดองในฐานะ ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ซึ่งครั้งนั้นเป็นความขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นการทำสงคราม ใช้อาวุธต่อสู้สังหารกัน \n\nจึงเห็นว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ จะช่วยระบายความตึงเครียด ความขัดแย้งทางการเมืองที่สะสมอยู่ พร้อมที่จะปะทุเป็นความรุนแรงได้ทุกเมื่อ จึงสมควรให้มีการนิรโทษกรรมแก่ประชาชนในกรณีดังกล่าวเพื่อขจัดความขัดแย้งที่ยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบัน","solution":"- กลไกการนิรโทษกรรม กำหนดให้มี ‘คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรม’ ซึ่งในร่างฉบับนี้ เสนอให้มี 9 คน ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้แต่งตั้ง\n(1) ประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 คน\n(2) ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 1 คน\n(3) บุคคลที่ได้รับเลือกจากคณะรัฐมนตรี 1 คน\n(4) บุคคลที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกอีก 2 คน\n(5) มาจากผู้พิพากษาหรืออดีตผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม 1 คน ซึ่งมาจากการเสนอของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา\n(6) มาจากตุลาการหรืออดีตตุลาการศาลปกครอง 1 คน ซึ่งมาจากการเสนอของที่ประชุมใหญ่ศาลปกครอง\n(7) มาจากพนักงานอัยการหรืออดีตพนักงานอัยการ 1 คน ซึ่งมาจากการเสนอของศาลปกครองและอัยการเอง\n(8) และคนสุดท้าย คือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 1 คน\n\n- คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดที่มีองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย จะทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดว่ารายละเอียดของแต่ละคดี เป็นคดีที่มี “มูลเหตุจูงใจที่มาจากประเด็นการเมือง” สามารถนิรโทษกรรมได้หรือไม่ ไม่ได้ใช้มาตรา หรือฐานความผิดทางกฎหมายเป็นเกณฑ์ แต่จะพิจารณา “มูลเหตุจูงใจที่มาจากประเด็นการเมือง” เป็นเกณฑ์\n\n- จะไม่นิรโทษกรรมกรณีต่อไปนี้\n(1) การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริตผิดกฎหมาย รุนแรงเกินกว่าเหตุ ทั้งผู้สั่งการ และผู้ปฏิบัติการ\n(2) การกระทำความผิดต่อชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา เว้นแต่เป็นการกระทำโดยประมาท\n(3) การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 หรือความผิดฐานเป็นกบฎ (ผู้ที่ทำการล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ผู้ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ ผู้ที่แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครอง)"},{"no":37,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การประปาแห่งชาติ","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1gxtrHE7vbfZW6tTDXJcabTAqtKeEakz-/view?usp=drive_link","name":"ศิริกัญญา ตันสกุล และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันกิจการประปาส่วนใหญ่ของประเทศนั้นอยู่ในความดูแลของการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และการประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังขาดกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐ เพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการกำหนดนโยบายและแผนแม่บทการบริหารและพัฒนากิจการประปาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง ขาดการกำกับดูแล มาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนให้เหมาะสมแก่การอุปโภคบริโภค จึงสมควรให้มีกฎหมายเพื่อกำหนดนโยบาย มาตรฐาน การกำกับดูแล และแผนการบริหารและพัฒนาเกี่ยวกับการประปาของประเทศ เพื่อสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประชาชนได้รับบริการการประปาได้อย่างสะดวกประหยัด ปลอดภัย และทั่วถึง","solution":"- ยกเลิกการขอสัมปทานเพื่อประกอบกิจการประปา \n- เพิ่มเติมอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติในการจัดทํานโยบายและแผนบริหารและพัฒนาการประปาของประเทศ รวมไปถึงการติดตาม ดูแล ประสาน สนับสนุนและเร่งรัดการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการประปา\n- ให้มีคณะกรรมการกํากับกิจการประปา ซึ่งมีหน้าที่กํากับดูแลการประกอบกิจการประปา \n- การประกอบกิจการประปาต้องได้รับใบอนุญาต โดยอาจมีการตรา พ.ร.ฎ. ยกเว้นให้กิจการประปาบางประเภทไม่จําเป็นต้องมีใบอนุญาตก็ได้\n- การยื่นคําขอใบอนุญาตกิจการประปาขนาดเล็ก ให้ทํา ณ ที่ทําการ อปท. ที่จะตั้งสถานที่ผลิตน้ําประปา ส่วนการยื่นคําขอใบอนุญาตกิจการประปาขนาดใหญ่ ให้ทํา ณ กรมอนามัย โดยกระบวนการตรวจสอบและพิจารณาเพื่ออนุญาตจะต้องแล้วเสร็จภายใน 90 วัน\n- ให้นายก อบจ. เป็นผู้อนุญาตการประกอบกิจการประปาขนาดเล็ก และให้คณะกรรมการเป็นผู้อนุญาตการประกอบกิจการประปาขนาดใหญ่ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ถือเป็นรายได้ของหน่วยงานผู้รับชําระค่าธรรมเนียมนั้น\n- ใบอนุญาตให้มีอายุไม่เกิน 10 ปี เว้นแต่คณะกรรมการจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น แต่ต้องไม่เกิน 30 ปี\n- ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการประปาขนาดเล็กจะขยายพื้นที่การให้บริการไปยัง อปท.​ อื่น ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารท้องถิ่นแห่ง อปท. นั้นเสียก่อน และต้องได้รับอนุญาตจากนายก อบจ. อันมีเขตครอบคลุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นด้วย\n- หากพบว่าผู้รับใบอนุญาตขาดคุณสมบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาต ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจสั่งให้แก้ไขภายในเวลาที่กําหนด หากไม่แก้ไขหรือหากปล่อยให้ดําเนินกิจการต่อไป สามารถสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้\n- กรมอนามัยมีอํานาจหน้าที่ในการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ําประปาและคุณภาพการผลิตและจัดส่งน้ําประปา โดยต้องสุ่มตรวจอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง\n- ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจในการตรวจสอบกิจการ เอกสารหลักฐาน คุณภาพน้ําประปา หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องของผู้รับใบอนุญาต และมีหน้าที่รายงานต่อผู้อนุญาต ถึงการกระทําผิดหรือการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้หรือเงื่อนไขที่กําหนดในใบอนุญาต\n- ให้ผู้รับสัมปทานประกอบกิจการประปาก่อนที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับเป็นผู้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. นี้ และให้ใบอนุญาตมีอายุเท่ากับอายุสัมปทานที่เหลืออยู่ แต่ไม่เกิน 30 ปี"},{"no":38,"title":"ร่าง พ.ร.บ. โคนมและผลิตภัณฑ์นม","category":"local","link":"https://drive.google.com/file/d/1nwuvQyC4_NrETzK823Xt8n-w7xitScKx/view?usp=drive_link","name":"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"พ.ร.บ. โคนมและผลิตภัณฑ์โคนม พ.ศ. 2551 ที่ใช้บังคับอยู่ ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงสมควรให้มีการเพิ่มบทนิยาม แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบ และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม รวมถึงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานที่แต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายนี้","solution":"- เพิ่มบทนิยามคําว่า “ผู้แทนเกษตรกรโคนม” โดยให้มีความหมายว่าเกษตรกรโคนมที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์กับกรมปศุสัตว์และได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนของเกษตรกรโคนมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด\n- แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม โดยกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมมีความเชื่อมโยงกับตัวแทนทางการเมืองในฐานะผู้กําหนดนโยบายในภาพรวม ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและที่มาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยกําหนดให้มีสัดส่วนจากผู้แทนเกษตรกร โคนม และผู้แทนสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่มีความเชื่อมโยงกับภาคประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมมากขึ้น\n- แก้ไขเพิ่มเติมการประชุมของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม โดยกําหนดจํานวนครั้งของการประชุมในแต่ละปี รวมถึงสาระของการประชุมในแต่ละครั้ง\n- แก้ไขเพิ่มเติมอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมให้มีความครอบคลุมและโปร่งใสยิ่งขึ้น การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมีองค์ประกอบและที่มาของคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางาน ที่ประกอบไปด้วยผู้แทนที่เกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วนและกําหนดให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมต้องจัดทํารายงานการประชุม รายงานผลการดำเนินงานประจําปี และข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนและโครงสร้างราคานมและผลิตภัณฑ์นม โดยให้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชนภายในระยะเวลาที่กําหนด รวมถึงให้เผยแพร่รายงานการประชุมและรายงานผลการดําเนินงานของคณะอนุกรรมการภายในระยะเวลาที่กําหนดด้วยเช่นกัน"},{"no":39,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (คุ้มครองสิทธิจำเลย)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1BBlwhfrq72Tm2t3rIitZWtywK6fHBwmN/view?usp=drive_link","name":"เอกราช อุดมอำนวย และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจากรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในหลายประการเกี่ยวกับการจับกุม อันเป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา รวมถึงจำเลย เป็นปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการไม่มีกฎหมายกำหนดสิทธิการมีทนายความของผู้ถูกจับในขณะจับกุม โดยที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในปัจจุบัน มิได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ และระยะเวลาในการให้สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความแก่ผู้ถูกจับในทันทีท่ีมีการจับกุม ส่งผลกระทบต่อการรับรองและคุ้มครองสิทธิการมีทนายความของผู้ถูกจับ อีกทั้ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89/1 และมาตรา 89/2 เรื่องการให้สิทธิจำเลยในการถูกคุมขังในสถานที่อื่น หรือ การให้จำเลยรักษาพยาบาล ดูแลครรภ์ หรือจำลบที่ป่วย มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่า ไม่มีการนําเอามาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้ให้เกิดผลได้จริง\n\nกฎหมายยังไม่ได้กําหนดประเภทหรือลักษณะของความผิดที่ห้ามมิให้นํามาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้ ซึ่งปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายนี้เป็นการเปิดช่องให้ศาลใช้ดุลพินิจมากจนเกินไป อันเป็นเหตุให้ในทางปฏิบัติศาลไม่นํามาตรการดังกล่าวมาใช้บังคับเลย นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้าน ดุลยพินิจในการรับฟ้องของศาล กรณีฟ้องจำเลย ณ ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกในคดีอื่น เมื่อพนักงานอัยการรับสำนวนคดีไปพิจารณาสั่งฟ้อง ณ ภูมิลำเนาที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่นั้น ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจไม่รับชำระคดีดังกล่าวได้ โดยกำหนดให้ไปยื่นฟ้องต่อศาลในท้องที่ที่ความผิดเกิด กระบวนการยุติธรรมจึงไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน","solution":"- การกำหนดให้ผู้ถูกจับมีสิทธิพบและปรึกษาทนายความได้ในทันทีที่ถูกจับกุม และกำหนดให้ผู้ถูกจับหรือถูกควบคุมตัวมีสิทธิร้องขอพบและปรึกษาทนายความได้ทันทีตั้งแต่เริ่มการจับกุมและการควบคุมตัว\n- กรณีจำเลยมีที่อยู่ในเรือนจำที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น จำเลยมีสิทธิยื่นขอและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สมัครใจ และได้ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร ศาลที่ชำระคดีมีคำสั่งให้นำวิธีการประชุมทางจอภาพมาใช้ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึง เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้เสียหาย พยานและจำเลยในคดีอาญา ให้การพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่า การประชุมทางจอภาพมาใช้จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ตนเอง จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยุติการพิจารณาคดีนั้นเสียก็ได้ และจะร้องขอให้นำวิธีการประชุมทางจอภาพมาใช้ในคดีดังกล่าวอีกไม่ได้\n- เพิ่มสิทธิของจำเลยเขียนระบุว่า ในการยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีการควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือผู้กระทําความผิดด้วยวิธีอื่นนอกจากการจําคุกในเรือนจํา ให้เจ้าพนักงานคํานึงถึงเหตุจําเป็น ซึ่งรวมถึงเหตุจําเป็นของรัฐ หรือเหตุจําเป็นของตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย ดังตอไปนี้\n(1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยเจ็บป่วยและต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง\n(2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีอาการป่วยทางจิต\n(3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีครรภ์\n(4) เหตุจําเป็นอื่น เมื่อศาลเห็นว่าการควบคุมตัวในเรือนจําอาจทําให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ต้องหาหรือผู้กระทําความผิด"},{"no":40,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ยกเลิก ม.272)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1AU0i0yjoX-xNKByQ7v42JIkfO6GYGtGV/view?usp=sharing","name":"ชัยธวัช ตุลาธน และคณะ","status":[1,4,3,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจากมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา 250 คนที่มาจากการแต่งตั้ง มีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คนที่มาจากการเลือกตั้ง โดยผู้ได้รับเลือกนายกรัฐมนตรีจะต้องได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน เป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย ทั้งที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ของประเทศไทยและที่เป็นการปฏิบัติโดยทั่วไปในประเทศอื่นที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นการเปิดช่องให้ประเทศมีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากเสียงข้างมากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุดในประเทศ ซึ่งทำให้ทั้งขาดความชอบธรรมและอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศ","solution":"- ยกเลิกมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560"},{"no":41,"title":"ร่างข้อบังคับประชุมสภาผู้แทนราษฎร (สภาก้าวหน้า)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1-gPpHgUyohRD6cXo040n0vlUC9UNcKFK/view?usp=sharing","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันกลไกที่เกี่ยวข้องกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรยังมีหลายส่วนที่สามารถปรับปรุงเพิ่มเติมได้ เช่น ความยากในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสภาฯ และข้อมูลที่เปิดเผยมักไม่อยู่ในรูปแบบที่ถูกนำไปตรวจสอบได้ง่าย ความล่าช้าในการผลักดันกฎหมาย การใช้ดุลพินิจมากเกินไปวินิจฉัยว่าญัตติใดด่วนหรือไม่ และพื้นที่และกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับสภาฯ ยังน้อยมาก เป็นต้น จึงทำให้สภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร","solution":"- สภาฉับไว: ตัดกลไกที่ทำให้การพิจารณากฎหมายล่าช้าโดยไม่จำเป็น\n- สภามีความหมาย: เพิ่มกระทู้ถามสดนายกฯ โดยผู้นำฝ่ายค้านและ สส. \n- สภาเข้มแข็ง: ให้ กมธ. ที่สำคัญต่อการตรวจสอบมีประธานเป็นฝ่ายค้าน\n- สภาเปิดเผย: ถ่ายทอดสดประชุม กมธ. + เปิดข้อมูลแบบวิเคราะห์ต่อได้\n- สภาดิจิทัล: จัดทำระบบติดตามสถานะร่างกฎหมายและข้อปรึกษาหารือ\n- สภายุติธรรม: ลดดุลพินิจประธานสภาฯ ในการวินิจฉัยญัตติด่วน\n- สภาเสมอภาค: กำหนดไม่ให้มีการอภิปรายที่ยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ\n- สภาประชาชน: fast-track กฎหมายประชาชน + เพิ่มสิทธิเสนอญัตติ\n- สภาสากล: แปลกฎหมายทุกฉบับเป็นภาษาอังกฤษ เชื่อมประชาคมโลก"},{"no":42,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (EIA เท่าเทียม)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1ThWl4KK5bdI0cBByruzSDkwoquvPCzpZ/view?usp=sharing","name":"เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และคณะ","status":[1,3,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานทำให้บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน อีกทั้งยังพบว่าในหลายกรณี ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นมักจะเกิดขึ้นระหว่างรัฐกับเอกชนหรือเอกชนกับเอกชนที่ไม่ได้มีสถานะเท่าเทียมกัน ขาดอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งโอกาสในการการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม จนเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันในทางกฎหมาย ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงบทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าวให้มีมาตรการที่เป็นธรรมในการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนทุกคนอย่างแท้จริงและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย","solution":"- นำเงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อมมาใช้เยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากภยันตรายที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษหรือภาวะมลพิษ ที่เกิดจากกิจการ/โครงการที่ริเริ่มหรือดำเนินการโดยส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ\n- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กำหนดหลักเกณฑ์การชดเชยเยียวยาความเดือดร้อนหรือความเสียหาย ให้กับผู้ได้รับความเสียหายจากโครงการที่ขอรับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นเงื่อนไขในการอนุญาตโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 48 ด้วย\n- โครงการ/กิจการ/การดำเนินการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเป็นโครงการที่มีหรืออาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย หรือส่วนได้เสียของประชาชนหรือชุมชนอย่างรุนแรงนั้น ต้องจัดทำประกันภัยความรับผิดในความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม"},{"no":43,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1oqX0TD34-rQbBymjH5zqoqS5DxXSH6vE/view?usp=sharing","name":"เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และคณะ","status":[1,4,1,1,1,2,0,0,0,0],"detail":"กฎหมายว่าด้วยการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปัจจุบัน มีบทบัญญัติหลายประการที่จํากัดสิทธิของผู้ประกอบการในการจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกําหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะจํากัดสิทธิโดยเด็ดขาดซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในภาพรวมและไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาสังคมที่อาจเกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างแท้จริง อีกทั้ง ยังควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้ระบบคณะกรรมการอันอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจและขอบอํานาจในการพิจารณาและวินิจฉัยในเรื่องต่าง ๆ จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้สามารถป้องกันปัญหาสังคมจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยไม่ให้จํากัดสิทธิประกอบอาชีพของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินสมควร และเพื่อแก้ปัญหาสังคมและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสามารถดําเนินไปได้โดยสอดคล้องกัน","solution":"- ยกเลิกบทนิยามคําว่า “คณะกรรมการ” “คณะกรรมการควบคุม” “สํานักงาน” “พนักงานเจ้าหน้าที่” “ผู้อํานวยการ” และ “อธิบดี”\n- แก้ไขเพิ่มเติมให้ รมว.สธ. รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้\n- ยกเลิก หมวด 1 หมวด 2 และหมวด 3 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551\n- แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ผลิตหรือนําเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดให้มีบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคําเตือนสําหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนําเข้า \n- แก้ไขเพิ่มเติมสถานที่หรือบริเวณที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ \n- ยกเลิกเรื่องการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันหรือเวลาที่รัฐมนตรีประกาศ กําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ\n- แก้ไขเพิ่มเติมการห้ามไม่ให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มโดยใช้เครื่องขายอัตโนมัติที่ไม่สามารถยืนยันตัวตนผู้ซื้อได้\n- ยกเลิกการห้ามไม่ให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มโดยการลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย\n- แก้ไขเพิ่มเติมการห้ามไม่ให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มโดยวิธีหรือลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด\n- แก้ไขเพิ่มเติมการห้ามไม่ให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร โรงแรม หรือการจัดเลี้ยง ตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมาย\n- ยกเลิกการห้ามไม่ให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป\n- แก้ไขเพิ่มเติมการห้ามไม่ให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด\n- แก้ไขเพิ่มเติมโดยห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการผลิตหรือจําหน่าย โฆษณา หรือแสดงชื่อ หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี \n- แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือญาติ คณะบุคคลหรือองค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการบําบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจขอรับการสนับสนุนเพื่อการบําบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพจากกรมควบคุมโรคได้ \n- ยกเลิกบรรดาความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ที่ให้คณะกรรมการควบคุมมีอํานาจเปรียบเทียบปรับ"},{"no":44,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (แก้กฎหมายไม่ตีเด็ก)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1x3dWVL_R5AEf4q-L9G3mmiZj19PWgYuq/view?usp=sharing","name":"ณัฐวุฒิ บัวประทุม และคณะ","status":[1,4,1,4,1,1,1,1,1,2],"detail":"ปัจจุบันการกระทำทารุณกรรมหรือทําร้ายร่างกายหรือจิตใจของบุตรอันเกิดขึ้น จากอํานาจผู้ปกครองหรือผู้ดูแลดูแลเด็กเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนส่งผลต่อการบาดเจ็บหรือได้รับความเจ็บปวดทุกข์กายทุกข์ใจ พัฒนาการของเด็กจนถึงขนาดบางครั้งเด็กถูกลงโทษด้วยความรุนแรงถึงขนาดเสียชีวิตโดยส่วนหนึ่งมาจากบทบัญญัติของกฎหมายที่ได้บังคับมาเป็นระยะเวลานานดังเช่นใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (2) ที่กำหนดให้ผู้ใช้อํานาจปกครองมีสิทธิทําโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนเปิดช่องลงโทษบุตรได้อย่างไม่จำกัดวิธีการ ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และการที่ประเทศไทยได้รับและให้คำมั่นโดยสมัครใจที่จะปฏิบัติตามภายใต้กลไก Universal Periodic Preview (UPR) รอบที่ 2 (พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2563) ที่ได้รับคํามั่นว่าจะปรับแก้กฎหมายและควบคุมบทลงโทษด้วยความรุนแรงต่อบุตรด้วยสําคัญของปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายจิตใจหรือพัฒนาการของเด็กรายบุคคลและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงของประเทศชาติในระยะยาว","solution":"แก้ไข ปพพ. มาตรา 1567 (2) ปี พ.ศ. 2519 ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวได้กล่าวไว้ว่าบิดา มารดามีสิทธิที่จะลงโทษเพื่ออบรมสั่งสอน “ตามสมควร” สิ่งนี้ทำให้เห็นว่านี่คือช่องว่างทางกฎหมายที่ทําให้การลงโทษเด็กยังคงมีอยู่ในรูปแบบเพื่ออบรมสั่งสอน ดังนั้น มาตรานี้ในกรอบกฎหมายไทยนั้นถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการขัดขวางไม่ให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายตามพันธกิจที่จะขจัดการลงโทษเด็กในทุกรูปแบบ ประโยคนี้ควรมีการยกเลิกและแก้ไขโดยการลบวรรคที่กล่าวถึงการลงโทษเด็กเพื่ออบรมสั่งสอน โดยเปลี่ยนจากข้อความเดิมเป็น “ทําโทษบุตรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนตามสมควร แต่ต้องไม่เป็นการกระทําทารุณกรรม หรือทําร้ายร่างกายหรือจิตใจ ไม่เป็นการเฆี่ยนตี หรือทําโทษอื่นใดอันเป็นการด้อยค่า” เพื่อเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยหวังว่าทุกท่านจะแสดงถึงความตั้งใจในการปกป้องเด็กทุกคนจากความรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงในครอบครัว"},{"no":45,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (คุกคามทางเพศ)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1I9a9RnpFqNTZs9J9aLttTNei4I2iNcYS/view?usp=sharing","name":"ภคมน หนุนอนันต์ และคณะ","status":[1,4,1,4,1,2,0,0,0,0],"detail":"ปัญหาการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของการสร้างความรุนแรงทางเพศ และเป็นจุดเริ่มต้นของการกระทําผิดทางเพศอันนําไปสู่ปัญหาข่มขืน กระทําชําเราหรือปัญหาอนาจารและความผิดเกี่ยวกับเพศอื่นๆ ที่ร้ายแรงตามมา ภายใต้สิทธิความเป็นธรรมทางเพศ การคุกคามทางเพศ ถือเป็นปัญหาอีกรูปแบบหนึ่งของการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ และเป็นปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ในทุกๆ ที่ ทุกเวลาในสังคม และเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกระเทือนทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ถูกกระทําเป็นอย่างมาก จึงต้องตรากฏหมายขึ้นให้ได้มาตรฐานและสอดรับกับแนวทางป้องกันปัญหาทางเพศในสังคม","solution":"- มีการบัญญัติความหมาย “คุกคามทางเพศ” หมายถึง การกระทําอันไม่พึงปรารถนาทางเพศ การร้องขอที่ไม่พึงปรารถนาเพื่อความต้องการทางเพศต่อผู้ถูกคุกคาม หรือการกระทําอื่นที่ไม่พึงปรารถนาอันเกี่ยวกับเรื่องทางเพศที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกคุกคาม ซึ่งในสถานการณ์นั้นๆ บุคคลทั่วไปอาจคาดหมายได้ว่า เป็นการคุกคามผู้ถูกกระทํา ทําให้ผู้ถูกกระทําอับอาย เสื่อมเสียเกียรติ หรือทําให้ผู้ถูกกระทํากลัว\n- เพิ่ม มาตรา 39 แห่งประมวลกฎหมายอาญา “คำสั่งงดเว้นการกระทำการ” หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะคุ้มครองผู้อื่นจากการถูกคุกคาม รบกวน ข่มขู่ สร้างความเดือดร้อนรำคาญโดยการกระทำของผู้ถูกฟ้อง ศาลอาจสั่งห้ามผู้นั้นไม่ให้กระทำการใดๆ ตามที่ระบุไว้ในคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด\n- กำหนด “บทลงโทษ” เป็นระดับความผิด เช่น \n1) กระทําการคุกคามทางเพศโดยเฝ้าติดตาม \n2) กระทําการคุกคามทางเพศโดยกระทํากับเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี \n3) กระทําการคุกคามทางเพศโดยอาศัยความไว้วางใจหรือสภาพของผู้ถูกกระทํา หรือตําแหน่งหน้าที่ อาศัยเหตุที่ผู้กระทํามีอํานาจเหนือผู้ถูกกระทํา อันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอํานาจเหนือ หรือความรับผิดชอบของผู้กระทําในการประพฤติผิดทางเพศ\nต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ\n- มีการเพิ่ม “โทษการคุกคามทางเพศ” ผ่านช่องทางการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นหวาดกลัว รู้สึกถูกคุกคาม รู้สึกถูกข่มขู่ เกิดความกังวลใจ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมื่น ถูกเกลียดชัง ได้รับความอับอาย หรือความเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"},{"no":46,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ประกันชีวิต","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1vwABSo_1nUfcGy9mjILGqXB8pB2xllVs/view","name":"ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันบทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัทในการกำหนดแบบและข้อความ และอัตราเบี้ยประกันภัยในกรมธรรม์ประกันภัย ไม่เหมาะสมแก่การประกอบธุรกิจประกันภัย จำกัดทางเลือกผู้เอาประกันภัยในการจัดการเบี้ยประกันภัยเกินจำเป็น สมควรแก้เพิ่มเติมให้การประกอบธุรกิจประกันภัยมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และเพิ่มมาตรการคุ้มครองผู้เอาประกันภัย รวมทั้งยกระดับนักคณิตศาสตร์ประกันภัยผู้มีบทบาทสำคัญในธุรกิจประกันภัยให้มีศักยภาพสูงขึ้น","solution":"เพื่อปลดล็อกมูลค่าเงินสด (CV) ให้ผู้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถเลือกได้ว่าจะซื้อแบบมีหรือไม่มีมูลค่าเงินสด (CV) ก็ได้ กรณีเลือกซื้อแบบไม่มีมูลค่าเงินสด (CV) จะทำให้เบี้ยประกันถูกลงครึ่งหนึ่ง\n- แก้ไขเพิ่มเติมให้บริษัทสามารถกำหนดแบบและข้อความของกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยไม่รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย หรือรับกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จจากผู้รับประกันภัยได้\n- แก้ไขเพิ่มเติมให้บริษัทสามารถกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยกรณีที่เป็นการประกันภัยแบบกลุ่มหรือการประกันภัยในลักษณะเดียวกันหรือเป็นการประกันภัยแบบอื่นที่นายทะเบียนอนุญาตได้\n- แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย"},{"no":47,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 8/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการบริหารงานส่วนบุคคลท้องถิ่น ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (ยกเลิกคำสั่ง คสช. การคัดเลือกบุคลากรท้องถิ่น)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1IeqxiPhXh6BchhqGqLZkVyyjkmYQn_4L/view?usp=sharing","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,4,1,4,1,1,1,3,0,0],"detail":"คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 8/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูป การบริหารงานส่วนบุคคลท้องถิ่น ได้ออกใช้บังคับโดยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ประกอบกับมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากได้มีการประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และมีบทบัญญัติที่ขัดกับหลักการกระจายอำนาจของการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างชัดเจน","solution":"ยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ 8/2560 ที่รวบอำนาจงานบริหารบุคคลจากท้องถิ่นเข้าสู่ส่วนกลาง ให้ท้องถิ่นกลับมามีอำนาจการจัดสรรคัดเลือกตามกฎหมายเดิม ก่อนมีคำสั่ง คสช."},{"no":48,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1iDwSracJcwqk53AB2xBtHcximwD68vP4/view","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,4,1,1,1,1,2,0],"detail":"เนื่องจากในปัจจุบัน พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 มีบางส่วนที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ เช่น การกําหนดกติกาให้เป็นธรรมมากขึ้น การอํานวยความสะดวกให้ประชาชนมากขึ้นในการใช้สิทธิออกเสียงประชามติและในการเข้าชื่อเสนอประชามติ และการอํานวยความสะดวกให้หน่วยงานมากขึ้นในการจัดการออกเสียงประชามติ เป็นต้น","solution":"- กําหนดเกณฑ์การกําหนดวันออกเสียงประชามติและเพิ่มความยืดหยุ่นในการกําหนดวันออกเสียงประชามติให้สอดคล้องกับวันเลือกตั้งของการเลือกตั้งอื่น ๆ ได้\n- กําหนดผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการดําเนินการ ในกรณีที่มีการออกเสียงประชามติในวันเดียวกับวันเลือกตั้งของการเลือกตั้งอื่น ๆ\n- กําหนดวันออกเสียงประชามติให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติม\n- กําหนดให้การเชิญชวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อให้ร่วมเข้าชื่อและการร่วมเข้าชื่อเพื่อเสนอให้มีการออกเสียงประชามติสามารถกระทําผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้\n- แก้ไขเงื่อนไขการออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทําประชามติ\n- แก้ไขลักษณะการจัดทําและการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะมีการออกเสียงประชามติให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติม\n- เพิ่มความยืดหยุ่นในการกําหนดเขตออกเสียงประชามติ\n- กําหนดให้หน่วยออกเสียงและที่ออกเสียงประชามติสอดคล้องกับหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งของการเลือกตั้งอื่น ในกรณีที่พื้นที่ใดมีการเลือกตั้งอื่นในวันเดียวกันกับการออกเสียงประชามติ\n- กําหนดผู้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตออกเสียงประชามติ\n- กําหนดให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้"},{"no":49,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1SBbktzLwBd2IAIkhabBe1qkRW8Erhv3c/view?usp=drive_link","name":"รอมฎอน ปันจอร์ และคณะ","status":[1,4,1,4,1,1,1,1,1,2],"detail":"คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 14/2559 ได้งดใช้บังคับ พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 บางมาตรา โดยเฉพาะการยุติบทบาทของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาทำหน้าที่แทน โดยสมาชิกมีที่มาจากจากการเสนอของหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะ กอ.รมน. และตัดทอนบทบาทที่เคยเป็นของสภาที่ปรึกษาฯ เดิมลง กฎหมายฉบับนี้จึงมุ่งยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและฟื้นฟูสถานะและบทบาของสภาที่ปรึกษาฯ และยังจำกัดบทบาทของ กอ.รมน. ในภารกิจเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้อยู่ภายใต้การร้องขอจากหน่วยงานพลเรือนและได้รับความเห็นชอบจากสภาที่ปรึกษาฯ","solution":"- ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 14/2559 ยุติบทบาทของคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนา จชต. และฟื้นฟูสถานะและบทบาทของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนา จชต.\n- กำหนดให้ กอ.รมน.มีอำนาจเพียงการสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กรที่มีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามที่ได้รับการร้องขอและได้รับความเห็นชอบจากสภาที่ปรึกษาฯ"},{"no":50,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ภาพยนตร์","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1u_j3xHoXB604qvQ_r6RyHqLPTy4Mjkb4/view?usp=sharing","name":"อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"กฎหมายเดิมมีบทบัญญัติบางส่วนไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และจำกัดเสรีภาพเกินสมควรจนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทย เพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ จึงเห็นสมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว โดยกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการภาพยนตร์แห่งชาติให้มีภาคส่วนอื่นนอกเหนือจากภาครัฐได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทย และเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่บางประการของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์แห่งชาติ ยกเลิกการกำหนดประเภทภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ ปรับเกณฑ์อายุผู้ชมภาพยนตร์ เพื่อลดอำนาจการควบคุมจากภาครัฐ ปรับมาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก ยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการวีดิทัศน์ซึ่งหมดความจำเป็นในปัจจุบัน และยกเลิกโทษทางอาญา โดยให้ใช้มาตรการปรับทางพินัยแทน เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมมากกว่าการควบคุม และสนับสนุนเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงสื่อภาพยนตร์ได้กว้างขวางมากขึ้น","solution":"1. สนับสนุนการเปิดกว้างทางความคิดสร้างสรรค์\n- ยกเลิกเรื่องอื่นๆ ใน พ.ร.บ. ที่ส่งผลต่อเสรีภาพ และสนับสนุนการเปิดกว้างทางความคิดสร้างสรรค์\n2. การปรับโทษทางอาญา\n- ปรับลดอายุในเรตต่างๆ และปรับโทษทางอาญาให้เป็นการลงโทษในลักษณะอื่นๆ\n3. สัดส่วนของคณะกรรมการ\n- ปรับโครงสร้างคณะกรรมการภาพยนตร์ จากเดิมส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ เปลี่ยนให้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์เป็นคณะกรรมการแทน\n4. การจัดเรตติ้ง\n- ปรับรูปแบบการจัดระดับความเหมาะสม (เรตติ้ง) จากเดิมที่เรตสูงสุดคือการกำหนดผู้ชมอายุ 20 ปีขึ้นไป ปรับเป็นอายุ 18 ปีขึ้นไป\n5. กองถ่ายที่เข้ามาถ่ายภายในประเทศ\n- ลดบทบาทการควบคุมจากรัฐสำหรับกองถ่ายที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย จากเดิมต้องขอตรวจบทและตรวจรายละเอียดอย่างเข้มงวด เปลี่ยนเป็นเพียงแค่การยื่นจดแจ้งแทน\n6. โรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก\n- เดิมกำหนดว่าโรงภาพยนตร์ทุกประเภทต้องขอใบอนุญาตการทำกิจการ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้กำหนดให้โรงภาพยนตร์ขนาดเล็กหรือโรงภาพยนตร์ชุมชนขนาดไม่เกิน 50 ที่นั่ง ใช้เพียงแค่การจดแจ้งเท่านั้น ไม่ต้องขออนุญาต"},{"no":51,"title":"ร่าง พ.ร.บ. รับราชการทหาร (ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร [ฉบับไม่เป็นร่างการเงิน])","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1-qAsZTIL7lZOggRk7A8TbsnMgKF0HGQO/view","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ประเทศไทยยังมีระบบเกณฑ์ทหารที่บังคับชายไทยบางส่วนเข้ารับราชการทหารเป็นเวลา 0.5-2 ปี แม้ในห้วงเวลาที่ไม่มีภัยสงคราม ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียทั้งในการลิดรอนเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพในระดับปัจเจกบุคคล และในการนำทรัพยากรมนุษย์ในวัยทำงานออกจากระบบเศรษฐกิจในระดับประเทศ การยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารจะไม่กระทบกับภารกิจการรักษาความมั่นคงของประเทศ หากทำควบคู่กับการลดยอดกำลังพลที่ไม่จำเป็นและการยกระดับคุณภาพชีวิตของพลทหารซึ่งจะนำไปสู่ยอดสมัครใจที่สูงขึ้น","solution":"ยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร (ในยามปกติ)\n- ในยามปกติ: คัดเลือกบุคคลเข้าเป็นทหารกองประจำการจากบุคคลที่สนใจสมัครรับราชการทหารด้วยตนเองเท่านั้น โดยเปิดให้บุคคลทุกเพศสามารถสมัครเป็นทหารกองประจำการได้\n- เปิดช่องให้คณะรัฐมนตรีตราพระราชกฤษฎีกาเรียกและตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ เฉพาะในยามที่มีเหตุปรากฎว่าประเทศอาจเผชิญสงครามในระยะเวลาอันใกล้\n\nยกระดับคุณภาพชีวิตของพลหทาร\n- ห้ามนำทหารไปทำงานรับใช้ส่วนตัว (พลทหารรับใช้) หรือกระทำการใดที่ละเมิดต่อร่างกายหรือจิตใจ\n- กำหนดให้หลักสูตรฝึกวิชาทหารต้องส่งเสริมความรู้ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน\n- ปรับระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่พลทหารให้มีความยืดหยุ่นขึ้น โดยคำนึงถึงความก้าวหน้าทางอาชีพ\n\nออกแบบขั้นตอนธุรการให้ทันสมัยขึ้น\n- กำหนดให้รายละเอียดและขั้นตอนธุรการต่าง ๆ (เช่น การขึ้นบัญชีทหารกองเกิน การรับสมัครทหารกองประจำการ การปลดทหารกองประจำการ) ถูกออกแบบในระดับกฎกระทรวง เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง"},{"no":52,"title":"ร่าง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1d59JLC1mW4vIkcLCzWEtljMAk8jzEo6c/view","name":"เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจากกฎหมายยาเสพติดไม่ได้กำหนดให้กัญชา กัญชง เป็นยาเสพติด ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงการปลูก ผลิต ใช้กัญชา กัญชง เช่นเดียวกับพืชโดยทั่วไป การปลูกและผลิตจึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนเทียบเท่ากับการปลูกพืชโดยทั่วไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงไม่อาจปฏิบัติต่อประชาชนที่ปลูก ผลิต ใช้กัญชา กัญชงตามวิถีของชุมชนในลักษณะที่แตกต่างจากพืชทั่วไปได้ กฎหมายฉบับนี้จึงรักษาสิทธิพื้นฐานของประชาชนในการเข้าถึง ปลูก ผลิต ใช้ตามวิถีของชุมชนได้อย่างมีเสรีภาพ โดยไม่ถูกกีดกันจากหน่วยงานรัฐ สถาบันวิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นๆ ที่เข้าถึงการปลูก ผลิต ใช้ตามวิถีชุมชน\n\nกฎหมายฉบับนี้ยังมุ่งเน้นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีการใช้กัญชา กัญชง ได้อย่างเหมาะสม การดำเนินการเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูปใดๆ จากกัญชา กัญชง ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการผลิต แปรรูปกัญชา กัญชง ซึ่งมีมาตรการให้ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นอยู่แล้ว ข้อกำหนดในกฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดการวิจัย พัฒนา การรักษา พัฒนาสายพันธุ์ท้องถิ่น และการกระจายประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนมาตรการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ใช้กัญชา กัญชง อย่างเหมาะสม","solution":"ร่างกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่\n1. ครัวเรือนสามารถปลูกใช้เองได้ แต่ต้องมาจดแจ้งกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน เพื่อเป็นข้อมูลว่ามีอยู่ในพื้นที่ไหนบ้าง\n2. หากดำเนินการเพื่อการค้าจะต้องขออนุญาตก่อน โดยจะมีระเบียบวิธีการที่มากกว่าแค่จดแจ้ง เพราะจะมีค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ซึ่งจะออกเป็นกฎกระทรวงภายหลังร่างพระราชบัญญัตนี้ผ่าน หากวัตถุประสงค์เพื่อสันทนาการ จะไม่มีการปิดกั้น แต่ให้เป็นอำนาจท้องถิ่นไปหารือและตกลงภายในแต่ละพื้นที่\n\nมีแนวทางดังนี้\n- มีกฎหมายเฉพาะควบคุมกัญชา กัญชง หลังจากไม่อยู่ในบัญชียาเสพติด\n- ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเข้าถึงการปลูกและการใช้ได้เช่นเดียวกับพืชทั่วไป\n- ครัวเรือนจดแจ้งกับรัฐเพื่อเป็นฐานข้อมูลเท่านั้น\n- ผู้รับจดแจ้งคือท้องถิ่น ไม่ใช่ข้าราชการ ซึ่งได้แก่ กทม. และ อบจ.\n- กระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบ ไม่ได้อยู่ในอำนาจกระทรวงสาธารณสุข\n- ผลิตภัณฑ์ที่เป็นยา อาหาร หรือเครื่องสำอาง ให้ไปใช้กฎหมายเฉพาะนั้นๆ\n- รายได้ค่าธรรมเนียมหรือภาษีเข้าหน่วยงานสังกัดท้องถิ่นนั้นๆ โดยตรง\n- การค้า (ได้แก่ ผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย โฆษณา) ต้องได้รับอนุญาตจาก กทม. หรือ อบจ.\n- องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นพิจารณาร่วมกับประชาคมเพื่อจัดให้มีพื้นที่ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการได้ (Sandbox) เช่น กทม. อาจกำหนดพื้นที่บริเวณถนนข้าวสาร\n- หากใช้เพื่อสันทนาการนอกพื้นที่ที่ท้องถิ่นกำหนดจะต้องถูกปรับ 2,000 บาท\n- ห้ามขายให้กับเด็ก และสตรีมีครรภ์ เว้นแต่จะอยู่ในความดูแลของแพทย์เพื่อรักษาโรค"},{"no":53,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (จัดทำ รธน. ฉบับใหม่ โดย สสร. เลือกตั้ง 100%)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1Two3K5GPCC_tmFyzUR7zmVRkLERzIKLF/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่เชื่อมโยงกับคณะรัฐประหาร ถูกรับรองโดยกระบวนการประชามติที่ไม่เสรีและเป็นธรรม และมีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย จึงสมควรเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมาดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และด้วยมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแม้ในกรณีที่เป็นฉันทามติในวงกว้างของประชาชนหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้","solution":"เพิ่มหมวด 15/1 (การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) และแก้ไขมาตรา 256 (การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ) โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้\n\n1. จัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท\n1.1 ประเภท 100 คนแบบแบ่งเขต โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง (สมัครเป็นรายบุคคล / ประชาชนเลือกผู้สมัครได้ 1 คน / ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับเลือก)\n1.2 ประเภท 100 คนแบบบัญชีรายชื่อ โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง (สมัครเป็นทีม / ประชาชนเลือกทีมผู้สมัครได้ 1 ทีม / แต่ละทีมได้จำนวน สสร. ตามสัดส่วนคะแนนที่ได้รับ)\n* ระบบเลือกตั้งที่มี สสร. ทั้ง 2 ประเภท จะทำให้สภาร่างรัฐธรรมนูญมีทั้งตัวแทนเชิงพื้นที่ และตัวแทนเชิงประเด็น-กลุ่มอาชีพ-กลุ่มสังคม\n\n2. กำหนดให้ สสร. มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ (ตราบใดที่ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ ตามที่บัญญัติไว้แล้วในรัฐธรรมนูญมาตรา 255)\n\n3. กำหนดให้ สสร. มีกรอบเวลาไม่เกิน 360 วัน ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้ สสร. มีเวลาเพียงพอในการรับฟังความเห็นอย่างรอบด้านและทำงานอย่างรอบคอบ ในขณะที่ไม่ทำให้กระบวนการมีความยืดเยื้อจนทำให้เราได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างล่าช้าจนเกินไป\n\n4. กำหนดอายุขั้นต่ำของผู้สมัคร สสร. ไว้ที่ 18 ปี ซึ่งสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยสากลว่าอายุขั้นต่ำสำหรับการลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งทางการเมืองใดๆก็ตาม มักยึดตามอายุขั้นต่ำในการมีสิทธิเลือกตั้ง (“ถ้าโตพอจะโหวตได้ ก็โตพอจะลงสมัครได้”)\n\n5. กำหนดให้ สสร. มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ประกอบไปด้วย สสร. ไม่น้อยกว่า 2/3 ของจำนวนกรรมาธิการ (เพื่อให้ กมธ. มีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเป็นเสียงส่วนใหญ่) และเปิดพื้นที่ให้กับคนนอกที่ สสร. คัดเลือกและอนุมติ (เพื่อให้ กมธ. มีพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์ ที่อาจไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยตรง)\n\n6. กำหนดให้มีการจัดทำประชามติ หลังจากที่ สสร. จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จ เพื่อสอบถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ซึ่งสอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564)\n\n7. กำหนดให้ สสร. มีอำนาจจัดทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.) และส่งให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ (ถ้ารัฐสภาไม่เห็นชอบ พรป. ฉบับไหนของ สสร. รัฐสภาจะมีอำนาจรับไปทำต่อเอง) เพื่อประหยัดเวลาและป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน\n\n8. กำหนดให้ สสร. สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้ โดยไม่ถูกกระทบจากการยุบสภาฯ หรือ จากการที่สภาฯหมดวาระ เพื่อความต่อเนื่องของ สสร. ในการทำงาน และของกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่\n\n9. กำหนดให้ สสร. ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง (เช่น สส / สว / รัฐมนตรี / ผู้บริหารหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น / ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ / ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ) ภายใน 5 ปีแรก เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน\n\n10. ปรับเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256) โดยกำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญกระทำได้ หาก\n- ได้รับความเห็นชอบเกิน ½ ของสมาชิกรัฐสภา (ซึ่งประกอบไปด้วย สส. ที่มาจากการเลือกตั้ง และ สว. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง) และ\n- ได้รับความเห็นชอบเกิน ⅔ ของสภาผู้แทนราษฎร (ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน)\n- (เฉพาะในกรณีที่เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนผ่านประชามติ"},{"no":54,"title":"ร่าง พ.ร.บ. มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1hW3wcCPjcAjRevBAL7QWJysIBHw9ZlHH/view?usp=sharing","name":"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคณะ","status":[1,4,1,4,1,1,1,1,2,0],"detail":"–","solution":"–"},{"no":55,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 7/2558 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการบริหารองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 17/2560 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 7/2558 ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560 (คืนสภาวิชาชีพให้ครู)","category":"education","link":"https://drive.google.com/file/d/1847IOx3C1PLNNHBjmvj7MuZzU13hqP09/view?usp=sharing","name":"สุรวาท ทองบุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"–","solution":"–"},{"no":56,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 11/2561 เรื่อง การแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (คืนมาตรฐานวิชาชีพครู)","category":"education","link":"https://drive.google.com/file/d/1Vl19yxQiKuxGHLlIeL-5xo5wVBZdlwoJ/view?usp=drive_link","name":"สุรวาท ทองบุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"–","solution":"–"},{"no":57,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560 (คืน ก.ค.ศ.)","category":"education","link":"https://drive.google.com/file/d/1bKqfTm6syQKMWQinHByg4DRveE0pBiZo/view?usp=drive_link","name":"สุรวาท ทองบุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"–","solution":"–"},{"no":58,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (แก้ไขเวนคืนที่ดิน)","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1gze4bHnXH8QtcLSNnqwtFKTYBKFM7d4E/view?usp=drive_link","name":"ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบัน พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มาตรา 8 (3) กำหนดให้การกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนอย่างน้อยต้องกำหนดรายละเอียดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น แต่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่ได้กำหนดเหตุจำเป็นประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเอาไว้ ทำให้การกำหนดแนวเขตที่ดินจะเวนคืนขึ้นอยู่กับการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดการใช้ดุลพินิจที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น ตลอดจนก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงในการใช้ประโยชน์และการพัฒนาที่ดินที่เหลืออยู่ โดยเฉพาะการเวนคืนที่ดินในเขตเมือง และสร้างความไม่เป็นธรรมต่อประชาชน และกระทบการพัฒนาเมืองในภาพรวมตามเจตนารมณ์ของผังเมืองและระบบคมนาคมทางรางที่รัฐต้องส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีที่ที่ดินเหลืออยู่ได้รับอานิสงค์จากการเวนคืน ทำให้ที่ดินที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินราคาเวนคืนควรนำมูลค่าที่ดินที่เหลืออยู่มาพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้เหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้ การเวนคืนอาจมีพื้นที่บางส่วนเหลือจากการใช้งานควรให้ผู้เวนคืนสามารถอนุญาตให้หน่วยงานอื่นขอใช้ประโยชน์ที่ดินที่ถูกเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะได้","solution":"- อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ได้จากการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะได้ เช่น สนามกีฬา สวนสาธารณะ สถานีดับเพลิง\n- กำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น\n- การเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือมีราคาลดลงหรือทำให้สิทธิในการพัฒนาที่ดินลดลงจากสิทธิเดิม ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับที่ดินส่วนเหลือนั้นด้วย"},{"no":59,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/19QwWAjIQo3Em1AfWicl7GQ5WLiG6HHWs/view?usp=sharing","name":"เอกราช อุดมอำนวย และคณะ","status":[1,4,1,2,0,0,0,0,0,0],"detail":"แก้ไขให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการบริหารจัดการสถานีได้ อีกทั้งบทกำหนดโทษทางปกครองที่กำหนดไว้อัตราโทษสูงไม่สอดคล้องและไม่เหมาะสมกับวิทยุภาคประชาชนและวิทยุกิจการบริการชุมชน หรือวิทยุที่มีกำลังส่งต่ำกว่า 1 กิโลวัตต์ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบกิจการขนาดเล็กมีรายได้น้อย รัศมีการส่งกระจายเสียงไปในระยะใกล้ จึงสมควรกำหนดให้ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน สามารถมีรายได้จากการบริจาค การอุดหนุนสถานี หรือรายได้อื่นเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการสถานีโดยไม่เน้นแสวงหากำไร และกำหนดโทษทางปกครองที่เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงที่ส่งกระจายเสียงด้วยกำลังส่งไม่เกิน 1 กิโลวัตต์","solution":"- กำหนดให้การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน มีรายได้จากการบริจาค การอุดหนุนสถานี หรือรายได้อื่นเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการสถานีโดยไม่เน้นการแสวงหากำไรได้\n- กำหนดการลงโทษทางปกครองสำหรับผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงที่ส่งกระจายเสียงด้วยกำลังส่งไม่เกิน 1 กิโลวัตต์ สำหรับการลงโทษตามมาตรา 59 ให้ปรับได้ไม่เกินวันละ 1,000 บาท"},{"no":60,"title":"ร่าง พ.ร.บ. อํานาจเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/17T9AZLlc1z1hRZPEL1vgbjdHX1lu9RsC/view","name":"","status":[1,4,1,4,1,1,1,1,2,0],"detail":"ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาไม่มีอำนาจเรียกให้หน่วยงานเอกชนเข้ามาชี้แจงในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีร่างกฎหมายนี้เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสามารถปฏิบัติหน้าที่พิจารณา ศึกษา สอบหา ตรวจสอบ และแสวงหาข้อเท็จจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและครบถ้วน โดยมีอำนาจชอบธรรมที่จะเรียกบุคคลหรือหน่วยงานเข้ามาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงคามคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือเรื่องที่พิจารณาสอบหาอยู่ และมีอำนาจเรียกเอกสาร ข้อมูล วัตถุ หรือหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจการที่กระทำหรือเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงดังกล่าวจากบุคคลหรือหน่วยงานได้ และใ้ห้การเรียกบุคคลหรือหน่วยงานมีผลบังคับต่อผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม ทั้งนี้ มีหลักเกณฑ์ในการเรียก และมีมาตรการป้องกันการถูกเรียกที่ไม่ชอบธรรม","solution":"- ให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจตั้ง กมธ.สามัญ กมธ.วิสามัญ และ กมธ.ร่วมกัน เพื่อพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในหน้าที่และอำนาจของสภาได้\n- แก้ไขอำนาจของ กมธ. ให้มีอำนาจเรียกเอกสารจากบุคคล หรือเรียกบุคคลมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำ หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ หรือสังกัดหน่วยงานเอกชนก็ได้ (ยกเว้นกับผู้พิพากษา/ตุลาการที่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษาอรรถคดีหรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล รวมถึงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ)\n- กำหนดเอกสิทธิ์ของผู้ให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นต่อ กมธ. หรือผู้ที่จัดทำและเผยแพร่รายงานการประชุม ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย\n- กำหนดความรับผิดของ กมธ. ที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจนเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งหรือปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต\n- กำหนดความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกต้องถูกดำเนินการทางวินัย\n- กำหนดความรับผิดของผู้ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกให้มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัย\n- กำหนดความรับผิดของผู้ส่งเอกสาร แจ้งข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นอันเป็นเท็จต่อ กมธ. ให้มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัย ถ้าเป็นเจ้าน้าที่ของรัฐให้ถือว่ามีความผิดทางวินัยด้วย\n- กำหนดความรับผิดของผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติการตามหน้าที่ของ กมธ. ให้มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัย ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ถือว่ามีความผิดทางวินัยด้วย"},{"no":61,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ยกเลิก ม.279)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1H3AhjK8HArKGo6G_Pp-BUBS1bWaLtnez/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเข้าสู่อํานาจจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้ออกประกาศและคําสั่งหลายฉบับที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในวงกว้าง แต่ประกาศและคําสั่งดังกล่าวกลับถูกทําให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทำให้การตรวจสอบหรือเอาผิดการใช้อำนาจตามประกาศและคําสั่งดังกล่าวที่เข้าข่ายเป็นการละเมิดหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่สามารถกระทำได้","solution":"ยกเลิกมาตรา 279 ในบทเฉพาะกาล เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้เสียหายจากประกาศและคำสั่ง คสช. และหัวหน้า คสช. ได้โต้แย้งถึงความชอบด้วยกฎหมายของประกาศและคำสั่งซึ่งส่งผลสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน"},{"no":62,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ป้องกันรัฐประหาร)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1WMoBBoiKcmpNAtl1Fr_P91fuzVZTgZST/view?usp=sharing","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเผชิญกับการรัฐประหารมามากกว่าสิบครั้ง โดยที่เมื่อคณะทหารก่อรัฐประหารสําเร็จ ก็ตั้งตนเป็น “รัฏฐาธิปัตย์” ออกประกาศ คําสั่ง ให้ถือเป็น “กฎหมาย” ออกกฎหมายนิรโทษกรรมตนเอง ใช้อํานาจละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กําจัดศัตรูทางการเมืองและคนที่เห็นต่าง เมื่อต้องการคืนอํานาจให้ประชาชนกลับมาสู่การเลือกตั้ง คณะรัฐประหารก็จะออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอํานาจต่อไป จนเกิดวิกฤติการเมืองรอบใหม่ คณะทหารชุดใหม่ก็เข้ามาก่อรัฐประหารวนเวียนเช่นนี้มาหลายทศวรรษจนกล่าวกันว่าเป็น “วงจรอุบาทว์” ของการเมืองไทย ทั้งหมดนี้ทําให้พัฒนาการประชาธิปไตยในประเทศไทยต้องสะดุดหยุดลง กองทัพเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้นจนกลายเป็นรัฐซ้อนรัฐ และกระทบต่อการพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ","solution":"เพิ่มบทบัญญัติ “หมวด 16/1 การลบล้างผลพวงรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และการป้องกันและการต่อต้านรัฐประหาร” ซึ่งมีสถานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่มีผลใช้บังคับโดยตลอดแม้รัฐธรรมนูญจะสิ้นผลไป โดยบทบัญญัตินี้มีสาระสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้\n- เติมพลังให้ประชาชนทุกคนในการต่อต้านการรัฐประหาร เช่น การคุ้มครองสิทธิของประชาชนทั่วไปและการกำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่ในการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่วางแผนยึดอำนาจจากประชาชน เป็นต้น\n- เพิ่มความรับผิดชอบให้ทุกสถาบันทางการเมืองร่วมกันปฏิเสธรัฐประหาร เช่น การห้ามไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญและศาลทั้งปวงรับรองรัฐประหาร เป็นต้น\n- ทำให้การทำรัฐประหารมี “ราคา” สำหรับผู้ก่อการ เช่น การห้ามไม่ให้มีการนิรโทษกรรมคณะรัฐประหารและการกำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เสียหายที่ฟ้องผู้ก่อรัฐประหารฐานกบฏได้ โดยปราศจากอายุความ เป็นต้น"},{"no":63,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1RcFpjyYtp3On0Q4_BZWjkCbnXOti9vww/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"การกําหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติตามมาตรา 65 และการปฏิรูปประเทศตามหมวด 16 มีปัญหาหลายประการ ดังนี้\n\n- ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศขาดความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นผลพวงจากระบอบรัฐประหารของ คสช. มีบุคคลใน คสช. หรือเกี่ยวข้องกับ คสช. เข้าไปกํากับควบคุมตลอดทั้งกระบวนการ ในขณะที่แผนการปฏิรูปประเทศควรจะต้องมีที่มาที่ยึดโยงกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งอาจรวมถึงนโยบายที่รณรงค์หาเสียงไว้กับประชาชน\n- ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศขาดความยืดหยุ่นเพราะได้บรรจุกลไกเรื่องยุทธศาสตร์และแผนเข้าไปในรัฐธรรมนูญและกฎหมายจนนำไปสู่การขยายตัวของรัฐราชการ แทนที่จะเป็นยุทธศาสตร์และแผนที่พรรคการเมืองและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามากำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศที่ได้รับอาณัติจากประชาชนผ่านคูหาเลือกตั้ง\n- ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศเสี่ยงจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งกันและกัน ผ่านการอาศัยกลไกขององค์กรอิสระหรือศาลต่าง ๆ เพื่อลงโทษหน่วยงานรัฐที่อาจเป็นคู่ขัดแย้งกัน โดยใช้เหตุอ้างว่าไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ","solution":"- ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติผ่านการยกเลิกมาตรา 65 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง\n- ยกเลิกแผนปฏิรูปประเทศผ่านการยกเลิกหมวด 16 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง"},{"no":64,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2559 เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม สําหรับการประกอบกิจการบางประเภท ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559","category":"democracy","link":"","name":"สมชาติ เตชถาวรเจริญ และคณะ","status":[1,4,2,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"–","solution":"–"},{"no":65,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ปลดล็อกการสไตรค์)","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1l94B8KiXqQrgw2QkvfmAH52l0Orbk1xj/view","name":"สหัสวัต คุ้มคง และคณะ","status":[1,4,2,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพและความคุ้มครองของผู้ใช้แรงงานไว้อย่างชัดเจน เพราะผู้ใช้แรงงานเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ หากไม่ได้รับสิทธิและความคุ้มครองตามสมควรก็จะทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปไม่ได้ ดังนั้น ผู้ใช้แรงงานร่วมกันหยุดงานจึงเป็นสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบอันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและสามารถใช้ได้โดยบุคคลและกลุ่มบุคคล รวมถึงการคุ้มครองเสรีภาพที่จะชุมนุมโดยสงบ เช่น การอำนวยความสะดวกให้บุคคลเข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบ ประกันให้บุคคลในสังคมมีโอกาสแสดงความเห็นที่สอดคล้องกับบุคคลอื่นถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง มีความสำคัญทั้งในเชิงสัญลักษณ์และในเชิงกระบวนการ ซึ่งนำไปสู่การสานเสวนาในภาคประชาสังคม และระหว่างภาคประชาสังคมกับรัฐบาล ปัจจุบันการกำหนดโทษอาญากับผู้ใช้แรงงานที่ร่วมกันหยุดงานหรือร่วมกันปิดงานจึงเป็นบทบัญญัติที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ","solution":"- ยกเลิกความในมาตรา 117 แห่งประมวลกฎหมายอาญา"},{"no":66,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหาร*","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1wXuVPzAWBsGCfAeLQSfDJ22QWu5TnZAn/view?usp=drive_link","name":"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคณะ","status":[1,4,2,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจาก พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติหลายมาตราไม่เหมาะสมกับปัจจุบัน และไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับในศาลพลเรือน อีกทั้งปัจจุบันโครงสร้างและกิจการทางทหาร ตลอดจนเขตพื้นที่ทหารได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม\n\nวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร จึงผลักดันวาระนี้ในคณะกรรมาธิการฯ และร่วมกับ สส. ในคณะกรรมาธิการฯ ยื่นร่างแก้ไขกฎหมายนี้ เพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้เป็นไปตามหลักสากล และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความในคดีและบุคคลที่เกี่ยวข้อง","solution":"- แก้ไขอำนาจการวางระเบียบราชการของศาลทหารของเจ้ากรมพระธรรมนูญโดยกำหนดให้เจ้ากรมพระธรรมนูญวางระเบียบราชการของอัยการทหารเท่านั้น\n- ยกเลิกศาลจังหวัดทหารออกจากเขตอำนาจของศาลทหารชั้นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับเขตพื้นที่ทหารที่มีการเปลี่ยนแปลง\n- กำหนดให้คณะกรรมการตุลาการทหาร (กตท.) เป็นผู้วางระเบียบกำหนดคุณสมบัติ พื้นความรู้ หน้าที่และอำนาจของตุลาการพระธรรมนูญ โดยแยกออกจากตำแหน่งอื่นๆ ที่เป็นอำนาจของกระทรวงกลาโหม เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญซึ่งควรมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อให้ทำหน้าที่ได้อย่างเป็นธรรมและมีความเป็นอิสระ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติในเรื่องเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตุลาการพระธรรมนูญและอัยการทหาร ซึ่งบัญญัติอยู่ในมาตรา 11/1 มารวมไว้ในมาตราเดียวกัน เนื่องจากมีเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกัน\n- กำหนดองค์ประกอบ วาระการดำรงตำแหน่ง องค์ประชุม และหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการตุลาการทหาร (กตท.) เพื่อทำหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้\n- แก้ไขอำนาจศาลทหารในการพิจารณาสั่งลงโทษกรณีมีผู้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลโดยแยกออกเป็นอีกมาตราหนึ่งต่างหาก และกำหนดรายละเอียดของโทษที่ศาลมีอำนาจลงได้ไว้ให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย\n- แก้ไขเขตอำนาจศาลทหาร โดยปรับปรุงคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร เพื่อให้มีความเหมาะสมและเกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความในคดี\n- กำหนดอำนาจของตุลาการพระธรรมนูญนายเดียวในศาลทหารชั้นต้น เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการทางคดีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาพิพากษา\n- แก้ไของค์ประกอบขององค์คณะของศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารกลาง และศาลทหารสูงสุด โดยกำหนดให้มีสัดส่วนของตุลาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมากขึ้น\n- แก้ไขตุลาการผู้ทำหน้าที่ประธานในการพิจารณาพิพากษา โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของตุลาการพระธรรมนูญที่มีอาวุโสสูงสุด\n- แก้ไขอำนาจศาลทหารในเวลาไม่ปกติ โดยกำหนดให้ “ในเวลาไม่ปกติ” คือ ในเวลาที่มีการรบ หรือสถานะสงคราม หรือได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ตามเขตอำนาจศาลที่มีอยู่ในเวลาปกติเท่านั้น\n- กำหนดให้ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมในวิธีพิจารณาความอาญาทหาร มีสิทธิร้องต่อคณะกรรมการตุลาการทหาร (กตท.) เพื่อสืบสวนข้อเท็จจริงและอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง\n- กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในศาลทหาร เพื่อให้มีความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง\n- กำหนดให้ผู้เสียหายที่ไม่ได้เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องในคดีอาญาศาลทหารในเวลาปกติ\n- แก้ไขถ้อยคำที่เกี่ยวกับการให้จำเลยคืนทรัพย์ ใช้ราคาทรัพย์ หรือใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่จำเลยกระทำผิด โดยกำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์ ใช้ราคาทรัพย์ หรือใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้แก่รัฐ\n- กำหนดให้คู่ความในคดีแต่งทนายเพื่อว่าต่างหรือแก้ต่างคดีได้ โดยทนายต้องเป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความเท่านั้น เว้นแต่กรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีโดยตรง หรือกรณีศาลทหารในเวลาไม่ปกติจะเป็นทนายความที่กระทรวงกลาโหมกำหนดก็ได้\n- กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องในศาลทหาร\n- แก้ไขการพิจารณาและสืบพยานในศาลทหาร โดยกำหนดให้ทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย\n- แก้ไขหลักเกณฑ์การห้ามอุทธรณ์ฎีกา โดยกำหนดห้ามอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาไม่ปกติเฉพาะในเวลาที่มีการรบหรือสถานะสงครามและศาลอาญาศึกหรือศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแทนศาลอาญาศึกเท่านั้น\n- แก้ไขหลักเกณฑ์การห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยตัดความในส่วนท้ายที่ไม่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับ เพื่อให้ศาลทหารสูงสุดสามารถรับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด"},{"no":67,"title":"ร่าง พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ*","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1g7xEvkceTlO2_EVwmo8ByMANSQS7DRAf/view?usp=sharing","name":"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคณะ","status":[1,4,2,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจาก พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 กำหนดให้มีการพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบโดยใช้ระบบไต่สวนในศาลทหาร ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการพิจารณาคดีโดยใช้ระบบกล่าวหาที่เป็นรูปแบบและลักษณะการดำเนินคดีอาญาทั่วไปในศาลทหาร จึงไม่มีความชำนาญในการพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ\n\nวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร จึงผลักดันวาระนี้ในคณะกรรมาธิการฯ และร่วมกับ สส. ในคณะกรรมาธิการฯ ยื่นร่างแก้ไขกฎหมายนี้ เพื่อเสนอยกเลิกบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และเพื่อให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบมาพิจารณาพิพากษาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบแทน","solution":"- ยกเลิกมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559\n- กำหนดบทเฉพาะกาลให้โอนบรรดาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลทหารก่อนใช้บังคับกฎหมายฉบับนี้ไปให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบที่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาแทน"},{"no":68,"title":"ร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต*","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1KYd-f7ahqbE20ZSD2dXJf2o5XGdi8jgN/view?usp=sharing","name":"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคณะ","status":[1,4,1,4,1,2,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจากปัจจุบันมีการจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบต่อผู้ถูกกล่าวหาตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณา เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคดีความที่เกี่ยวข้องทั้งหลายได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วและอย่างเสมอภาค ซึ่งหากบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบแต่ไม่ได้ถูกดำเนินคดีโดยศาลและระบบการพิจารณาพิพากษาที่กฎหมายเฉพาะกำหนดไว้อาจส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในคดี และอาจกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐและประชาชน\n\nวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร จึงผลักดันวาระนี้ในคณะกรรมาธิการฯ และร่วมกับ สส. ในคณะกรรมาธิการฯ ยื่นร่างแก้ไขกฎหมายนี้ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงควรยกเลิกการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกับผู้ถูกกล่าวหาที่เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในศาลทหาร","solution":"- ยกเลิกการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกับผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในศาลทหาร\n- กำหนดให้โอนบรรดาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบที่อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีของอัยการทหารก่อนวันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับไปให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ดำเนินการในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ"},{"no":69,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดร้ายแรงต่อสันติภาพและมนุษยชาติ","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1b7QyIGhIDICaHqmk9d8xHsRCnN2umlNR/view?usp=sharing","name":"ธิษะณา ชุณหะวัณ และคณะ","status":[1,4,2,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ร่างกฎหมายฉบับนี้มีเพื่อให้มีมาตรการทางกฎหมายที่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ตามพันธกรณีและความรับผิดชอบร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมร้ายแรง ซึ่งเป็นภัยคุกตามต่อสันติภาพ ความมั่นคง และความเป็นมนุษยชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ (Customary International Law) หรือหลักการปฏิบัติสากลโดยทั่วไป (General Principles) และบรรทัดฐานจากคำตัดสินของศาลโลก (Opinio Juris) และสร้างความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลกับความมั่นคงและผลประโยชน์ของรัฐภายได้หลักนิติธรรม เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายภายในที่ครอบคลุมการกระทำดังกล่าวอย่างครบถ้วน","solution":"- การป้องกันอาชญากรรมอันเป็นความร้ายแรงต่อสันติภาพและมนุษยชาติ กำหนดให้มีการส่งเสริมให้ประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสื่อมวลชน ตระหนักถึงความร้ายแรงของอาชญากรรมต่อสันติภาพและมนุษยชาติ\n- การกระทำความผิดร้ายแรงต่อสันติภาพและมนุษยชาติ กำหนดฐานความผิดดังต่อไปนี้\n1) ความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: การกระทำที่มุ่งหมายเพื่อทำลายกลุ่มที่ได้รับการคุ้มครองทั้งหมดหรือบางส่วน\n2) ความผิดฐานอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ: การกระทำที่มุ่งหมายเพื่อโจมตีหรือเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีที่ก่อให้เกิดความเสียหายในชีวิต ร่างกาย อนามัย และทรัพย์สินของพลเรือนอย่างกว้างขวางและเป็นระบบต่อพลเรือน\n3) ความผิดฐานอาชญากรรมสงคราม: การกระทำที่มุ่งหมายต่อทหารบาดเจ็บ เชลยศึก บุคคลากรทางการแพทย์ หรือพลเรือนในพื้นที่สงคราม โดยละเมิดกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง\n4) ความผิดฐานอาชญากรรมรุกราน: ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจควบคุมกำลังหรือกลุ่มติดอาวุธใด วางแผน เตรียมการ ยุยง หรือสั่งการให้ใช้กำลังอาวุธโจมตีหน่วยงานของรัฐหรือประชาชน อันกระทบต่อความเป็นเอกราชหรือบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักรหรือของรัฐอื่น\n- หน้าที่และความรับผิดของผู้บังคับบัญชา ตลอดจนคุ้มครองผู้ใต้บังคับบัญชา\nที่ปฏิเสธคำสั่งที่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ของผู้บังคับบัญชา\n- การดำเนินคดี กำหนดอำนาจพนักงานสอบสวนและศาลในการดำเนินคดี\nและพิจารณาพิพากษาคดีอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนเขตอำนาจศาล\n- บทกำหนดโทษ กำหนดบทลงโทษสำหรับความผิดฐานอาชญากรรมประเภทต่างๆ\n- บทเฉพาะกาลเพิ่มเติม เช่น กำหนดให้มีการจัดอบรมความรู้แก่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และผู้พิพากษา เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้"},{"no":70,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง (รางประชาชน)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1aDzt1Lrb7bwt-FinfR5jubOtldTMdBha/view?usp=drive_link","name":"สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ และคณะ","status":[1,1,1,4,1,2,0,0,0,0],"detail":"กรมการขนส่งทางราง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่สำคัญในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาระบบราง พร้อมทั้งกำกับมาตรฐานความปลอดภัย การบำรุงรักษา และการวางแผนเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัยสำหรับประชาชน นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนส่งทางรางของไทย\n\nอย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีบทบัญญัติกฎหมายที่ใช้ควบคุมและกำกับดูแลกิจการขนส่งทางรางโดยตรง ทำให้การพัฒนาและบริหารจัดการยังขาดความเป็นระบบ ไม่สอดคล้องกับการขนส่งรูปแบบอื่น","solution":"- ให้มี พ.ร.บ. การขนส่งทางราง รองรับหน่วยงานที่ตั้งมาก่อนคือกรมการขนส่งทางราง โดยกำหนดโครงสร้างอำนาจของคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับกฎหมายการขนส่งรูปแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางอากาศ สามารถบูรณาการการทำงานเพื่อพัฒนาระบบการขนส่งทางรางของประเทศ"},{"no":71,"title":"ร่าง พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด","category":"local","link":"https://drive.google.com/file/d/14RffrjkabpDkR9PGrNSrhdi8u9tmfNkm/view?usp=sharing","name":"สมชาติ เตชถาวรเจริญ และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ร่าง พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ฉบับนี้ มีหลักการเพื่อเสนอให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากรตามที่จัดเก็บได้จากสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น เนื่องจากปัจจุบันกรมสรรพากรให้สิทธิผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน ณ สำนักงานใหญ่ เป็นเหตุให้ส่วนแบ่งภาษีมูลค่าเพิ่มของสาขาสถานประกอบการที่อยู่ในต่างจังหวัดตกเป็นของจังหวัดตามที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้รับการจัดสรรยอดภาษีมูลค่าเพิ่มของสาขาบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งอยู่ในพื้นที่ ","solution":"- ให้จัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร ตามที่จัดเก็บได้จากสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น"},{"no":72,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร","category":"local","link":"https://drive.google.com/file/d/13oDEkelA4OL_-CleGYInKipEmHRZRUyr/view?usp=sharing","name":"สมชาติ เตชถาวรเจริญ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจากปัจจุบันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการรายได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีรวม ณ สำนักงานใหญ่แห่งเดียว ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสาขาของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งอยู่ไม่มีข้อมูลรายได้ของสาขาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จึงได้เสนอร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ฉบับนี้","solution":"- เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการรายได้ของแต่ละสาขา ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีในแต่ละปีภาษี ตามแบบที่อธิบดีกำหนด เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการกำหนดแผนในการดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นนั้นๆ ได้ต่อไป"},{"no":73,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ยุติการผูกขาดอำนาจเรื่องมาตรฐานจริยธรรม)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1nli-dh7bOm-pBh0w-A_DZwLbHSjNI5Qc/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"","solution":"- แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 160 มาตรา 168 มาตรา 186 มาตรา 201 มาตรา 202 มาตรา 208 มาตรา 219 มาตรา 234 มาตรา 235 มาตรา 236"},{"no":74,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ป้องกันการสมคบคิดกันระหว่างรัฐบาลกับ ป.ป.ช.)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1N25DIj3KSA9DCccXCNGRHPtl6EeRbn0J/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้าชื่อร้องเรียนกล่าวหาและตรวจสอบกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่อาจเปิดช่องให้มีการใช้ดุลพินิจมากเกินควร เพราะกำหนดให้ประธานรัฐสภามีอำนาจในการพิจารณาว่าจะเสนอเรื่องร้องเรียนไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระหรือไม่ จนอาจกลายมาเป็นอุปสรรคในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ป.ป.ช. จึงแก้ไขกระบวนการร้องเรียนกรรมการ ป.ป.ช. โดยตัดดุลพินิจของประธานรัฐสภาในกรณีดังกล่าวออกเพื่อให้ทุกข้อร้องเรียนที่มีการเข้าชื่อกล่าวหาถูกเสนอไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระได้","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 236)\n- กำหนดให้ประธานรัฐสภาเสนอทุกเรื่องร้องเรียนที่มีการการเข้าชื่อกล่าวหากรรมการ ป.ป.ช. ไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระ"},{"no":75,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (เพิ่มกลไกคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสและผู้เปิดโปงการทุจริต [Open Data & Whistleblower Protection])","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1lN2z5DWiSXw6HHY5a3GLK2t8uRtOg3vf/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ยังไม่ได้คุ้มครองสิทธิของประชาชนอย่างเพียงพอในการเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ รวมถึงยังไม่มีบทบัญญัติใดๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการได้รับความคุ้มครองจากรัฐในกรณีที่เปิดเผยหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต (Whistleblower Protection) อันล้วนเป็นสิทธิของประชาชนที่มีความสำคัญในการตรวจสอบการทุจริต จึงแก้ไขให้ประชาชนมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ และประชาชนมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐในกรณีที่เปิดเผยหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 41 และมาตรา 59) \n- กำหนดให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐทั้ง\nหมด ยกเว้นข้อมูลที่เป็นความลับของทางราชการหรือข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติ\n- กำหนดให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ในกรณีที่เปิดเผยหรือแจ้งเบาะแสการทุจริตของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ\n- กำหนดให้รัฐต้องเปิดเผยและเผยแพร่ข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐทั้งหมด ยกเว้นข้อมูลที่เป็นความลับของทางราชการหรือข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวกในรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน"},{"no":76,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (สิทธิการศึกษา เรียนฟรี 15 ปี)","category":"education","link":"https://drive.google.com/file/d/1BOw4rY8TCDAyP8GUZu3qzllSDPZx13ph/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายเป็นเวลาเพียง 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ จึงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อขยายสิทธิของประชาชนให้ได้รับการศึกษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพเป็นเวลาอย่างน้อย 15 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย","solution":"(แก้ไขเพิ่มมาตรา 47/1 และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 54 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคห้า)\n- กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพเป็นเวลาอย่างน้อย 15 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา\n- กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพเป็นเวลาอย่างน้อย 15 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย\n- กำหนดให้ประชาชนได้รับการดูแลและพัฒนาหรือได้รับการศึกษา รัฐต้องดำเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามความถนัดของตน"},{"no":77,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (สิทธิชุมชน-สิ่งแวดล้อม)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1-Ws-LGvDd64gzMfLIalAoP4uOl1zHQVT/view?usp=sharing","name":"พงศธร ศรเพชรนรินทร์ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ยังไม่ได้คุ้มครองสิทธิของประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางและรัดกุมเพียงพอ จึงแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนและชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงยกระดับสิทธิบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน การยกระดับสิทธิในการดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ยั่งยืน และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน การยกระดับสิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินการของรัฐหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และการกำหนดให้มีองค์การอิสระที่ให้ความเห็นต่อการดำเนินการของรัฐหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 43 เพิ่มมาตรา 57 (3) และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 58)\n- กำหนดให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนและกำหนดให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิในการดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ยั่งยืน และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน\n- กำหนดให้รัฐมีหน้าที่คุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ยั่งยืน\nและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน\n- กำหนดให้มีองค์การอิสระที่ให้ความเห็นต่อการดำเนินการของรัฐหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพใดของประชาชนหรือชุมชน\n- กำหนดให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินการของรัฐหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพใดของประชาชนหรือชุมชน\n- กำหนดให้รัฐต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ เว้นแต่กรณีที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ รัฐพึงจัดการให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และต้องเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและโดยไม่ชักช้า"},{"no":78,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ความเสมอภาคทางเพศ)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1RtITtAZvp6G2wtSxwBAMV_Wg4lHz946v/view?usp=drive_link","name":"ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่กำหนดให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน อันเป็นการสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศที่อาจไม่ได้คำนึงถึงความหลากหลายทางเพศ จึงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคทางเพศโดยคำนึงถึงความหลากหลายทางเพศ ทั้งในด้านเพศ เพศสภาพ เพศวิถี และอัตลักษณ์ทางเพศ","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 27 วรรคสอง)\n- กำหนดให้บุคคลทุกคน ไม่ว่าเพศ เพศสภาพ เพศวิถี หรืออัตลักษณ์ทางเพศใด มีสิทธิเท่าเทียมกัน"},{"no":79,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (สิทธิในกระบวนการยุติธรรม)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1TIJv9yHnVwmrO5eyakOnbPWUivcO-LRn/view?usp=drive_link","name":"ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ยังไม่ได้คุ้มครองสิทธิของประชาชนอย่างเพียงพอในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในกรณีที่ไม่มีพฤติการณ์อันเชื่อได้ว่าจะหลบหนี และสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในการจัดหาทนายความ","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 29 วรรคห้า เพิ่มมาตรา 29 วรรคหก และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 วรรคสาม)\n- กำหนดสิทธิในการขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาย่อมได้รับความคุ้มครองและพิจารณาอย่างรวดเร็ว โดยการไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวต้องเป็นกรณีที่เชื่อได้ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี\n- กำหนดให้จำเลยที่ศาลชั้นต้นไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวและจำเลยที่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือลงโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปจะถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาเกิน 1 ปีไม่ได้\n- กำหนดให้รัฐต้องให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการจัดหาทนายความให้ประชาชนตามที่กฎหมายบัญญัติ"},{"no":80,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (เสรีภาพในการแสดงออก)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1DJ9oq9Lvt1kUKx-L0bidVxH-NlxhCtiI/view?usp=drive_link","name":"ชลธิชา แจ้งเร็ว และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ยังไม่ได้คุ้มครองเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในทางวิชาการอย่างเพียงพอ จึงแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 34)\n- กำหนดให้การตรากฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการติชมด้วยความเป็นธรรมจะกระทำไม่ได้\n- แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองเสรีภาพในทางวิชาการ รวมถึงการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน"},{"no":81,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (เงื่อนไขจำกัดสิทธิเสรีภาพ)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1vfwUHR2AC7DO8BqXPKJhO8u6iX8_9kX-/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ขยายเงื่อนไขในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้รวมถึงเหตุผลเรื่องความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อย ทำให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนอาจไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร จึงแก้ไขเพื่อปรับลดเงื่อนไขที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพประชาชน","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25)\n- แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย\n- กำหนดให้สิทธิหรือเสรีภาพตามมาตรา 25 หมายความรวมถึงสิทธิหรือเสรีภาพตามพันธกรณีและกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย"},{"no":82,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1n7HTsRKvvKGGYDa5bZuessvu_rXJKE6t/view?usp=sharing","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังมีกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารที่กำหนดให้มีระบบเกณฑ์ทหารที่บังคับชายไทยบางส่วนเข้ารับราชการทหารในห้วงเวลาที่ไม่มีภัยสงคราม ซึ่งนำไปสู่การลิดรอนเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพในระดับปัจเจกบุคคล และการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ในวัยทำงานจากระบบเศรษฐกิจในระดับประเทศ จึงแก้ไขเพื่อปิดช่องไม่ให้มีการบังคับเกณฑ์ทหารในยามปกติที่ไม่มีภัยสงคราม โดยให้กองทัพประกอบด้วยเพียงบุคคลที่สมัครใจเข้ารับราชการทหาร ซึ่งจะทำให้กองทัพดำเนินการภารกิจการรักษาความมั่นคงของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากทำควบคู่กับการลดยอดกำลังพลที่ไม่จำเป็นและการยกระดับคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการในด้านของรายได้ สวัสดิการ ความก้าวหน้าทางอาชีพ ความปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจ และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะนำไปสู่ยอดจำนวนผู้สมัครใจที่สูงขึ้น","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 50 (5))\n- กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหารเมื่อมีภัยสงครามหรือมีเหตุที่ประเทศอาจเผชิญสงครามในระยะเวลาอันใกล้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"},{"no":83,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ยกระดับกลไกกรรมาธิการ)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1TyaGKoGzzEEkz6WXCodyOHd0rk1-7UZa/view?usp=sharing","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ไว้อย่างจำกัด จึงแก้ไขเพื่อยกระดับประสิทธิภาพของ กมธ. ในการทำหน้าที่ รวมถึงการสอบสวนข้อเท็จจริง การออกคำสั่งเรียกเอกสาร หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็น","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 129)\n- แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอำนาจของกรรมาธิการในการทำกิจการพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ และรายงานให้สภาทราบตามระยะเวลาที่สภากำหนด"},{"no":84,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ปรับขอบเขตอำนาจศาลทหาร)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1iRzsNyIM_GlBrrRDZALgvft4KjUrFB0R/view?usp=drive_link","name":"เอกราช อุดมอำนวย และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่เปิดช่องให้มีการออกกฎหมายที่ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั่วไปในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นทหาร ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ทหารและพลเรือนที่กระทำความผิดในลักษณะเดียวกันในยามปกติที่ไม่ได้มีการประกาศสงครามจะได้รับการปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน จึงแก้ไขขอบเขตอำนาจของศาลทหารเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 199)\n- กำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคล ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น เฉพาะในระหว่างการประกาศสงคราม"},{"no":85,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ปรับนิยามฝ่ายค้าน)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1PC9hmufKI53iY3gnnzQXWkamU5hfvyGO/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง สส. ผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด และสมาชิกไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาฯ หรือรองประธานสภาฯ เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำให้พรรคการเมืองที่มีหัวหน้าพรรคเป็นผู้นำฝ่ายค้านจะไม่สามารถมีสมาชิกดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ หรือรองประธานสภาฯ ได้ จึงแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านเพื่อให้พรรคการเมืองที่ทำหน้าที่เป็นพรรคหลักในฝ่ายค้านสามารถมีสมาชิกดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ หรือรองประธานสภาฯ ได้ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 106 วรรคหนึ่ง)\n- แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการได้มาซึ่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร"}] \ No newline at end of file +[{"no":1,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1ys9v80hud1-w5sySbU-rW3jwcrwEX21t/view","name":"ศนิวาร บัวบาน และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมการพัฒนาของมนุษย์ส่งผลให้เกิดภาวะอากาศสุดขั้วและภัยพิบัติต่าง ๆ ก่อให้เกิดความสูญเสียและความเสียหายในด้านต่าง ๆ เช่น ความพร้อมใช้ของน้ำและการผลิตอาหาร สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เมือง การตั้งถิ่นฐาน และโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ","solution":"สิทธิและหน้าที่\n- นิติบุคคล หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ตรวจวัดและจัดส่งรายงานปริมาณการปล่อยและดูดกลับ GHG\n- รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลทั้วไปเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยหรือดูดกลับ GHG ให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และเพิ่มศักยภาพประชาชนในการปรับตัว สร้างสังคมที่ยืดหยุ่น เน้นภาคส่วน/กลุ่มคนที่เปราะบาง พัฒนานวัตกรรมที่ช่วยในการปรับตัว มีการวางแผนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่\n- ภาคประชาสังคมต้องมีส่วนร่วมในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ สามารถติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐในการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้\n\nกลไกการขับเคลื่อน\n- คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและแผนการดำเนินงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ\n- แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ / แผนปฏิบัติการลด GHG / แผนการปรับตัว\n- กองทุนการเปลี่ยนผ่านสีเขียว การปรับตัวและรับมือภัยพิบัติ\n\nเป้าหมายและกลไกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก\n- ขยับเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เข้ามา 15 ปี และมีการทบทวนทุก 5 ปี\n- ใช้เครื่องมือทางการเงิน (เช่น ตราสารทุน การค้ำประกัน เงินอุดหนุน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ) สำหรับ SMEs / การคลัง (ภาษีคาร์บอน) / ราคาคาร์บอน เพื่อจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวและมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ปล่อยเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด\n- กำหนดกรอบเพดานการปล่อย GHG รายอุตสาหกรรม และตั้งเป้าหมายลด GHG ในรายอุตสาหกรรม โดยระดับเพดานจะลดลงทุกปี\n- คาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรอง ต้องลด GHG ได้จริง อันเกิดจากความพยายามเพิ่มเติม ตรวจสอบได้ ดูดซับถาวร มีกลไกป้องกันทางสังคมและสิ่งแวดล้อม แบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม และต้องเป็นไปตามหลักการให้ฉันทานุมัติที่ได้รับการรับรู้ บอกแจ้งล่วงหน้า และเป็นอิสระสำหรับชนเผ่าพื้นเมือง\n- ผู้ส่งออกสินค้าไป EU ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechamism: CBAM) สามารถจ่ายราคาคาร์บอนได้ในรูปของภาษี ค่าธรรมเนียม หรือสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ (ยกเว้นคาร์บอนเครดิต)\n\nบทกำหนดโทษ\n- กำหนดโทษทั้งผู้พัฒนาโครงการ เจ้าของโครงการ ผู้ซื้อ และผู้ประกอบธุรกิจคาร์บอนเครดิต ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย"},{"no":2,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน (อากาศสะอาด)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/184JiTVe-ful44ewvvVsc_8hsaQGPImSc/view?usp=sharing","name":"ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ และคณะ","status":[1,1,1,4,1,2,0,0,0,0],"detail":"ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) รวมถึงปัญหามลพิษทางอากาศมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยสาเหตุการเกิดปัญหามีด้วยกันหลายประการ เช่น การเผาในที่โล่ง เกษตรกรรม ไฟป่า อุตสาหกรรม ฯลฯ ตลอดจนปัญหามลพิษข้ามพรมแดน ซึ่งปัญหานี้ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งในเรื่องของสุขภาพ และเศรษฐกิจ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน จึงเป็นการสมควรให้มีกฎหมายที่จะแก้ไขปัญหาทั้งโครงสร้าง","solution":"บังคับจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ\n- โรงงานตามกฎหมายโรงงาน และบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต้องจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมท้ังระบบ \n- ธุรกิจที่มีหน้าที่ส่งรายงานแล้วไม่ส่งหรือแจ้งเท็จต้องระวางโทษท้ังจำคุกและปรับรวมถึงการส่งล่าช้าจะมีค่าปรับเป็นรายวัน \n\nนายก อบจ. เป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่\n- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นประธานกรรมการระดับจังหวัด และมีผู้บริหารท้องถิ่น ผู้แทนจากราชการส่วนภูมิภาค เป็นกรรมการร่วม \n- หากเกิดปัญหาฝุ่นพิษในพื้นที่เป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อประชาชน คณะกรรมการระดับจังหวัดสามารถประกาศ “เขตฝุ่นพิษอันตราย” และผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจในการส่ังการป้องกันและแก้ไขปัญหา \n- ป้องกันไม่ให้ท้องถิ่นถูกฟ้องกลับหากการดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ที่ทำไปด้วยความสุจริต\n\nเปิดเผยรายชื่อผู้ก่อมลพิษ (Social Sanction)\n- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีหน้าที่ ออกประกาศรายนามผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ที่เป็นสาเหตุของการก่อมลพิษ \n- หากพบว่าบุคคล องค์กร ธุรกิจ เป็นผู้ทำความผิด หรือมีส่วนท้ังทางตรงหรือทางอ้อม ที่ก่อให้เกิดฝุ่นพิษจะต้องถูกประกาศรายนามให้ประชาชนทราบ\n\nเปิดข้อมูลการทำงานของหน่วยงานให้ประชาชนทราบ\n- กระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. ต้องทำรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมทราบ \n- คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต้องรายงานผลการดำเนินการให้สภาผู้แทนราษฎรปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ผู้แทนราษฎรได้เป็นกระบอกเสียงในการสะท้อนผลการดำเนินงาน"},{"no":3,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การรายงานการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม (PRTR)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1SH05PnaBFAnTssqrwHZVUnnSj8TeGv18/view","name":"กมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"- ประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่ปกป้องและรับรองสิทธิของชุมชนและประชาชนในการเข้าถึง รับรู้และตรวจสอบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม และสารเคมีอันตราย\n\n- ประชาชนไม่สามารถรู้ข้อมูลแหล่งที่มาของสารมลพิษเพื่อนำไปประเมินความเสี่ยงในการอยู่อาศัยได้ \n\n- รัฐไม่มีข้อมูลในการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดจากสารมลพิษได้ทันที \n\n- ประชาชนไม่มีเครื่องมือในการตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบกิจการ","solution":"- กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ครอบครอง, ปล่อย, หรือเคลื่อนย้ายสารมลพิษต้องทำการรายงานและเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง\n- หน่วยงานตามข้อ 1 ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะถึงข้อมูลเกี่ยวกับชนิดและปริมาณของสารเคมีหรือมลพิษที่มีการปลดปล่อยจากแหล่งกำเนิดสู่ตัวกลางสิ่งแวดล้อม ทั้งอากาศ ดิน น้ำ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลการนำน้ำเสียหรือของเสียที่มีสารเคมีหรือมลพิษออกจากแหล่งกำเนิด ไปบำบัดหรือกำจัดภายนอก"},{"no":4,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการขยะและการหมุนเวียนทรัพยากร","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/17epdYUpQXyMSZuJHeYuTZB0rDA58Y0qC/view","name":"พูนศักดิ์ จันทร์จําปี และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"การจัดการขยะเป็นปัญหาที่สะสมมาเป็นเวลานาน โครงสร้างการจัดการขยะของประเทศไทยยังมีความล้าหลังมีหน่วยงานทำงานซ้ำซ้อนและขาดการบูรณาการ ส่งผลให้ประเทศมีพื้นที่รับจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง เช่น บ่อเทกองซึ่งปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมและประชาชนมากกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ พื้นที่ปนเปื้อนจากการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับขยะไม่ได้รับการจัดการ ควบคุม และฟื้นฟู นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีการใช้ทรัพยากรที่สูง อัตราการรีไซเคิลยังมีค่าต่ำเนื่องจากขาดกฎหมายที่สนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน","solution":"- ยกเลิกการจัดการขยะตามการรับผิดชอบของหน่วยงานราชการ ให้แบ่งการจัดการขยะตามลักษณะของขยะ ได้แก่ ขยะติดเชื้อ, ขยะไม่อันตราย, ขยะอันตราย\n- กำหนดแนวทางด้านการจัดการขยะแบบครบวงจร ได้แก่ การคัดแยกขยะต้นทางภายใน 3 ปี, กำกับการขนส่งกลางทาง, กำหนดมาตรฐานและแนวทางการอนุญาตและควบคุมสถานที่จัดการขยะที่ปลายทาง\n- นำหลักการ Waste Hierarchy หรือลำดับขั้นในการจัดการขยะ (Reduce การลดการเกิดขยะ , Reuse การใช้ซ้ำ, Recycle การนำมาใช้ใหม่, Heat Recovery การนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการทำเป็นเชื้อเพลิง, Disposal การกำจัด) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการขยะ \n- สนับสนุนให้เกิดการหมุนเวียนทรัพยากร (Circular Economy) โดยใช้หลักการ “การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต” เพื่อให้ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ของตนเอง เช่น ซากบรรจุภัณฑ์, ซากขยะอิเลคโทรนิคส์ เป็นต้น โดยใช้มาตรการทางสังคมและเศรษฐศาสตร์ควบคู่กันในการออกแบบระบบการจัดการซาก ทั้งนี้สามารถกฎเกณฑ์ในรูปของกฎกระทรวงโดยไม่จำเป้นต้องออกเป็น พรบ. เพื่อลดระยะเวลาในการออกกฎหมายลง\n- กำหนดเงินค้ำประกันการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับขยะ และการตั้งกองทุนเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนเพื่อให้ภาครัฐเข้าไปแก้ไขและฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนได้ทันที"},{"no":5,"title":"ร่าง พ.ร.บ. สหภาพแรงงาน","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1FOPVAqu06YVlPgiyQOL8q_YK407Uu4jx/view?usp=drive_link","name":"เซีย จำปาทอง และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหากฎหมายเดิม โดยเฉพาะ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ที่มีบทบัญญัติหลายประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และไม่สอดคล้องกับหลักการที่เป็นมาตรฐานแรงงานสากลว่าด้วย “เสรีภาพในการรวมตัว” และ “การเจรจาต่อรองร่วม” (หลักการ ILO ฉบับที่ 87 และ 98) ทำให้คนทำงานและผู้จ้างงานส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้จริง นำไปสู่ความขัดแย้ง การต่อสู้ และเผชิญหน้ากันด้านแรงงานในประเทศไทยหลายครั้ง \n\nนอกจากนี้ กฎหมายเดิมยังครอบคลุมเฉพาะแรงงานในระบบและพนักงานรัฐวิสาหกิจเท่านั้น แต่ยังมีคนทำงานอีกมากมายทั้งที่ถูกเรียกว่าเป็นแรงงานนอกระบบ ข้าราชการ และลูกจ้างของรัฐที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว นี่จึงเป็นเหตุให้คนทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วมได้อย่างแท้จริง และทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่คนทำงานเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในอัตราที่ต่ำที่สุดของโลก คือราว 1.5% เท่านั้น\n\nการที่คนงานส่วนใหญ่ไม่สามารถรวมตัวและทำการเจรจาต่อรองร่วมได้ ส่งผลให้คนทำงานต้องถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ได้รับความเป็นธรรม มีค่าจ้างต่ำ สวัสดิการที่เลวร้ายไม่เหมาะสม ต้องทำงานหนักและยาวนานในแต่ละวัน และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลี่อมล้ำด้านแรงงานเป็นอันดับต้นๆ ของโลกด้วย","solution":"- ยกเลิกกฎหมายเดิมว่าด้วยเรื่องแรงงานสัมพันธ์ทุกฉบับ\n- เพิ่มคํานิยามใหม่ให้สอดคล้องกับหลักการของ ILO ได้แก่ ผู้จ้างงาน\" \"คนทํางาน\" \"คู่กรณี\" \"งานที่มีคุณค่า\" \"การเฉื่อยงาน\" \"การนัดหยุดงาน\" \"องค์การผู้จ้างงาน\" \"องค์การคนทํางาน\" \"คณะกรรมการคนทํางาน\"\n- คนทํางานทุกคนทุกรูปแบบงานสามารถตั้งสหภาพแรงงานได้\n- ตั้งสหภาพได้ทันที ไม่มีต้องขออนุญาต\n- เพิ่มการคุ้มครองสหภาพจากการฟ้องปิดปาก (SLAAP)\n- ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาแรงงานสัมพันธ์\n- ให้จัดตั้งสํานักงานส่งเสริมและพัฒนาแรงงานสัมพันธ์เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน\n- ให้มีคณะกรรมการการมีส่วนร่วมในสถานประกอบกิจการและในระดับอุตสาหกรรม\n- คนทำงานอาจจัดตั้งคณะกรรมการคนทํางานในสถานประกอบกิจการและในระดับอุตสาหกรรม\n- ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ให้ทําเป็นหนังสือและมีผลเริ่มบังคับภายในระยะเวลาที่คนทํางานและผู้จ้างงานตกลงกัน\n- องค์การคนทํางาน จะมีสิทธิแจ้งข้อเรียกร้องแทนต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยจํานวนสมาชิกองค์การคนทํางานต้องมีไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนคนทํางานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น ในกรณีองค์การคนทํางานเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องนั้นไม่จําเป็นต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อคนทํางานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง\n- กรณีที่จะมีการปรับโครงสร้างองค์กร ผู้จ้างงานต้องเจรจาต่อรองกับองค์กรคนทํางานที่เกี่ยวข้องก่อน\n- เมื่อมีการแจ้งข้อเรียกร้อง ถ้าข้อเรียกร้องยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การปิดงาน การนัดหยุดงาน ห้ามผู้จ้างงานเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงาน จนกว่าข้อพิพาทนั้นจะสิ้นสุด\n- กรณีนัดหยุดงานหรือปิดงาน ให้คนทํางานมีสิทธิชุมนุมในเขตพื้นที่สถานประกอบกิจการ และใช้น้ำ ไฟฟ้า ห้องสุขา หอพัก และสวัสดิการอื่น ที่ผู้จ้างงานจัดให้ก่อนนัดหยุดงานหรือปิดงานได้ โดยแจ้งให้คู่กรณีทราบและหลังจากแจ้งให้ทราบแล้ว 24 ชั่วโมง จึงจะนัดหยุดงานได้ เว้นแต่กิจการสาธารณูปโภคทั้งรัฐและเอกชนเป็นเจ้าของต้องแจ้งให้คู่กรณีและสาธารณชนทราบล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 3 วัน จึงจะนัดหยุดงานได้\n- คนทํางานทุกคนมีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้องในกิจกรรมที่คนทํางานทําร่วมกัน รวมทั้งการรวมกัน นัดหยุดงานได้ โดยการกระทําต่างๆ ดังกล่าวต้องมีเจตนาเป็นไปเพื่อเป้าหมายที่กำหนด\n- ห้ามผู้จ้างงานเลิกจ้าง โยกย้าย เปลี่ยนตําแหน่งหน้าที่ ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวาง การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการคนทํางาน หรือกระทําการใดๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการคนทํางานไม่สามารถทํางานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะมีคําพิพากษาถึงที่สุดจากศาลแรงงาน\""},{"no":6,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ยกเลิกประกาศ คสช.)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1WzDD5cl7cRGBip-ZqRMBC3-fGx5eJBah/view?usp=drive_link","name":"รังสิมันต์ โรม และคณะ","status":[1,1,1,4,1,2,0,0,0,0],"detail":"หลังรัฐประหาร 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกประกาศและคำสั่งหลายฉบับที่เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งถูกรับรองโดยมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ให้มีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมี พ.ร.บ. ยกเลิกหรือแก้ไข ถึงแม้จะมีการยกเลิกประกาศและคำสั่งไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังเหลืออีกหลายฉบับ (17) ที่มีเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ขัดต่อหลักนิติธรรม และไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล","solution":"ยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ที่จำกัดเสรีภาพการแสดงออก\n- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557\n- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 25/2557\n- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 29/2557\n- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557\n- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 49/2557\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558\n\nยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ที่จำกัดเสรีภาพสื่อมวลชน\n- ประกาศ คสช. ฉบับที่ 26/2557\n\nยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ที่จำกัด\nสิทธิในกระบวนการยุติธรรม\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2559\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 5/2560\n\nยกเลิกประกาศ/คำสั่ง ที่จำกัดสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 4/2558\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 17/2558\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2559\n-คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 4/2559\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 9/2559\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 74/2559\n- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 31/2560"},{"no":7,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน (อำนวยความสะดวก)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1tmG8ee04U-O1U5z4XfTefiGcxMX_E0jQ/view?usp=drive_link","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันประชาชนต้องเผชิญกับขั้นตอนการอนุญาตที่ไม่จำเป็นมากมายทำให้กระบวนการเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงการพิจารณายังต้องอิงการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการอนุมัติ อนุญาต ซึ่งเสี่ยงนำไปสู่การทุจริตและประพฤติมิชอบได้","solution":"เพิ่มกลไกในการทบทวนใบอนุญาตอย่างสม่ำเสมอ\n- กำหนดให้มีการทบทวนทุกกระบวนการขอใบอนุญาตอย่างน้อยทุก 5 ปี \n- กำหนดให้หน่วยงานจัดทำคู่มือประชาชนสำหรับทุกกระบวนการขอใบอนุญาต รวมถึงกรอบระยะเวลาในการพิจารณาใบอนุญาต โดยต้องมีการทบทวนคู่มืออย่างน้อยทุก 2 ปี\n\nเพิ่มความสะดวกและลดระยะเวลาในการขอใบอนุญาต\n- เปิดให้มีการจัดช่องทางพิเศษแบบเร่งด่วน (fast track) โดยมีค่าธรรมเนียมพิเศษ \n- กำหนดให้คำขอมีผลบังคับใช้เหมือนใบอนุญาตทันที (auto approve) หากไม่แจ้งผลการพิจารณาภายในกรอบเวลาที่ระบุในคู่มือ \n- เปิดให้มีการต่ออายุใบอนุญาตผ่านการชำระค่าธรรมเนียม โดยไม่ต้องยื่นคำขอต่ออายุ\n\nลดความซ้ำซ้อนในการขอใบอนุญาต\n- เปิดให้ผู้ขออนุญาตที่ต้องขออนุญาต จาก > 1 ราย ขอเพียงแค่ใบอนุญาตหลักได้\n- เปิดให้ผู้อนุญาตพิจารณาคำขอแทนกันได้ ในกรณีที่งต้องได้รับอนุญาตจาก > 1 ราย\n\nจัดตั้งศูนย์รับคำขอกลาง\n- ให้มีศูนย์รับคําขอกลางซึ่งดำเนินการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ"},{"no":8,"title":"ร่าง พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แผนและการกระจายอำนาจ)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/14c-hiDHijQihd0TEVUOFAYqMnrwy8xir/view?usp=drive_link","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"แม้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานรัฐที่ใกล้ชิดและมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่ แต่ท้องถิ่นปัจจุบันมีข้อจำกัดทั้งด้านอำนาจและงบประมาณในการจัดทำบริการสาธารณะและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเพราะข้อจำกัดจากการเขียนกฎหมายแบบ“positive list” ที่ระบุสิ่งที่ท้องถิ่นมีอำนาจทำได้เป็นข้อ ๆ ซึ่งทำให้ท้องถิ่นลังเลว่าทำได้หรือไม่เวลามีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาในพื้นที่แต่ไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย หรือข้อจำกัดทางกฎหมายที่ไม่รับรองช่องทางการหารายได้ที่หลากหลายเพียงพอ","solution":"เพิ่มอำนาจท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะ\n- กำหนดอำนาจท้องถิ่นแบบ “negative list” โดยระบุให้ท้องถิ่นจัดทำบริการสาธารณะได้ทั้งหมด ยกเว้น ทหาร-ศาล-เงินตรา-การต่างประเทศ และบริการสาธารณะระดับประเทศ \n- เพิ่มอำนาจท้องถิ่นเกี่ยวกับรูปแบบในการจัดทำบริการสาธารณะ - เช่น การร่วมมือกันระหว่างท้องถิ่นหลายแห่ง การทำสัญญากับเอกชนในรูปแบบการร่วมทุนหรือสัญญาสัมปทาน\n\nเพิ่มอำนาจท้องถิ่นในการหารายได้\n- เพิ่มช่องทางให้ท้องถิ่นหารายได้ผ่านการกู้เงินและออกพันธบัตร โดยให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) กำหนดหลักเกณฑ์ \n- เพิ่มช่องทางให้ท้องถิ่นหารายได้ผ่านการเก็บค่าธรรมเนียมที่รับรองโดยข้อบัญญัติท้องถิ่น\n\nกำหนดมาตรฐานบริการสาธารณะ\n- ให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของบริการสาธารณะที่ท้องถิ่นจัดทำทั่วประเทศ"},{"no":9,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ภาษีที่ดินแยกแปลง)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1ml1SATP6FQNfqWkqMcdglougjeSY9sPC/view?usp=drive_link","name":"ภัณฑิล น่วมเจิม และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"การกำหนดอัตราภาษีโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ยืดหยุ่น มีช่องโหว่ในการเลี่ยงภาษีด้วยการปลูกพืชในพื้นที่รกร้างใจกลางเมือง รวมถึงขั้นตอนและวิธีการประเมินและจัดเก็บภาษีไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพที่แท้จริงในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น","solution":"ปรับนิยามและการใช้ประโยชน์\n- ในนิยาม “สิ่งปลูกสร้าง” เพิ่มท่าเทียบเรือและนำเรื่องการอยู่อาศัยและใช้สอยออกจากนิยาม\n- เปลี่ยนการจัดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารใหม่\n\nปรับอัตราภาษี/อัตราเบี้ยปรับ\n- ปรับเพิ่มอัตราภาษีสูงสุดเป็น 3% และให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดอัตราภาษี\n- ปรับลดการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีสำหรับการประกอบเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยเป็นไม่เกิน 5 ล้านบาท \n- ปรับลดอัตราเบี้ยปรับภาษีค้างชำระลง 10 เท่า\n- ยกเลิกการเพิ่มอัตราภาษี กรณีปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าต่อไป\n\nแก้ไขวิธีการแจ้งการประเมินภาษี\n- กรณีที่ไม่สามารถนำส่งให้กับผู้เสียภาษีโดยตรงได้ ให้ประกาศในหนังสือพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นทางการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น\n- เพิ่มเวลาให้ อปท. ในการแจ้งภาษี\n\nแก้ไขหน้าที่-อำนาจของ คกก. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจังหวัด\n- ยกเลิกหน้าที่และอำนาจในการให้ความเห็นชอบอัตราภาษีตามร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"},{"no":10,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ภาษีความมั่งคั่ง","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1WW-BN6ofMfAyGjSyjRFgOvyHrbzbfku-/view?usp=drive_link","name":"ศิริกัญญา ตันสกุล และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยเป็นปัญหาใหญ่ ช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนรวยและคนจน ในประเทศไทยขยายมากขึ้นอย่างชัดเจน บุคคลทั่วไปจนลง แต่บุคคลหรือครัวเรือนที่ร่ำรวยกลับมีสินทรัพย์ถือครองเพิ่มมากขึ้นในขณะที่เสียภาษีในอัตราต่ำกว่าที่ควรจะเป็น อีกทั้งรัฐจำเป็นต้องจัดเก็บรายได้เพื่อเป็นงบประมาณในการบริหารประเทศและกระจายทรัพยากรให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน","solution":"กำหนดให้ผู้ที่มีสินทรัพย์สุทธิเกิน 300 ล้านบาท ต้องเสียภาษีความมั่งคั่ง \n- นำภาษีที่ชำระไปแล้ว หรือจะต้องชำระในปีนั้น เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีที่ดินรวมแปลง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาหักลบออกจากจำนวนภาษีความมั่งคั่งที่จะต้องชำระ ได้เป็นจำนวนภาษีความมั่งคั่งที่ต้องชำระจริง\n- อัตราภาษีเป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา แต่ต้องไม่เกิน 0.5% ของฐานภาษี\n- ทรัพย์สินบางประเภทจะไม่นำมาคำนวณเป็นฐานภาษี เช่น เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว หุ้นใน บมจ. ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ\n- การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกำหนด แต่อยู่บนพื้นฐานของราคาซึ่งอาจซื้อขายได้จริงในตลาด\n- การเก็บภาษีความมั่งคั่งจะไม่เก็บภาษีซ้ำซ้อนจากที่บุคคลนั้นเคยจ่ายไปแล้ว"},{"no":11,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อประชาชน (ส.ป.ก.)","category":"local","link":"https://drive.google.com/file/d/1pY75srBim-hKpxD-vwOVfw4VXD3fC1e_/view?usp=drive_link","name":"อภิชาติ ศิริสุนทร และคณะ","status":[1,3,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบัน เกษตรกรจำนวนมากขาดเอกสารสิทธิหรือโฉนดในที่ดินที่ตนเองใช้ชีวิตและทำมาหากินมาหลายรุ่น แม้เกษตรกรที่มีที่ดิน ส.ป.ก. ก็ยังไม่มีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน เพราะเอกสารสิทธิที่ดิน ส.ป.ก. เป็นเอกสารสิทธิที่มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนมือการครอบครอง ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ยกเว้นกับ ธ.ก.ส.) และการเปลี่ยนพื้นที่ทำกินและเปลี่ยนอาชีพ","solution":"เปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก. ให้เป็นโฉนดอย่างเป็นธรรม\n- หากผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน ตรงกัน: ออกโฉนดที่ดินได้เลย\n- หากผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่ตรงกัน: ออกโฉนดที่ดินต่อเมื่อ\n(1) เป็นผู้ที่มีหลักฐานใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี และ\n(2) เป็นผู้ที่มีหลักฐานข้อตกลงระหว่างผู้ได้รับสิทธิเดิมกับผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินจริง และ\n(3) เป็นผู้ที่มีทรัพย์สินทั้งหมดไม่เกิน 10 ล้านบาท\n- กรณีที่ใช้ที่ดินที่ผ่านมาเพื่อการเกษตร: ได้รับการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดได้ไม่เกิน 50 ไร่\n- กรณีที่ใช้ที่ดินที่ผ่านมาเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากการเกษตร: ได้รับการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด เฉพาะผู้ที่ครอบครองที่ดินรวมกันทั้งหมด (ทั้งโฉนดที่ดินแปลงอื่นๆ และ ส.ป.ก. ที่จะถูกเปลี่ยนเป็นโฉนด) ไม่เกิน 50 ไร่\n\nปรับเงื่อนไขการเปลี่ยนมือการครอบครอง\n- ภายใน 5 ปีแรก (กรณีที่ผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินตรงกัน) หรือ 10 ปีแรก (กรณีผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ตรงกัน): โอนมรดกได้ แต่หากจะขายหรือจำนอง ต้องดำเนินการผ่านธนาคารที่ดิน\n- หลัง 5 ปีผ่านไป (กรณีที่ผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินตรงกัน) หรือ 10 ปีผ่านไป (กรณีผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับ ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ตรงกัน): ทำธุรกรรมได้เหมือนกับโฉนดที่ดินทั่วไป"},{"no":12,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินรวมแปลง","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/16fA5Huf0Le9V6toFke7vOgf8swISAB4N/view?usp=drive_link","name":"ศิริกัญญา ตันสกุล และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ไทยมีปัญหาเรื่องการกระจุกตัวของที่ดินอยู่กับคนบางกลุ่มซึ่งอาจไม่ได้เกิดการใช้สอย โดยประมาณ 80% ของที่ดินกระจุกตัวอยู่ที่คนรวยที่สุดเพียง 5% ขณะที่ 75% ของคนไทยไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ซึ่งขณะนี้ไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้บุคคลซึ่งถือครองที่ดินจำนวนมากต้องเสียภาษีสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับบุคคลที่ถือครองที่ดินจำนวนน้อยกว่า อีกทั้งภาษีที่ดินในปัจจุบันถูกคำนวณและจัดเก็บแบบแยกแปลง จึงทำให้บุคคลที่มีที่ดินหลายแปลงทั่วประเทศที่มีขนาดเล็ก อาจจ่ายภาษีที่ดินน้อยกว่าบุคคลที่มีที่ดินไม่กี่แปลงแต่มีขนาดใหญ่ ทั้งๆที่พื้นที่ที่ดินรวมทุกแปลงของแต่ละบุคคลจะเท่ากัน","solution":"พัฒนาระบบภาษีที่ดินแบบรวมแปลง\n- ประเมินฐานภาษีจากมูลค่าที่ดินทุกแปลงที่บุคคลนั้นเป็นเจ้าของ\n- ผู้มีขนาดที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ และที่ดินนั้นมีมูลค่าตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไปต้องเสียภาษี (กรณีนิติบุคคล มีที่ดิน 1 ไร่ ก็ต้องเสียภาษี) \n- อัตราภาษีเป็นไปตามบัญชีแนบท้าย แต่ไม่เกิน 1% (กรณีนิติบุคคล ให้ใช้อัตราภาษีสูงสุดในการคำนวณภาษี)\n- เมื่อคำนวณได้ภาษีที่ต้องจ่าย ให้นำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้จ่ายให้ อปท. ในปีนั้นมาลบออก จะได้จำนวนภาษีที่ต้องจ่ายจริง\n- ภาษีส่วนหนึ่งที่เก็บได้จะถูกหักออกมาเข้าธนาคารที่ดินก่อนนำส่งคืนรัฐ"},{"no":13,"title":"ร่าง พ.ร.บ. บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า (บำนาญถ้วนหน้า)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1otk2NS9b6KOyX1hq4sEYEQ-cGUiH4L8p/view?usp=drive_link","name":"เซีย จำปาทอง และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันหลักประกันสำหรับผู้สูงอายุที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอต่อการเป็นหลักประกันทางรายได้และได้รับเงินในอัตราที่แตกต่างกันไปตามอาชีพ หากผู้สูงอายุที่เคยรับราชการอาจมีหลักประกันชีวิตจากเงินบำเหน็จบำนาญ ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับราชการแต่เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคมอาจมีเงินบำนาญจากกองทุนประกันสังคมซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนกับบริษัทผู้ประกอบการแต่รัฐไม่ได้อุดหนุน และมีผู้สูงอายุอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าเกณฑ์สองข้อข้างต้นและได้รับเพียงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่รัฐบาลให้ 600 - 1,000 บาทต่อเดือน ซึ่งไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยจากสถิติด้านความยากจนและการกระจายรายได้ในปี 2564 ของ สศช. พบว่า เส้นแบ่งความยากจน (Poverty Line) ค่าเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่ 2,803 บาท ดังนั้น ประชาชนที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไปทุกคนควรมีสิทธิได้รับการดูแลจากภาครัฐอย่างถ้วนหน้าทุกคนโดยไม่มีความเหลื่อมล้ำกันระหว่างประชากรสาขาอาชีพต่างๆ","solution":"ให้มีบำนาญพื้นฐานแบบถ้วนหน้าเป็นหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุทุกคน \n- กำหนดคำนิยาม “บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า” “คณะกรรมการ” “กรรมการ” และ “รัฐมนตรี” กำหนดให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย\n- กำหนดให้บุคคลทุกคนที่มีสัญชาติไทยอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้ได้รับบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า โดยไม่ตัดสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุที่ได้รับบำนาญตามกฎหมายอื่น กำหนดให้รัฐมีหน้าที่จักบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า และกำหนดอัตราบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า ปรับเพิ่มทุก 3 ปี ตามเส้นความยากจนที่กำหนดโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ\n- กำหนดให้มีคณะกรรมการ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ โดยให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตาม พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เป็นคณะกรรมการบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า การห้ามกรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาเข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น และให้มีอำนาจหน้าที่ในการออกคำสั่งเรียกให้บุคคลผู้เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ และส่งเอกสารประกอบการพิจารณา และการตั้งอนุกรรมการเฉพาะด้านเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษา เสนอแนะทางวิชาการต่อคณะกรรมการ\n- กำหนดบทกำหนดโทษกรณีผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ กรณีผู้มีสิทธิโดยไม่สุจริต และกรณีที่รัฐจ่ายเงินบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าล่าช้า หรือไม่ครบถ้วนจะต้องจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จนกว่าจะจ่ายครบถ้วน\n- กำหนดบทเฉพาะกาลให้คณะกรรมการประกาศปรับเปลี่ยนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เป็นบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าภายใน 180 วัน หลังจาก พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ"},{"no":14,"title":"ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ลาคลอด 180 วัน)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1i2wliZDhLJDHvIaUpbcLGOUw-dPdrcNd/view?usp=drive_link","name":"วรรณวิภา ไม้สน และคณะ","status":[1,1,1,4,1,2,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันมีผู้ใช้แรงงานมากกว่า 700,000 คนที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ แต่ไม่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบคุ้มครองให้เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงทําให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวได้รับสิทธิประโยชน์ต่ำกว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานกําหนด เช่น ลาป่วยโดนหักค่าจ้าง เป็นต้น\n\nวันลาคลอดตามกฎหมายปัจจุบันให้สิทธิลาคลอดเพียง 98 วัน และมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียง 90 วัน โดยพ่อแม่ไม่สามารถแบ่งวันลากันได้ ซึ่งถือเป็นเหตุหนึ่งที่ทําให้พ่อแม่หลายคนตัดสินใจมีบุตรน้อยลง มีส่วนมาจากความกังวลในภาระค่าใช้จ่ายและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการมีบุตร","solution":"- เจ้าหน้าที่ในภาครัฐไม่ว่าจะอยู่ในราชการส่วนใด รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หากมีกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ กําหนดสิทธิประโยชน์ไว้อยู่แล้ว ให้ใช้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบนั้น โดยไม่ต่ำกว่า พรบ.คุ้มครองแรงงาน กําหนด\n- ขยายสิทธิลาเพื่อคลอดหรือเลี้ยงดูครรภ์หนึ่ง (การท้อง 1 ครั้ง) รวมไม่เกิน 180 วัน (ตามคําแนะนําขององค์การอนามัยโลก) โดยได้รับค่าจ้าง 180 วัน จากนายจ้างไม่น้อยกว่า 90 วัน และได้รับค่าจ้างพร้อมสิทธิประโยชน์อื่นจากสํานักงานประกันสังคมเพิ่มเติมอีก 90 วัน โดยวันลาดังกล่าวสามารถมอบสิทธิของตนให้บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร(บิดาและมารดาได้จดทะเบียนสมรส) หรือคู่สมรสตามกฎหมายของตนได้ไม่เกิน 90 วัน"},{"no":15,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ปลดล็อกอุตสาหกรรมผู้ใหญ่)","category":"democracy","link":"ร่างฉบับเท่าพิภพเป็นผู้เสนอ (https://drive.google.com/file/d/1NJe-sozs4LTRUjY7jtm6k8psSlFY613h/view?usp=sharing) และร่างฉบับธัญวัจน์เป็นผู้เสนอ (https://drive.google.com/file/d/1tAdzjoJE18rnPk7Oi1tBEl_Z1NyKdtYo/view?usp=sharing)","name":"เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และคณะ\nธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้ความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งเอกสารภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก หรือประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าว จ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่าวัตถุหรือสิ่งของเช่นว่านั้น หรือเพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว การโฆษณาหรือไขข่าวโดยประการใด ๆ ถือเป็นความผิดอาญา อันเป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพของบุคคลตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงสมควรใช้มาตรการตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองการประกอบอาชีพของบุคคลในการประกอบการค้าเกี่ยวกับเอกสารภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก วัตถุหรือสิ่งของลามก การโฆษณาหรือไขข่าวที่ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับบุคคลอายุต่ำกว่ายี่สิบปีหรือที่เป็นการใช้ความรุนแรงให้สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ","solution":"- แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ปลดล็อกอุตสาหกรรมผู้ใหญ่ เพื่อความประสงค์แห่งการค้า การแจกจ่าย หรือการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้า-ส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ\n- สื่อผู้ใหญ่ ห้ามมีเนื้อหาเป็นบุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี"},{"no":16,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 (ยุบ กอ.รมน.)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1j_zsTfewI6TolPLWYqtUvuqlmdlQWgyZ/view?usp=drive_link","name":"รอมฎอน ปันจอร์ และคณะ","status":[1,3,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ได้เปิดช่องให้ข้าราชการทหารมีอำนาจเหนือข้าราชการพลเรือนในภารกิจการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ ผ่านการจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่ได้ขยายอำนาจมาเป็นโครงสร้างรัฐซ้อนรัฐ ที่ยัดเยียดนิยามความมั่นคงแบบทหารมาใช้ในภารกิจความมั่นคงภายใน ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลทหารในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของผู้เห็นต่าง และที่ทำภารกิจที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานความมั่นคงอื่น รวมถึงขยายมาสู่ภารกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง (เช่น การศึกษา พลังงาน สิ่งแวดล้อม)","solution":"ยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)\n- ยกเลิก พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 51/2560 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่เกี่ยวข้องกับการมีอยู่และอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน.\n- โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกอ.รมน. ที่ถูกยุบไป มาเป็นของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย"},{"no":17,"title":"ร่าง พ.ร.บ. รับราชการทหาร (ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/123FygDde7YOE0zkrMuOorUzjzTX2SmBF/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,3,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ประเทศไทยยังมีระบบเกณฑ์ทหารที่บังคับชายไทยบางส่วนเข้ารับราชการทหารเป็นเวลา 0.5- 2 ปี แม้ในห้วงเวลาที่ไม่มีภัยสงคราม ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียทั้งในการลิดรอนเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพในระดับปัจเจกบุคคล และในการนำทรัพยากรมนุษย์ในวัยทำงานออกจากระบบเศรษฐกิจในระดับประเทศ การยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารจะไม่กระทบกับภารกิจการรักษาความมั่นคงของประเทศ หากทำควบคู่กับการลดยอดกำลังพลที่ไม่จำเป็นและการยกระดับคุณภาพชีวิตของพลทหารซึ่งจะนำไปสู่ยอดสมัครใจที่สูงขึ้น","solution":"ยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร (ในยามปกติ)\n- ในยามปกติ: คัดเลือกบุคคลเข้าเป็นทหารกองประจำการจากบุคคลที่สนใจสมัครรับราชการทหารด้วยตนเองเท่านั้น โดยเปิดให้บุคคลทุกเพศสามารถสมัครเป็นทหารกองประจำการได้\n- เปิดช่องให้คณะรัฐมนตรีตราพระราชกฤษฎีกาเรียกและตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ เฉพาะในยามที่มีเหตุปรากฎว่าประเทศอาจเผชิญสงครามในระยะเวลาอันใกล้\n\nยกระดับคุณภาพชีวิตของพลหทาร\n- ห้ามนำทหารไปทำงานรับใช้ส่วนตัว (พลทหารรับใช้) หรือกระทำการใดที่ละเมิดต่อร่างกายหรือจิตใจ\n- กำหนดให้หลักสูตรฝึกวิชาทหารต้องส่งเสริมความรู้ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน\n- สนับสนุนให้มีการทบทวนรายได้ สวัสดิการ และ สิทธิประโยชน์ของพลทหารให้เหมาะสมขึ้น\n- ปรับระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่พลทหารให้มีความยืดหยุ่นขึ้น โดยคำนึงถึงความก้าวหน้าทางอาชีพ\n\nออกแบบขั้นตอนธุรการให้ทันสมัยขึ้น\n- กำหนดให้รายละเอียดและขั้นตอนธุรการต่าง ๆ (เช่น การขึ้นบัญชีทหารกองเกิน การรับสมัครทหารกองประจำการ การปลดทหารกองประจำการ) ถูกออกแบบในระดับกฎกระทรวง เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง"},{"no":18,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ถนน","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/14eYoK5cIwGGirWrOsZ7lJUyGlLjLELu2/view?usp=drive_link","name":"สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ และคณะ","status":[1,3,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบัน ถนนในท้องถิ่นไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมทั้งในแง่ของการก่อสร้าง ปรับปรุง และบำรุงรักษา ซึ่งทำให้ประชาชนไม่มีความสะดวกสบายและปลอดภัยในการสัญจรเท่าที่ควร เนื่องจากมีความทับซ้อนกันระหว่างภารกิจของหลายหน่วยงาน มีการกระจุกอำนาจและงบประมาณไว้ที่ส่วนกลาง ขาดการวางโครงข่ายและแบ่งลำดับชั้นของถนนอย่างเป็นระบบและไม่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาเมืองที่ควรจะเป็น","solution":"บริหารจัดการถนนทุกสายทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ\n- จัดตั้ง “คณะกรรมการนโยบายถนน” เพื่อกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาโครงข่ายถนนทั่วประเทศ \n- กำหนดประเภทถนนใหม่ โดยแบ่งลำดับชั้นของถนน (ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงหลัก ทางหลวงรอง ถนนท้องถิ่นสายหลัก ถนนท้องถิ่นสายรอง) ให้สอดคล้องกับหน้าที่การใช้งาน และการบริหารจัดการที่ยึดหลักกระจายอำนาจ\n- ยุบเลิกกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ภายใน 2 ปี เพื่อกระจายภารกิจและงบประมาณไปยังกรมทางหลวง (ทล.) และท้องถิ่น (อปท.) ตามประเภทถนน\n\nยกระดับประสิทธิภาพในการจัดการเงินค่าผ่านทาง\n- จัดตั้ง “กองทุนค่าผ่านทาง” เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการจัดการเงินค่าผ่านทาง และเพิ่มช่องทางในการนำเงินงบประมาณกองทุนไปใช้ในการก่อสร้าง-ปรับปรุง-บำรุงรักษาถนน และยกระดับความปลอดภัยในการใช้ถนน\n\nยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยในการใช้ถนน\n- จัดตั้ง “คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์บนถนน” เพื่อศึกษาและออกแบบมาตรการในการป้องกันและสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติเหตุร้ายแรง และอุบัติการณ์บนถนน\n- กำหนดเพดานความเร็วให้ชัดเจนตามนิยามประเภทถนนใหม่"},{"no":19,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/12int7l44cH8qNr1V0l6D0OmcEv0fdtf_/view?usp=drive_link","name":"เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล และคณะ","status":[1,1,1,1,1,2,0,0,0,0],"detail":"แม้ระบบกฎหมายของไทยจะไม่ได้บัญญัติให้มีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ หากแต่ในทางปฏิบัติการที่กลุ่มชาติพันธุ์มีวิถีชีวิต อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่มีโอกาสเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ เหมือนกับคนทั่วไปได้จริง ในทางตรงกันข้าม กลับได้รับผลกระทบจากกฎหมายและนโยบายที่ไม่เป็นธรรมหลายเรื่อง เช่น ป่าไม้และทรัพยากร การศึกษา สถานะบุคคลและสัญชาติ","solution":"คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ฯ ตามรัฐธรรมนูญฯ และพันธกรณีระหว่างประเทศ\n- ห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติหรือสร้างความเกลียดชัง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยบุคคล หน่วยงานรัฐ \n- การออกกฎหมายและนโยบาย รวมทั้งสื่อ\n- ส่งเสริมให้ได้รับสิทธิวิถีชีวิต ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนา\n\nจัดตั้งกลไกส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ฯ\n- ตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ฯ แห่งชาติ, จังหวัด, เฉพาะเรื่อง ทำหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ในทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และภาควิชาการ\n\nประกาศพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง\n- คุ้มครองสิทธิในวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนา และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีบนฐานเศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรม\n- ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ แล้วใช้ระเบียบที่ตั้งขึ้นมาตามกฎหมายฉบับนี้แทน"},{"no":20,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (ปลดล็อกเวนคืน)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1wQb8Zq-ZoemCQTUpTs8Bx5KqmtbczgIY/view?usp=drive_link","name":"ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และคณะ","status":[1,3,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบัน อำนาจในการอนุมัติการริเริ่มกระบวนการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีโดยการออกพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น ทำให้กระบวนการเวนคืนนั้นเกิดขึ้นอย่างล่าช้า ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการอันจำเป็นในกิจการสาธารณูปโภค หรือเพื่อประโยชน์สาธารณของประชาชนได้อย่างทันท่วงทีและไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร","solution":"เพิ่มอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจ\n- กำหนดให้มีผู้มีอำนาจอนุมัติการริเริ่มกระบวนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์\nครอบคลุมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดและกรุงเทพมหานคร โดยสามารถออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนได้เอง นอกเหนือจากการออกพระราชกฤษฎีกาของคณะรัฐมนตรีเพียงฝ่ายเดียว เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินภารกิจอันจำเป็น\nเพื่อตอบสนองต่อความต้องการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น\n- “ข้อบัญญัติท้องถิ่น” หมายความว่า ข้อบัญญัติอบจ. หรือข้อบัญญัติกทม. แล้วแต่กรณี"},{"no":21,"title":"ร่าง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ (ยกเลิกเงินนอกงบประมาณกองทัพ)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1B7mRPCMdSVE-yLPbeJmw55OHOqTN5DdF/view?usp=drive_link","name":"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคณะ","status":[1,4,1,1,3,0,0,0,0,0],"detail":"กระบวนการจัดทำและตรวจสอบงบประมาณปัจจุบัน ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการประเมินสถานะทางการคลังของประเทศ รวมถึงการประเมินความคุ้มค่าและความโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณ เนื่องจากการรายงานข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน (เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายของรัฐจากการดำเนินโครงการต่างๆ ของหน่วยงาน ข้อมูลเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณบางส่วนที่มีข้อตกลงให้ไม่ถูกฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง)","solution":"เพิ่มความโปร่งใสเรื่องภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐ\n- กำหนดให้มีการรายงานยอดคงค้างของภาระการชดเชยค่าใช้จ่ายของรัฐบาลต่อสาธารณะผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงการคลัง\n- กำหนดให้มีการเปิดเผยรายงานสถานะหนี้สาธารณะ หนี้ภาครัฐ และความเสี่ยงทางการคลังต่อสาธารณะผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงการคลัง\n\nเพิ่มความโปร่งใสเรื่องเงินนอกงบประมาณทั้งหมดของรัฐ\n- ยกเลิกข้อตกลงระหว่างหน่วยงานรัฐและกระทรวงการคลังทั้งหมดก่อนหน้านี้ (เช่น ระหว่างกองทัพและกระทรวงการคลัง) ที่อนุญาตให้นำเงินนอกงบประมาณไปฝากไว้ที่หน่วยงานและบริหารจัดการเอง แทนที่จะส่งกลับมาฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง\n- ห้ามไม่ให้มีข้อตกลงระหว่างหน่วยงานรัฐและกระทรวงการคลังอีกต่อไป ในการไม่นำเงินนอกงบประมาณมาฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง - การกระทำดังกล่าวจะกระทำได้เฉพาะกรณีที่มีกฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น"},{"no":22,"title":"ร่าง พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ระเบียบราชการกลาโหม)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1X2NRZtQLj_lRwQ_cHFkLT79cKM7nS6aq/view?usp=drive_link","name":"ธนเดช เพ็งสุข และคณะ","status":[1,4,1,2,0,0,0,0,0,0],"detail":"ที่ผ่านมา ทหารและกองทัพมีอิทธิพลทางการเมืองผ่านโครงสร้างรัฐที่จัดวางอำนาจของกองทัพให้อยู่เหนือรัฐบาลพลเรือนในหลายกระบวนการตัดสินใจ (เช่น อำนาจของสภากลาโหมในการกำหนดนโยบายและพิจารณางบประมาณทางการทหาร อำนาจของบอร์ดแต่งตั้งนายพลที่ประกอบไปด้วยข้าราชการทหารเป็นส่วนใหญ่) ซึ่งขัดกับหลักการประชาธิปไตยและทำให้กองทัพอยู่ในสภาวะยกเว้นเมื่อเทียบกับหน่วยงานส่วนราชการอื่น","solution":"ตัดอำนาจของสภากลาโหมทั้งหมดที่อยู่เหนือพลเรือน\n- กำหนดให้สภากลาโหมมีอำนาจหน้าที่เหลือเพียงแค่ให้คำปรึกษาหรือเสนอความเห็นแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตามเรื่องที่กำหนด\n- ปรับให้การกระทำการหรือการตัดสินใจใดๆ ที่เคยต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากลาโหม เปลี่ยนเป็นเพียงการให้มีการเสนอความเห็นโดยสภากลาโหม\n\nปรับที่มาของสภากลาโหมให้ยึดโยงกับพลเรือนมากขึ้น\n- ลดสัดส่วนของข้าราชการทหารในสภากลาโหมลง จากเดิม 19/24 คน เหลือ 5/11 คน\n- กำหนดให้สภากลาโหมชุดปัจจุบันพ้นตำแหน่งทันที เพื่อสรรหาสภากลาโหมตามกระบวนการใหม่\n\nยกเลิกบอร์ดแต่งตั้งนายพล\n- กำหนดให้การแต่งตั้งนายพล เป็นไปตามกลไกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนด\n- กำหนดให้การแต่งตั้งนายพล ต้องยึดหลัก merit system (ระบบคุณธรรม)\n\nปรับเกณฑ์ในการจัดซื้ออาวุธ\n- เพิ่มเกณฑ์ด้านความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบ และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ \n(การถ่ายทอดเทคโนโลยี & การจ้างงาน) ในทุกการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์"},{"no":23,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางบก (กระจายอำนาจขนส่ง)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1O_nf2mSh-xxGgh2i-KBb9ZubJ6Uka5z_/view?usp=drive_link","name":"สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"ท้องถิ่นมีข้อจำกัดในการจัดทำระบบขนส่งสาธารณะตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากต้องผ่านการอนุมัติจากราชการส่วนกลาง - แม้ว่าแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจบางส่วนให้แก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด แต่ปัจจุบันยังไม่มีการแก้กฎหมายเพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจเหล่านั้น ในขณะที่องค์ประกอบของคณะกรรมการส่วนใหญ่ยึดโยงกับราชการส่วนกลางมากกว่าประชาชนในพื้นที่","solution":"เพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่นด้านขนส่งสาธารณะทางตรงและทางอ้อม\n- เพิ่มอำนาจ เทศบาล อบต. กทม. และ เมืองพัทยา ในการกำหนดเส้นทาง-จำนวนผู้ประกอบการ-อัตราค่าบริการขนส่งสาธารณะภายใน อปท. \n- เพิ่มอำนาจคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดในการ\n(1) กำหนดเส้นทาง-จำนวนผู้ประกอบการ-อัตราค่าบริการขนส่งสาธารณะระหว่าง อปท. ในจังหวัด\n(2) อนุมัติการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง \n(3) อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบรับจัดการขนส่ง \n(4) อนุมัติการออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานีขนส่ง และการบริหารจัดการสถานีขนส่ง \n- เพิ่มอำนาจนายทะเบียนประจำจังหวัด ในการ\n(1) ออกใบอนุญาตประกอบการรับจัดการขนส่ง (แทนที่นายทะเบียนกลาง) \n(2) ออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานีขนส่ง (แทนที่นายทะเบียนกลาง)"},{"no":24,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า (แข่งขันการค้า)","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1Z6bHLF2APFjGKJPpllZSlg6CVg6rYWIP/view?usp=drive_link","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ประเทศไทยมีสภาพตลาดแข่งขันที่จำกัด กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ถูกครอบงำโดยผู้เล่นไม่กี่ราย กฎหมายการแข่งขันทางการค้ามีปัญหาในการบังคับใช้ จนทำให้หน่วยงานกำกับดูแลไม่สามารถเอาผิดกับผู้ประกอบการที่ปฏิบัติทางการค้าไม่เป็นธรรมได้ แต่กลับยอมให้มีการควบรวมกิจการขนาดใหญ่ในหลายอุตสาหกรรม ทั้งห้างค้าปลีก และผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ","solution":"ปรับกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า\n- ปรับกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าให้ได้กรรมการที่มีความเชี่ยวชาญ มีที่มาที่หลากหลาย ยึดโยงกับประชาชน\n\nขยายขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า\n- ขยายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายให้ครอบคลุมความผิดด้านการแข่งขันทางการค้าของ รัฐวิสาหกิจ, ธุรกิจในอุตสาหกรรมที่มีกฎหมายกำกับดูแลเฉพาะ\n- ขยายนิยามของ “ผู้ประกอบธุรกิจ” ให้กว้างขึ้น (เช่น รวมบริษัทโฮลดิ้ง)\n- ขยายนิยามของ “อำนาจเหนือตลาด” ให้กว้างกว่าแค่เรื่องส่วนแบ่งตลาดและยอดขาย \n\nเพิ่มความโปร่งใสของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า\n- กำหนดให้กรรมการแข่งขันทางการค้า และเลขาธิการฯ ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน\n- กำหนดให้เผยแพร่คำวินิจฉัยฉบับเต็มที่มีความเห็นกรรมการรายบุคคลภายใน 15 วันหลังคณะกรรมการมีคำวินิจฉัย\n\nเพิ่มมาตรการป้องกันการฮั้ว\n- ออกโครงการ “คนฮั้ววงแตก” ที่ลดหย่อนหรือยกเว้นโทษให้กับบริษัทที่ร่วมมือกันผูกขาดหรือลดการแข่งขัน ที่ออกมามอบตัวเป็นรายแรก เพื่อทำให้บริษัทที่คิดจะฮั้วกันเกิดการระแวงกันเองจนไม่มีใครกล้าร่วมมือกัน\n\nขยายสิทธิผู้เสียหายในการฟ้องคดี\n- ขยายกรอบเวลาให้ผู้เสียหายในการฟ้องคดีจาก 1 ปี เป็น 4 ปี"},{"no":25,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต (สุราก้าวหน้า)","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1rhF4MAl7rgu0DZ_pQuqEyt0eoezVf6dX/view?usp=drive_link","name":"เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"แม้รัฐบาลประยุทธ์ได้มีการออกกฎกระทรวงชุดใหม่เกี่ยวกับการอนุญาตผลิตสุรา แต่เนื้อหาของกฎกระทรวงใหม่ยังมีหลายส่วนที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ผลิตสุรารายเล็กและรายย่อย (เช่น มาตรฐานโรงงาน ข้อกำหนดเรื่องเครื่องจักร มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม กำลังผลิตขั้นต่ำสำหรับสุราบางประเภท) ในขณะที่สถานะของการเป็นกฎกระทรวงทำให้เกิดความกังวลว่ากฎเกณฑ์อาจถูกปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่กีดกันการแข่งขันทางการค้ามากขึ้นกว่าเดิมในอนาคต","solution":"วางหลักประกันไม่ให้มีการกีดกันการแข่งขันทางการค้าในอุตสาหกรรมสุรา\n- ห้ามไม่ให้การขอใบอนุญาตผลิตสุราเพื่อการค้ามีการกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับขนาดกำลังการผลิต กำลังแรงม้าเครื่องจักร จำนวนพนักงาน ประเภทบุคคลผู้มีสิทธิขออนุญาต จำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ หรือเกณฑ์อื่นที่อาจเปิดช่องให้มีการกีดกันการแข่งขันและผู้ผลิตสุรารายย่อย\n- กำหนดให้ปรับกฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัตินี้\n- กำหนดให้ใบอนุญาตที่ออกก่อนหน้าพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงใช้ได้ต่อไป"},{"no":26,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ล้มละลาย","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/18fEykocu8-aBWMSMphNXLKD9F2hkC9u8/view?usp=drive_link","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,4,1,2,0,0,0,0,0,0],"detail":"โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อม ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจปัจจุบันและประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว ให้สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้และมีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน ทั้งนี้ ลูกหนี้ยังคงเป็นผู้บริหารกิจการตามแผนฟื้นฟูกิจการ อีกทั้งกำหนดจำนวนหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อให้สามารถร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยเพิ่มเติมกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แบบเร่งรัดเพื่อใช้เป็นทางเลือกให้แก่ลูกหนี้ อีกทั้งสมควรกำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูฐานะของลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา และให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งคุ้มครองเจ้าหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทำให้กระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น","solution":"ให้ลูกหนี้ผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) สามารถยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้สะดวกขึ้น และเพิ่มสิทธิให้ลูกหนี้บุคคลธรรมดา ยื่นขอฟื้นฟูฐานะ/ฟื้นฟูหนี้สินได้เหมือนลูกหนี้ธุรกิจด้วย เพื่อให้ลูกหนี้สามารถขอเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทุกรายพร้อมกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถูกฟ้องล้มละลายก่อนได้ ซึ่งถือเป็นสิทธิของลูกหนี้ในหลากหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว\n\nเพราะสิทธิในการขอฟื้นฟูกิจการและฟื้นฟูฐานะ จะทำให้ลูกหนี้สามารถหลุดพ้นจากวงจรหนี้สินล้นพ้นตัวได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลล้มละลาย และเพื่อหาข้อสรุปและทางออกที่เป็นธรรมกับเจ้าหนี้ทุกรายพร้อมกัน จากเดิมที่จะต้องให้ลูกหนี้เจรจากับเจ้าหนี้ทีละรายซึ่งทำให้ปัญหาหนี้สินไม่สามารถหาทางออกได้ จะทำให้ช่วยแก้ปัญหาหนี้สินให้กับเศรษฐกิจไทยที่พึ่งฟื้นตัวจากวิกฤตโควิดและกลับมาสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น"},{"no":27,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (สมรสเท่าเทียม)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1E4jz7mCuWx5850YMC_WmMMlzn909EkLo/view?usp=drive_link","name":"ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ และคณะ","status":[1,4,1,4,1,1,1,1,1,1],"detail":"ปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวหรือการสมรสระหว่างชายหญิงมิได้ให้สิทธิแก่บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมี อัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพ และเพศวิถี ที่หลากหลาย สิทธิการก่อตั้งครอบครัวเป็นสิทธิมนุษยชนที่รัฐต้องให้แก้ประชาชนทุกคน เพื่อให้คนทุกคนสามารถสร้างครอบครัว โดยมี สิทธิ หน้าที่ รับอุปการะบุตรร่วมกัน การจัดการทรัพย์สิน และอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการสมรส","solution":"แก้ไขมาตรา 1448 จากคำว่า “ชาย” “หญิง” เป็น “บุคคล”\n- จากคำว่า ชาย และ หญิง แก้ไขเป็น บุคคล เป็นคำที่ Inclusive ที่หมายรวมถึงทุกเพศ นอกจากมาตรา 1448 แล้ว ยังแก้ไขในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในมาตราอื่น ๆ ที่มีคำว่า ชาย และ หญิง ให้สอดคล้องกับมาตรา 1448 เพื่อให้การจดทะเบียนสมรสเกิดความเท่าเทียมทุกเพศ ไม่ว่าจะเป็น ชาย หรือ หญิง หรือ บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ\n\nแก้ไขคำว่า “สามี” “ภริยา” เป็น “คู่สมรส”\n- จากคำว่า สามี และ ภริยา แก้ไขเป็น คู่สมรส เพื่อการจดทะเบียนระหว่างบุคคลสองคนนั้น ได้รับ สิทธิ มี บทบาทหน้าที่ ต่อกันในฐานะคู่สมรส ไม่ว่าจะเป็นการ อภิบาลดูแลกัน การดำเนินคดีแทนในฐานะคู่สมรส สิทธิในการทำประกันชีวิต สิทธิในการรับอุปการะบุตรในฐานะคู่สมรส การจัดการทรัพย์สินร่วมกัน การลดหย่อนภาษี สิทธิของราชการในฐานะคู่สมรส รวมถึงเหตุแห่งการฟ้องหย่า (ในร่างกฎหมายดังกล่าวมีบทเฉพาะกาลเพื่อให้สิทธิ แต่ต้องมีกฎหมายโดยรวม 48 ฉบับต้องแก้ไขให้สอดคล้อง ซึ่งกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล)\n\nแก้ไขหมวดหมั้นให้เป็น “ผู้หมั้น” และ “ผู้รับหมั้น”\n- เพื่อให้บุคคลทุกเพศสามารถหมั้นได้ โดยกำหนดว่าผู้ใดเป็นผู้หมั้นหมายถึงการผู้ให้สินสอดทองหมั้นหรืออื่นใดแก่อีกฝ่าย และผู้รับหมั้นเป็นผู้รับสินสอดทองหมั้นหรืออื่นใด โดยมีเงื่อนไขว่าจะทำการสมรสกัน หากไม่มีการสมรสก็ถือว่าผิดสัญญาหมั้น\n\nแก้ไขอายุในการสมรส\n- จาก 17 ปี เป็น 18 ปี เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กสากล ซึ่งกำหนดไว้บุคคลที่อายุไม่เกิน 18 ถือว่าเป็นผู้เยาว์ เพื่อให้เยาวชนได้สิทธิการคุ้มครอง การพิจารณาคดีตามกฎหมายในฐานะผู้เยาว์"},{"no":28,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ (รองรับอัตลักษณ์ทางเพศ)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1aPynRSTjC860LsVwyk_GPZfZSLg94TI6/view?usp=drive_link","name":"ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"ระบบกฎหมายไทยกำหนดเพียงแค่ 2 เพศ ที่ให้ คำนำหน้า สิทธิเฉพาะเพศ สวัสดิการ กฎระเบียบต่าง ๆ และมาตรการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่าง เพศ ส่งผลให้ บุคคลข้ามเพศ ผู้มีความหลากหลายทางอัตลักษณ์ทางเพศ หรือ เพศกำกวม ไม่สามารถดำรงชีวิตตามอัตลักษณ์ทางเพศและการแสดงออกของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปต่างประเทศ การแสดงตัวตนเกี่ยวข้องกับเอกสารทางการเงิน และการดำเนินชีวิตที่ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกกีดกัน เป็นต้น จึงตรากฎหมายดังกล่าวเพื่อให้สิทธิประชาชนทุกคนสามารถแสดงเจตจำนงต่อรัฐได้ว่าต้องการดำเนินชีวิตในเพศใด","solution":"คำนำหน้าตามสมัครใจ\n- กำหนดให้อายุ 18 ปี เลือกใช้คำนำหน้าตามสมัครใจ นาย นางสาว และ นาม\n- อายุยังไม่ 18 ปี ต้องมีผู้ปกครองรับรอง\n- เปลี่ยนแปลงเอกสารราชการต่าง ๆ บัตรประชาชน ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง ทะเบียนบ้าน สูติบัตร และ อื่น ๆ \n- จำกัดสิทธิของผู้ที่กำลังถูกดำเนินคดี\n- การขอสิทธิใช้คำนำหน้าตามสมัครใจให้สิทธิโดยไม่มีเงื่อนไขในครั้งแรก ส่วนครั้งที่ 2 ต้องผ่านศาลพิจารณา\n\nสิทธิและสวัสดิการ\n- ให้ผู้ที่ใช้คำนำหน้าได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย กฎระเบียบ ในเพศที่แสดงเจตจำนง\n- สวัสดิการทางการแพทย์ ที่เกี่ยวกับเพศ ให้ได้รับสิทธิเดิม และสิทธิที่ข้ามเพศ \n- สิทธิในการเลือกเพศของบุคคลเพศกำกวม มิให้แพทย์ตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว \n- ไม่เสียสิทธิในการเป็นบิดา มารดา รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง\n\nความปลอดภัยและความเสมอภาค\n- การแข่งขันกีฬาที่คำนึงถึงความเสมอภาคของร่างกาย\n- การจำคุกที่เหมาะสมและปลอดภัย คำนึงถึงสภาพร่างกาย และ ความเปราะบาง\n- พื้นที่ของผู้หญิงและมาตรการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ"},{"no":29,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน","category":"local","link":"https://drive.google.com/file/d/1rI2ClrWFLo3URJb7cmFRU41M0t1gWvN8/view?usp=drive_link","name":"อภิชาติ ศิริสุนทร และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"กฎหมายเดิมไม่ได้รับรองสิทธิชุมชนในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินไว้ ส่งผลให้ชุมชนที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินร่วมกันขาดความชอบธรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ในขณะที่กระบวนการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้กับที่ดินมีข้อจำกัด เนื่องจากเงื่อนเวลาที่สั้นไปสำหรับการที่ที่ดินที่ถูกทอดทิ้งจะนับว่าเป็นการสละกรรมสิทธิ์ การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางในการดำเนินการเพื่อให้ที่ดินที่ถูกทิ้งร้างตกเป็นของรัฐ และการจำกัดหลักฐานที่สามารถนำไปใช้ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้กับที่ดินที่มีอาณาเขตติดต่อคาบเกี่ยวหรืออยู่ในเขตที่ดินของรัฐ","solution":"เพิ่มนิยาม “สิทธิชุมชน”\n- เพิ่มนิยาม “สิทธิชุมชน” ไว้ในกฎหมาย โดยสามารถกำหนดให้ชุมชนเป็นผู้ทรงสิทธิในที่ดินตามที่ได้รับอนุญาต และมีสิทธิในการดูแล รักษา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และในการเข้าถือครองและใช้ประโยชน์ร่วมกันตามวิถีชีวิตของชุมชน \n\nเพิ่มประสิทธิภาพในการนำที่ดินรกร้างมาเป็นของรัฐ\n- ลดเงื่อนเวลาของการทอดทิ้งหรือไม่ทำประโยชน์ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (ซึ่งถือว่าเป็นการสละสิทธิในที่ดินโดยเจตนา) ให้สั้นลง\n- กำหนดให้เป็นอำนาจของท้องถิ่นในการดำเนินการตรวจสอบที่ดินและยื่นคำร้องต่อศาล\n\nเพิ่มความเป็นธรรมในการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน\n- กำหนดให้ใช้หลักฐานอื่นได้ (นอกจากระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศและระวางรูปถ่ายทางอากาศ) ในการพิสูจน์ว่ามีการครองครองทำประโยชน์จริงในพื้นที่ \n- ยกเลิกการใช้คำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดของศาลเพื่อประกอบการขอออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์\n- เปิดช่องสำหรับการออกโฉนด สำหรับผู้ที่มีสิทธิตามกฎหมาย ส.ป.ก. ที่ได้รับการพิสูจน์สิทธิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว\n- ให้กระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการสอบสวนการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย"},{"no":30,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1YMO62B3yGnXSQYhoS6lvyw1AqyU9TV63/view?usp=drive_link","name":"ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และคณะ","status":[1,4,1,1,1,2,0,0,0,0],"detail":"กฎหมายเดิมไม่ได้รับรองสิทธิชุมชนในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินไว้ ส่งผลให้ชุมชนที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินร่วมกันขาดความชอบธรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ในขณะที่กระบวนการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้กับที่ดินมีข้อจำกัด เนื่องจากเงื่อนเวลาที่สั้นไปสำหรับการที่ที่ดินที่ถูกทอดทิ้งจะนับว่าเป็นการสละกรรมสิทธิ์ การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางในการดำเนินการเพื่อให้ที่ดินที่ถูกทิ้งร้างตกเป็นของรัฐ และการจำกัดหลักฐานที่สามารถนำไปใช้ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้กับที่ดินที่มีอาณาเขตติดต่อคาบเกี่ยวหรืออยู่ในเขตที่ดินของรัฐ","solution":"สำหรับโครงการจัดสรรใหม่ (ขอใบอนุญาตจัดสรรตั้งแต่ปี 2543) แก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นอำนาจของลูกบ้านเกินกึ่งหนึ่งของโครงการ สามารถรวมตัวกันเพื่อขอจัดตั้งนิติบุคคลได้เอง โดยไม่ต้องรอให้ผู้จัดสรรเรียกขอให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลแต่เพียงฝ่ายเดียว"},{"no":31,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (แก้ปัญหาหน้าบ้าน)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1xw6HZQ9fqxEcsmrP1ZGKW9Y3S7MUdUKW/view?usp=drive_link","name":"ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"อปท. ไม่สามารถแก้ไข \"ปัญหาหน้าบ้าน\" (ถนนหนทาง ขยะ น้ำท่วม ไฟส่องสว่าง) ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่อยู่อาศัยตามชุมชน หรือที่อยู่ในโครงการจัดสรรที่ขาดนิติบุคคลบำรุงรักษาได้ เพราะเป็นที่ดินเอกชน และไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์","solution":"- พื้นที่ส่วนกลาง / สาธารณูปโภคที่ประชาชนใช้สอยร่วมกัน (ถนน ไฟส่องสว่าง ฯลฯ) หลายพื้นที่ อยู่ในพื้นที่ที่เป็นที่ดินเอกชน เช่น หมู่บ้านจัดสรร หรือ ชุมชนที่เป็นโฉนดที่ดินเป็นของบรรพบุรุษ หรือบุคคลอื่นที่ไม่สามารถตามหาตัวเจ้าของฉโนดที่ดินได้ หรือเป็นที่ดินของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ใช่ที่ดินสาธารณะประโยชน์\n- ปัจจุบัน มีสัดส่วนการจัดตั้งนิติบุคคล ตามโครงการจัดสรร ไม่ถึง 10% ของโครงการจัดสรรทั้งหมด (ตัวเลขจากกรมที่ดิน) ทำให้พื้นที่ส่วนกลางขาดคนดูแลรักษา\n- เพิ่มมาตรา 6/1 เพื่อให้ อปท. มีอำนาจในการเข้าปรับปรุงสภาพในพื้นที่บนที่ดินที่มีฉโนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิ์ในการทำประโยชน์ (เช่น ที่ดินเอกชน ที่ดินจัดสรร หรือที่ดินของหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ) หากประชาชนในบริเวณโดยรอบใช้สอยประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป โดยไม่กระทบกรรมสิทธิของเจ้าของที่ดิน หากไม่มีเจ้าของที่ดินแสดงตนคัดค้านการใช้สอยประโยชน์นั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด"},{"no":32,"title":"ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1I3dQlMW5JSTDRRfbDR20JD1glurMqGmF/view?usp=drive_link","name":"เซีย จำปาทอง และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"กฎหมายคุ้มครองแรงงานในปัจจุบันมีบางบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ ผู้ใช้แรงงานไทยจำนวนมากต้องเผชิญปัญหาไม่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ กระทบต่อคุณภาพชีวิตและสวัสดิการโดยรวม ทำให้แรงงานไม่มีอำนาจต่อรองและเวลาเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างเพียงพอ","solution":"- เปลี่ยนนิยาม ลูกจ้าง” ให้ครอบคลุมทุกรูปแบบการจ้างงาน รวมถึงอาชีพไรเดอร์ ฟรีแลนซ์ และแรงงานอิสระ เพื่อให้แรงงานทุกคนได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน\n- เพิ่มบทนิยาม คำว่า \"การจ้างงานรายเดือน” เป็นการจ้างงานที่มีลักษณะเป็นงานประจำและเต็มเวลา โดยลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อันรวมถึงค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี และวันลาป่วยตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ หนึ่งเดือนหมายถึงเวลา 30 วัน\n- เวลาทำงานลูกจ้าง เมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว ต้องไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างกำหนดให้ต้องไม่เกิน 35 ชั่วโมง/สัปดาห์\n- ให้การจ้างงานในสถานประกอบการที่มีการจ้างงานรายวันและรายเดือน นายจ้างจะต้องจ้างเป็นรายเดือนทั้งหมดโดยไม่เลือกปฏิบัติ เว้นแต่ลักษณะการจ้างงานที่มีความเฉพาะ\n- ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดอย่างน้อย 2 วัน/สัปดาห์\n- ให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 120 วัน มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนได้ไม่น้อยกว่า 10 วันทำงาน/ปี และในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันลาหยุดพักผ่อนให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 10 วัน/ปีก็ได้ และอาจกำหนดโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้สำหรับลูกจ้างซึ่งยังทำงานไม่ครบ 120 วัน\n- ให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาไปดูแลบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ที่พำนักอยู่ในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยที่มีความต้องการการดูแลทางร่างกายและจิตใจ ปีละไม่เกิน 15 วันทำงาน\n- ให้คณะกรรมการค่าจ้างต้องปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มทุกปีในอัตราไม่น้อยกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ประกาศโดย สศช. หรืออัตราเงินเฟ้อตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ตามแต่ว่าอัตราใดสูงกว่า\n- แก้ไขให้การจ้างงานมีความเท่าเทียมในทุกด้าน ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ\n- ในการจ้างงานที่มีคุณลักษณะเดียวกัน ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนต่างๆ ต้องเท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยก ในกรณีที่งานมีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ"},{"no":33,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1TnEHXgcW0R_JHCy_x6AYyQog3yoDIyk9/view?usp=drive_link","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลภายใต้บริบทเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการเพิ่มช่องทางให้ภาคประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ","solution":"ยกระดับสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ\n- กำหนดหลักการให้ข้อมูลของรัฐ และข้อมูลของเอกชนที่เป็นข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ต้อง “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” (Open by Default) โดยหากจะปกปิดต้องร้องขอด้วยเหตุผลที่สมควรเท่านั้น (เช่น ข้อมูลที่ต้องลับ ข้อมูลส่วนบุคคล )\n- กำหนดรายการข้อมูลข่าวสารสาธารณะเบื้องต้นซึ่งหน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผย\n- กำหนดให้ข้อมูลถูกจัดเก็บและเผยแพร่ในรูปแบบดิจิทัลที่นำไปวิเคราะห์ต่อได้ และถูกปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน เพื่อความสะดวกของประชาชนในการตรวจสอบ \n- ประกันสิทธิประชาชนในการเข้าตรวจดู ขอสำเนา หรือยื่นคำขอให้เพิ่มรายการข้อมูลข่าวสารสาธารณะ \n\nกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่ถูกเปิดเผย\n- กำหนดมาตรฐานในการจัดเก็บและรักษาความลับของข้อมูลความลับราชการ \n- กำหนดให้ข้อมูลความลับราชการต้องถูกเปิดเผยเมื่อครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามชั้นประเภทข้อมูลความลับ \n- กำหนดมาตรฐานในการจัดเก็บและรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล\n\nออกแบบกลไกรัฐเกี่ยวกับข้อมูลสาธารณะ\n- ตั้งสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารสาธารณะขึ้นในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี \n- ให้มีคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารสาธารณะและคณะกรรมการข้อมูลความลับราชการเพื่อติดตามและตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้"},{"no":34,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 (ประมง)","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/17CMBTPDJzlamMpiPMqTwLh2KedBkhzSn/view?usp=drive_link","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,4,1,1,1,1,1,1,2,0],"detail":"พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 บางมาตราขัดต่อหลักการของอนุสัญญาประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ที่ไทยเป็นภาคีสมาชิก หรือหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในประเด็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินและสิทธิในการประกอบอาชีพของประชาชน ขาดความเสมอภาค และบังคับใช้กฎหมายโดยไม่เท่าเทียมกัน รวมทั้งมีบทกำหนดโทษที่ไม่เป็นธรรมและไม่ได้สัดส่วนกับการลงโทษในความผิดทั่วไป","solution":"อำนวยความสะดวกในการทำประมง\n- ยกเลิกการห้ามผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านทำการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง\n- แก้ไขการใช้เครื่องมือทำการประมงบางประเภท เช่น เครื่องมืออวนรุนเคย เครื่องมือโพงพาง ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการประมงจังหวัดประกาศกำหนด\n\nกระจายอำนาจการออกกฎ\n- เพิ่มอำนาจคณะกรรมการประมงจังหวัดในการกำหนดกติกาทำการประมงภายในเขต 12 ไมล์ทะเล\n- เพิ่มสัดส่วนตัวแทนท้องถิ่นและองค์กรประมงชุมชนในคณะกรรมการประมงจังหวัด และให้ นายก อบจ. เป็นประธานคณะกรรมการประมงจังหวัด\n\nปรับอัตราโทษลงให้สมเหตุสมผล\n- แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทกำหนดโทษ เพื่อกำหนดโทษทางอาญาให้เหมาะสม เป็นธรรม และได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด\n- แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการทางปกครอง ควบคู่กับการใช้โทษอาญา เพื่อกำหนดการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล"},{"no":35,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1VYBW77T6vNuqocIUKgiMKJ55GZt_N6Os/view?usp=drive_link","name":"รังสิมันต์ โรม และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"สังคมไทยที่ผ่านมาอยู่ในสภาวะที่แตกแยกทางความคิด คนในชาติเกิดการแบ่งฝ่าย เกิดความคิดที่ไม่เคารพในระบอบประชาธิปไตย มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาล จนนำไปสู่การยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 \n\nนำมาสู่การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เกิดการชุมนุมประท้วงของประชาชน เกิดการกระทำผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง มีการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม ถูกจำกัดเสรีภาพ อิสรภาพระหว่างการกล่าวหาในการดำเนินคดีอาญา จากการที่รัฐบังคับใช้กฎหมายกฎหมายที่เคร่งครัดและขาดความยืดหยุ่น \n\nแต่เมื่อคำนึงถึงการกระทำของประชาชน มีไปเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมือง อันเป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ","solution":"นิรโทษกรรมให้แก่ประชาชน เพื่อคืนโอกาสให้แก่พลเมืองของประเทศ รักษาคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในกรณีที่เป็น\n1. การกระทำใดๆ ของบุคคลที่ร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง \n2. การกระทำใดๆ ของบุคคลที่ไม่ได้ร่วมเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองอันเป็นความผิดตามประกาศของคกก. กำหนด ไม่ว่าจะกระทำทางกายภาพ หรือการแสดงความคิดเห็น ซึ่งกระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง \n\nโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 จนถึงวันที่ พรบ.นี้ใช้บังคับ\n\nและการกระทำที่ไม่ได้รับการนิรโทษกรรม ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน\n1. การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกินกว่าเหตุ ไม่ว่าจะในฐานะของผู้สั่งการหรือปฏิบัติการ ไม่ว่าจะในขั้นตอนใด ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง และการสลายการชุมนุม \n2. การกระทำความผิดต่อชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา เว้นแต่เป็นการกระทำโดยประมาท\n3. การกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113\n\nโดยคณะกรรมการที่มีอำนาจในการวินิจฉัยว่า การกระทำความผิดใดๆ จะได้รับการนิรโทษกรรมหรือไม่ และกำหนดความผิดที่มีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง ประกอบด้วย\n1. ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานคณะกรรมการ และผู้นำฝ่ายค้าน เป็นรองประธานคณะกรรมการ\n2. กรรมการที่เป็นสส. จากพรรคการเมืองที่มีรัฐมนตรี และไม่มีรัฐมนตรีอย่างละคน\n3. กรรมการที่เป็นตัวแทนของรัฐมนตรี ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และอัยการ อีกอย่างละ 1 คน\n4. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรรมการและเลขานุการ"},{"no":36,"title":"ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิด อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1iwydfVVYQX2aNcWYRNy9yQ8w3S2Fnsfx/view?usp=drive_link","name":"ชัยธวัช ตุลาธน และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เกือบ 20 ปี นับตั้งแต่ 2549 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (เสื้อเหลือง) การยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในปี 2549 การชุมของกลุ่มนปช. (คนเสื้อแดง) กลุ่ม กปปส. การรัฐประหารของพลเอกประยุทธ์ 2557 และการชุมนุมของกลุ่มเยาวชน นักเรียนนักศึกษาช่วงปี 2562 เป็นช่วงเวลาความขัดแย้งอันยาวนานของสังคมไทย มีการเปลี่ยนรัฐบาลหลายครั้ง เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งความรุนแรงต่อกันทั้งสองฝ่ายมากมาย \n\nทั้งสองฝั่งความคิด มีประชาชนถูกกล่าวหาและดำเนินคดีมากมายนับพันคดี แต่เมื่อเราคำนึงว่า บรรดาการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนต่างก็ได้กระทำไปบนเจตนาเพื่อส่วนร่วม ต่างมีความปราถนาดีต่อบ้านเมือง ต่างมีความคิดเห็นทางการเมืองเป็นของตนเอง อันเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน แต่ว่าด้วยความเห็นของสังคมไทยในเวลานั้นถูกแบ่งออกเป็นสองข้าง แต่ด้วยความมุ่งมั่นทางการเมือง หรือเหตุผลประการใดก็ตาม ได้ผลักความคิดและการกระทำของประชาชนให้มองฝั่งตรงข้ามด้วยสายตาแห่งความเกลียดชัง ความโกรธจนนำพาสู่การล้ำเส้นแบ่งแห่งเสรีภาพของกันและกันจึง\n\nเมื่อการดำเนินคดีที่เกิดขึ้น ทั้งจากการฟ้องร้องกันเอง หรือการฟ้องร้องจากเจ้าหน้าที่รัฐในเวลานั้น มีสาเหตุและเจตนาจากประเด็นทางการเมือง การใช้กระบวนการทางกฎหมาย ใช้องค์กรในกระบวนการยุติธรรมใช้ และตีความการกระทำความผิดแต่เพียงตามองค์ประกอบทางกฎหมาย โดยไม่คำนึงถึงมูลเหตุจูงใจของการกระทำอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง จึงไม่ใช่หนทางของการพาสังคมไทยออกจากปัญหาความขัดแย้ง เพราะการแสดงออกของประชาชนอันมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความขัดแย้งทางการเมือง\n\nประเทศไทยเคยนิรโทษใหญ่กว่านี้แล้ว เช่น การนิรโทษกรรมแก่ประชาชนและพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อเข้ากระบนการสร้างความปรองดองในฐานะ ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ซึ่งครั้งนั้นเป็นความขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นการทำสงคราม ใช้อาวุธต่อสู้สังหารกัน \n\nจึงเห็นว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ จะช่วยระบายความตึงเครียด ความขัดแย้งทางการเมืองที่สะสมอยู่ พร้อมที่จะปะทุเป็นความรุนแรงได้ทุกเมื่อ จึงสมควรให้มีการนิรโทษกรรมแก่ประชาชนในกรณีดังกล่าวเพื่อขจัดความขัดแย้งที่ยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบัน","solution":"- กลไกการนิรโทษกรรม กำหนดให้มี ‘คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรม’ ซึ่งในร่างฉบับนี้ เสนอให้มี 9 คน ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้แต่งตั้ง\n(1) ประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 คน\n(2) ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 1 คน\n(3) บุคคลที่ได้รับเลือกจากคณะรัฐมนตรี 1 คน\n(4) บุคคลที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกอีก 2 คน\n(5) มาจากผู้พิพากษาหรืออดีตผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม 1 คน ซึ่งมาจากการเสนอของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา\n(6) มาจากตุลาการหรืออดีตตุลาการศาลปกครอง 1 คน ซึ่งมาจากการเสนอของที่ประชุมใหญ่ศาลปกครอง\n(7) มาจากพนักงานอัยการหรืออดีตพนักงานอัยการ 1 คน ซึ่งมาจากการเสนอของศาลปกครองและอัยการเอง\n(8) และคนสุดท้าย คือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 1 คน\n\n- คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดที่มีองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย จะทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดว่ารายละเอียดของแต่ละคดี เป็นคดีที่มี “มูลเหตุจูงใจที่มาจากประเด็นการเมือง” สามารถนิรโทษกรรมได้หรือไม่ ไม่ได้ใช้มาตรา หรือฐานความผิดทางกฎหมายเป็นเกณฑ์ แต่จะพิจารณา “มูลเหตุจูงใจที่มาจากประเด็นการเมือง” เป็นเกณฑ์\n\n- จะไม่นิรโทษกรรมกรณีต่อไปนี้\n(1) การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริตผิดกฎหมาย รุนแรงเกินกว่าเหตุ ทั้งผู้สั่งการ และผู้ปฏิบัติการ\n(2) การกระทำความผิดต่อชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา เว้นแต่เป็นการกระทำโดยประมาท\n(3) การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 หรือความผิดฐานเป็นกบฎ (ผู้ที่ทำการล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ผู้ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ ผู้ที่แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครอง)"},{"no":37,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การประปาแห่งชาติ","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1gxtrHE7vbfZW6tTDXJcabTAqtKeEakz-/view?usp=drive_link","name":"ศิริกัญญา ตันสกุล และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันกิจการประปาส่วนใหญ่ของประเทศนั้นอยู่ในความดูแลของการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และการประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังขาดกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐ เพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการกำหนดนโยบายและแผนแม่บทการบริหารและพัฒนากิจการประปาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง ขาดการกำกับดูแล มาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนให้เหมาะสมแก่การอุปโภคบริโภค จึงสมควรให้มีกฎหมายเพื่อกำหนดนโยบาย มาตรฐาน การกำกับดูแล และแผนการบริหารและพัฒนาเกี่ยวกับการประปาของประเทศ เพื่อสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประชาชนได้รับบริการการประปาได้อย่างสะดวกประหยัด ปลอดภัย และทั่วถึง","solution":"- ยกเลิกการขอสัมปทานเพื่อประกอบกิจการประปา \n- เพิ่มเติมอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติในการจัดทํานโยบายและแผนบริหารและพัฒนาการประปาของประเทศ รวมไปถึงการติดตาม ดูแล ประสาน สนับสนุนและเร่งรัดการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการประปา\n- ให้มีคณะกรรมการกํากับกิจการประปา ซึ่งมีหน้าที่กํากับดูแลการประกอบกิจการประปา \n- การประกอบกิจการประปาต้องได้รับใบอนุญาต โดยอาจมีการตรา พ.ร.ฎ. ยกเว้นให้กิจการประปาบางประเภทไม่จําเป็นต้องมีใบอนุญาตก็ได้\n- การยื่นคําขอใบอนุญาตกิจการประปาขนาดเล็ก ให้ทํา ณ ที่ทําการ อปท. ที่จะตั้งสถานที่ผลิตน้ําประปา ส่วนการยื่นคําขอใบอนุญาตกิจการประปาขนาดใหญ่ ให้ทํา ณ กรมอนามัย โดยกระบวนการตรวจสอบและพิจารณาเพื่ออนุญาตจะต้องแล้วเสร็จภายใน 90 วัน\n- ให้นายก อบจ. เป็นผู้อนุญาตการประกอบกิจการประปาขนาดเล็ก และให้คณะกรรมการเป็นผู้อนุญาตการประกอบกิจการประปาขนาดใหญ่ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ถือเป็นรายได้ของหน่วยงานผู้รับชําระค่าธรรมเนียมนั้น\n- ใบอนุญาตให้มีอายุไม่เกิน 10 ปี เว้นแต่คณะกรรมการจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น แต่ต้องไม่เกิน 30 ปี\n- ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการประปาขนาดเล็กจะขยายพื้นที่การให้บริการไปยัง อปท.​ อื่น ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารท้องถิ่นแห่ง อปท. นั้นเสียก่อน และต้องได้รับอนุญาตจากนายก อบจ. อันมีเขตครอบคลุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นด้วย\n- หากพบว่าผู้รับใบอนุญาตขาดคุณสมบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาต ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจสั่งให้แก้ไขภายในเวลาที่กําหนด หากไม่แก้ไขหรือหากปล่อยให้ดําเนินกิจการต่อไป สามารถสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้\n- กรมอนามัยมีอํานาจหน้าที่ในการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ําประปาและคุณภาพการผลิตและจัดส่งน้ําประปา โดยต้องสุ่มตรวจอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง\n- ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจในการตรวจสอบกิจการ เอกสารหลักฐาน คุณภาพน้ําประปา หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องของผู้รับใบอนุญาต และมีหน้าที่รายงานต่อผู้อนุญาต ถึงการกระทําผิดหรือการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้หรือเงื่อนไขที่กําหนดในใบอนุญาต\n- ให้ผู้รับสัมปทานประกอบกิจการประปาก่อนที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับเป็นผู้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. นี้ และให้ใบอนุญาตมีอายุเท่ากับอายุสัมปทานที่เหลืออยู่ แต่ไม่เกิน 30 ปี"},{"no":38,"title":"ร่าง พ.ร.บ. โคนมและผลิตภัณฑ์นม","category":"local","link":"https://drive.google.com/file/d/1nwuvQyC4_NrETzK823Xt8n-w7xitScKx/view?usp=drive_link","name":"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"พ.ร.บ. โคนมและผลิตภัณฑ์โคนม พ.ศ. 2551 ที่ใช้บังคับอยู่ ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงสมควรให้มีการเพิ่มบทนิยาม แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบ และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม รวมถึงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานที่แต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายนี้","solution":"- เพิ่มบทนิยามคําว่า “ผู้แทนเกษตรกรโคนม” โดยให้มีความหมายว่าเกษตรกรโคนมที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์กับกรมปศุสัตว์และได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนของเกษตรกรโคนมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด\n- แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม โดยกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมมีความเชื่อมโยงกับตัวแทนทางการเมืองในฐานะผู้กําหนดนโยบายในภาพรวม ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและที่มาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยกําหนดให้มีสัดส่วนจากผู้แทนเกษตรกร โคนม และผู้แทนสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่มีความเชื่อมโยงกับภาคประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมมากขึ้น\n- แก้ไขเพิ่มเติมการประชุมของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม โดยกําหนดจํานวนครั้งของการประชุมในแต่ละปี รวมถึงสาระของการประชุมในแต่ละครั้ง\n- แก้ไขเพิ่มเติมอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมให้มีความครอบคลุมและโปร่งใสยิ่งขึ้น การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมีองค์ประกอบและที่มาของคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางาน ที่ประกอบไปด้วยผู้แทนที่เกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วนและกําหนดให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมต้องจัดทํารายงานการประชุม รายงานผลการดำเนินงานประจําปี และข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนและโครงสร้างราคานมและผลิตภัณฑ์นม โดยให้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชนภายในระยะเวลาที่กําหนด รวมถึงให้เผยแพร่รายงานการประชุมและรายงานผลการดําเนินงานของคณะอนุกรรมการภายในระยะเวลาที่กําหนดด้วยเช่นกัน"},{"no":39,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (คุ้มครองสิทธิจำเลย)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1BBlwhfrq72Tm2t3rIitZWtywK6fHBwmN/view?usp=drive_link","name":"เอกราช อุดมอำนวย และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจากรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในหลายประการเกี่ยวกับการจับกุม อันเป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา รวมถึงจำเลย เป็นปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการไม่มีกฎหมายกำหนดสิทธิการมีทนายความของผู้ถูกจับในขณะจับกุม โดยที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในปัจจุบัน มิได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ และระยะเวลาในการให้สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความแก่ผู้ถูกจับในทันทีท่ีมีการจับกุม ส่งผลกระทบต่อการรับรองและคุ้มครองสิทธิการมีทนายความของผู้ถูกจับ อีกทั้ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89/1 และมาตรา 89/2 เรื่องการให้สิทธิจำเลยในการถูกคุมขังในสถานที่อื่น หรือ การให้จำเลยรักษาพยาบาล ดูแลครรภ์ หรือจำลบที่ป่วย มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่า ไม่มีการนําเอามาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้ให้เกิดผลได้จริง\n\nกฎหมายยังไม่ได้กําหนดประเภทหรือลักษณะของความผิดที่ห้ามมิให้นํามาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้ ซึ่งปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายนี้เป็นการเปิดช่องให้ศาลใช้ดุลพินิจมากจนเกินไป อันเป็นเหตุให้ในทางปฏิบัติศาลไม่นํามาตรการดังกล่าวมาใช้บังคับเลย นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้าน ดุลยพินิจในการรับฟ้องของศาล กรณีฟ้องจำเลย ณ ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกในคดีอื่น เมื่อพนักงานอัยการรับสำนวนคดีไปพิจารณาสั่งฟ้อง ณ ภูมิลำเนาที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่นั้น ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจไม่รับชำระคดีดังกล่าวได้ โดยกำหนดให้ไปยื่นฟ้องต่อศาลในท้องที่ที่ความผิดเกิด กระบวนการยุติธรรมจึงไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน","solution":"- การกำหนดให้ผู้ถูกจับมีสิทธิพบและปรึกษาทนายความได้ในทันทีที่ถูกจับกุม และกำหนดให้ผู้ถูกจับหรือถูกควบคุมตัวมีสิทธิร้องขอพบและปรึกษาทนายความได้ทันทีตั้งแต่เริ่มการจับกุมและการควบคุมตัว\n- กรณีจำเลยมีที่อยู่ในเรือนจำที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น จำเลยมีสิทธิยื่นขอและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สมัครใจ และได้ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร ศาลที่ชำระคดีมีคำสั่งให้นำวิธีการประชุมทางจอภาพมาใช้ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึง เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้เสียหาย พยานและจำเลยในคดีอาญา ให้การพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่า การประชุมทางจอภาพมาใช้จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ตนเอง จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยุติการพิจารณาคดีนั้นเสียก็ได้ และจะร้องขอให้นำวิธีการประชุมทางจอภาพมาใช้ในคดีดังกล่าวอีกไม่ได้\n- เพิ่มสิทธิของจำเลยเขียนระบุว่า ในการยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีการควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือผู้กระทําความผิดด้วยวิธีอื่นนอกจากการจําคุกในเรือนจํา ให้เจ้าพนักงานคํานึงถึงเหตุจําเป็น ซึ่งรวมถึงเหตุจําเป็นของรัฐ หรือเหตุจําเป็นของตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย ดังตอไปนี้\n(1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยเจ็บป่วยและต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง\n(2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีอาการป่วยทางจิต\n(3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีครรภ์\n(4) เหตุจําเป็นอื่น เมื่อศาลเห็นว่าการควบคุมตัวในเรือนจําอาจทําให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ต้องหาหรือผู้กระทําความผิด"},{"no":40,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ยกเลิก ม.272)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1AU0i0yjoX-xNKByQ7v42JIkfO6GYGtGV/view?usp=sharing","name":"ชัยธวัช ตุลาธน และคณะ","status":[1,4,3,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจากมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา 250 คนที่มาจากการแต่งตั้ง มีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คนที่มาจากการเลือกตั้ง โดยผู้ได้รับเลือกนายกรัฐมนตรีจะต้องได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน เป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย ทั้งที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ของประเทศไทยและที่เป็นการปฏิบัติโดยทั่วไปในประเทศอื่นที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นการเปิดช่องให้ประเทศมีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากเสียงข้างมากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุดในประเทศ ซึ่งทำให้ทั้งขาดความชอบธรรมและอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศ","solution":"- ยกเลิกมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560"},{"no":41,"title":"ร่างข้อบังคับประชุมสภาผู้แทนราษฎร (สภาก้าวหน้า)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1-gPpHgUyohRD6cXo040n0vlUC9UNcKFK/view?usp=sharing","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,4,3,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันกลไกที่เกี่ยวข้องกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรยังมีหลายส่วนที่สามารถปรับปรุงเพิ่มเติมได้ เช่น ความยากในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสภาฯ และข้อมูลที่เปิดเผยมักไม่อยู่ในรูปแบบที่ถูกนำไปตรวจสอบได้ง่าย ความล่าช้าในการผลักดันกฎหมาย การใช้ดุลพินิจมากเกินไปวินิจฉัยว่าญัตติใดด่วนหรือไม่ และพื้นที่และกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับสภาฯ ยังน้อยมาก เป็นต้น จึงทำให้สภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร","solution":"- สภาฉับไว: ตัดกลไกที่ทำให้การพิจารณากฎหมายล่าช้าโดยไม่จำเป็น\n- สภามีความหมาย: เพิ่มกระทู้ถามสดนายกฯ โดยผู้นำฝ่ายค้านและ สส. \n- สภาเข้มแข็ง: ให้ กมธ. ที่สำคัญต่อการตรวจสอบมีประธานเป็นฝ่ายค้าน\n- สภาเปิดเผย: ถ่ายทอดสดประชุม กมธ. + เปิดข้อมูลแบบวิเคราะห์ต่อได้\n- สภาดิจิทัล: จัดทำระบบติดตามสถานะร่างกฎหมายและข้อปรึกษาหารือ\n- สภายุติธรรม: ลดดุลพินิจประธานสภาฯ ในการวินิจฉัยญัตติด่วน\n- สภาเสมอภาค: กำหนดไม่ให้มีการอภิปรายที่ยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ\n- สภาประชาชน: fast-track กฎหมายประชาชน + เพิ่มสิทธิเสนอญัตติ\n- สภาสากล: แปลกฎหมายทุกฉบับเป็นภาษาอังกฤษ เชื่อมประชาคมโลก"},{"no":42,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (EIA เท่าเทียม)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1ThWl4KK5bdI0cBByruzSDkwoquvPCzpZ/view?usp=sharing","name":"เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และคณะ","status":[1,3,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานทำให้บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน อีกทั้งยังพบว่าในหลายกรณี ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นมักจะเกิดขึ้นระหว่างรัฐกับเอกชนหรือเอกชนกับเอกชนที่ไม่ได้มีสถานะเท่าเทียมกัน ขาดอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งโอกาสในการการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม จนเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันในทางกฎหมาย ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงบทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าวให้มีมาตรการที่เป็นธรรมในการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนทุกคนอย่างแท้จริงและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย","solution":"- นำเงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อมมาใช้เยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากภยันตรายที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษหรือภาวะมลพิษ ที่เกิดจากกิจการ/โครงการที่ริเริ่มหรือดำเนินการโดยส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ\n- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กำหนดหลักเกณฑ์การชดเชยเยียวยาความเดือดร้อนหรือความเสียหาย ให้กับผู้ได้รับความเสียหายจากโครงการที่ขอรับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นเงื่อนไขในการอนุญาตโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 48 ด้วย\n- โครงการ/กิจการ/การดำเนินการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเป็นโครงการที่มีหรืออาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย หรือส่วนได้เสียของประชาชนหรือชุมชนอย่างรุนแรงนั้น ต้องจัดทำประกันภัยความรับผิดในความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม"},{"no":43,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1oqX0TD34-rQbBymjH5zqoqS5DxXSH6vE/view?usp=sharing","name":"เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และคณะ","status":[1,4,1,1,1,2,0,0,0,0],"detail":"กฎหมายว่าด้วยการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปัจจุบัน มีบทบัญญัติหลายประการที่จํากัดสิทธิของผู้ประกอบการในการจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกําหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะจํากัดสิทธิโดยเด็ดขาดซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในภาพรวมและไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาสังคมที่อาจเกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างแท้จริง อีกทั้ง ยังควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้ระบบคณะกรรมการอันอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจและขอบอํานาจในการพิจารณาและวินิจฉัยในเรื่องต่าง ๆ จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้สามารถป้องกันปัญหาสังคมจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยไม่ให้จํากัดสิทธิประกอบอาชีพของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินสมควร และเพื่อแก้ปัญหาสังคมและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสามารถดําเนินไปได้โดยสอดคล้องกัน","solution":"- ยกเลิกบทนิยามคําว่า “คณะกรรมการ” “คณะกรรมการควบคุม” “สํานักงาน” “พนักงานเจ้าหน้าที่” “ผู้อํานวยการ” และ “อธิบดี”\n- แก้ไขเพิ่มเติมให้ รมว.สธ. รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้\n- ยกเลิก หมวด 1 หมวด 2 และหมวด 3 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551\n- แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ผลิตหรือนําเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดให้มีบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคําเตือนสําหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนําเข้า \n- แก้ไขเพิ่มเติมสถานที่หรือบริเวณที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ \n- ยกเลิกเรื่องการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันหรือเวลาที่รัฐมนตรีประกาศ กําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ\n- แก้ไขเพิ่มเติมการห้ามไม่ให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มโดยใช้เครื่องขายอัตโนมัติที่ไม่สามารถยืนยันตัวตนผู้ซื้อได้\n- ยกเลิกการห้ามไม่ให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มโดยการลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย\n- แก้ไขเพิ่มเติมการห้ามไม่ให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มโดยวิธีหรือลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด\n- แก้ไขเพิ่มเติมการห้ามไม่ให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร โรงแรม หรือการจัดเลี้ยง ตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมาย\n- ยกเลิกการห้ามไม่ให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป\n- แก้ไขเพิ่มเติมการห้ามไม่ให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด\n- แก้ไขเพิ่มเติมโดยห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการผลิตหรือจําหน่าย โฆษณา หรือแสดงชื่อ หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี \n- แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือญาติ คณะบุคคลหรือองค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการบําบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจขอรับการสนับสนุนเพื่อการบําบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพจากกรมควบคุมโรคได้ \n- ยกเลิกบรรดาความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ที่ให้คณะกรรมการควบคุมมีอํานาจเปรียบเทียบปรับ"},{"no":44,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (แก้กฎหมายไม่ตีเด็ก)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1x3dWVL_R5AEf4q-L9G3mmiZj19PWgYuq/view?usp=sharing","name":"ณัฐวุฒิ บัวประทุม และคณะ","status":[1,4,1,4,1,1,1,1,1,2],"detail":"ปัจจุบันการกระทำทารุณกรรมหรือทําร้ายร่างกายหรือจิตใจของบุตรอันเกิดขึ้น จากอํานาจผู้ปกครองหรือผู้ดูแลดูแลเด็กเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนส่งผลต่อการบาดเจ็บหรือได้รับความเจ็บปวดทุกข์กายทุกข์ใจ พัฒนาการของเด็กจนถึงขนาดบางครั้งเด็กถูกลงโทษด้วยความรุนแรงถึงขนาดเสียชีวิตโดยส่วนหนึ่งมาจากบทบัญญัติของกฎหมายที่ได้บังคับมาเป็นระยะเวลานานดังเช่นใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (2) ที่กำหนดให้ผู้ใช้อํานาจปกครองมีสิทธิทําโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนเปิดช่องลงโทษบุตรได้อย่างไม่จำกัดวิธีการ ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และการที่ประเทศไทยได้รับและให้คำมั่นโดยสมัครใจที่จะปฏิบัติตามภายใต้กลไก Universal Periodic Preview (UPR) รอบที่ 2 (พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2563) ที่ได้รับคํามั่นว่าจะปรับแก้กฎหมายและควบคุมบทลงโทษด้วยความรุนแรงต่อบุตรด้วยสําคัญของปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายจิตใจหรือพัฒนาการของเด็กรายบุคคลและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงของประเทศชาติในระยะยาว","solution":"แก้ไข ปพพ. มาตรา 1567 (2) ปี พ.ศ. 2519 ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวได้กล่าวไว้ว่าบิดา มารดามีสิทธิที่จะลงโทษเพื่ออบรมสั่งสอน “ตามสมควร” สิ่งนี้ทำให้เห็นว่านี่คือช่องว่างทางกฎหมายที่ทําให้การลงโทษเด็กยังคงมีอยู่ในรูปแบบเพื่ออบรมสั่งสอน ดังนั้น มาตรานี้ในกรอบกฎหมายไทยนั้นถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการขัดขวางไม่ให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายตามพันธกิจที่จะขจัดการลงโทษเด็กในทุกรูปแบบ ประโยคนี้ควรมีการยกเลิกและแก้ไขโดยการลบวรรคที่กล่าวถึงการลงโทษเด็กเพื่ออบรมสั่งสอน โดยเปลี่ยนจากข้อความเดิมเป็น “ทําโทษบุตรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนตามสมควร แต่ต้องไม่เป็นการกระทําทารุณกรรม หรือทําร้ายร่างกายหรือจิตใจ ไม่เป็นการเฆี่ยนตี หรือทําโทษอื่นใดอันเป็นการด้อยค่า” เพื่อเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยหวังว่าทุกท่านจะแสดงถึงความตั้งใจในการปกป้องเด็กทุกคนจากความรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงในครอบครัว"},{"no":45,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (คุกคามทางเพศ)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1I9a9RnpFqNTZs9J9aLttTNei4I2iNcYS/view?usp=sharing","name":"ภคมน หนุนอนันต์ และคณะ","status":[1,4,1,4,1,2,0,0,0,0],"detail":"ปัญหาการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของการสร้างความรุนแรงทางเพศ และเป็นจุดเริ่มต้นของการกระทําผิดทางเพศอันนําไปสู่ปัญหาข่มขืน กระทําชําเราหรือปัญหาอนาจารและความผิดเกี่ยวกับเพศอื่นๆ ที่ร้ายแรงตามมา ภายใต้สิทธิความเป็นธรรมทางเพศ การคุกคามทางเพศ ถือเป็นปัญหาอีกรูปแบบหนึ่งของการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ และเป็นปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ในทุกๆ ที่ ทุกเวลาในสังคม และเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกระเทือนทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ถูกกระทําเป็นอย่างมาก จึงต้องตรากฏหมายขึ้นให้ได้มาตรฐานและสอดรับกับแนวทางป้องกันปัญหาทางเพศในสังคม","solution":"- มีการบัญญัติความหมาย “คุกคามทางเพศ” หมายถึง การกระทําอันไม่พึงปรารถนาทางเพศ การร้องขอที่ไม่พึงปรารถนาเพื่อความต้องการทางเพศต่อผู้ถูกคุกคาม หรือการกระทําอื่นที่ไม่พึงปรารถนาอันเกี่ยวกับเรื่องทางเพศที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกคุกคาม ซึ่งในสถานการณ์นั้นๆ บุคคลทั่วไปอาจคาดหมายได้ว่า เป็นการคุกคามผู้ถูกกระทํา ทําให้ผู้ถูกกระทําอับอาย เสื่อมเสียเกียรติ หรือทําให้ผู้ถูกกระทํากลัว\n- เพิ่ม มาตรา 39 แห่งประมวลกฎหมายอาญา “คำสั่งงดเว้นการกระทำการ” หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะคุ้มครองผู้อื่นจากการถูกคุกคาม รบกวน ข่มขู่ สร้างความเดือดร้อนรำคาญโดยการกระทำของผู้ถูกฟ้อง ศาลอาจสั่งห้ามผู้นั้นไม่ให้กระทำการใดๆ ตามที่ระบุไว้ในคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด\n- กำหนด “บทลงโทษ” เป็นระดับความผิด เช่น \n1) กระทําการคุกคามทางเพศโดยเฝ้าติดตาม \n2) กระทําการคุกคามทางเพศโดยกระทํากับเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี \n3) กระทําการคุกคามทางเพศโดยอาศัยความไว้วางใจหรือสภาพของผู้ถูกกระทํา หรือตําแหน่งหน้าที่ อาศัยเหตุที่ผู้กระทํามีอํานาจเหนือผู้ถูกกระทํา อันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอํานาจเหนือ หรือความรับผิดชอบของผู้กระทําในการประพฤติผิดทางเพศ\nต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ\n- มีการเพิ่ม “โทษการคุกคามทางเพศ” ผ่านช่องทางการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นหวาดกลัว รู้สึกถูกคุกคาม รู้สึกถูกข่มขู่ เกิดความกังวลใจ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมื่น ถูกเกลียดชัง ได้รับความอับอาย หรือความเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"},{"no":46,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ประกันชีวิต","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1vwABSo_1nUfcGy9mjILGqXB8pB2xllVs/view","name":"ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบันบทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัทในการกำหนดแบบและข้อความ และอัตราเบี้ยประกันภัยในกรมธรรม์ประกันภัย ไม่เหมาะสมแก่การประกอบธุรกิจประกันภัย จำกัดทางเลือกผู้เอาประกันภัยในการจัดการเบี้ยประกันภัยเกินจำเป็น สมควรแก้เพิ่มเติมให้การประกอบธุรกิจประกันภัยมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และเพิ่มมาตรการคุ้มครองผู้เอาประกันภัย รวมทั้งยกระดับนักคณิตศาสตร์ประกันภัยผู้มีบทบาทสำคัญในธุรกิจประกันภัยให้มีศักยภาพสูงขึ้น","solution":"เพื่อปลดล็อกมูลค่าเงินสด (CV) ให้ผู้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถเลือกได้ว่าจะซื้อแบบมีหรือไม่มีมูลค่าเงินสด (CV) ก็ได้ กรณีเลือกซื้อแบบไม่มีมูลค่าเงินสด (CV) จะทำให้เบี้ยประกันถูกลงครึ่งหนึ่ง\n- แก้ไขเพิ่มเติมให้บริษัทสามารถกำหนดแบบและข้อความของกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยไม่รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย หรือรับกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จจากผู้รับประกันภัยได้\n- แก้ไขเพิ่มเติมให้บริษัทสามารถกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยกรณีที่เป็นการประกันภัยแบบกลุ่มหรือการประกันภัยในลักษณะเดียวกันหรือเป็นการประกันภัยแบบอื่นที่นายทะเบียนอนุญาตได้\n- แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย"},{"no":47,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 8/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการบริหารงานส่วนบุคคลท้องถิ่น ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (ยกเลิกคำสั่ง คสช. การคัดเลือกบุคลากรท้องถิ่น)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1IeqxiPhXh6BchhqGqLZkVyyjkmYQn_4L/view?usp=sharing","name":"วรภพ วิริยะโรจน์ และคณะ","status":[1,4,1,4,1,1,1,3,0,0],"detail":"คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 8/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูป การบริหารงานส่วนบุคคลท้องถิ่น ได้ออกใช้บังคับโดยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ประกอบกับมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากได้มีการประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และมีบทบัญญัติที่ขัดกับหลักการกระจายอำนาจของการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างชัดเจน","solution":"ยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ 8/2560 ที่รวบอำนาจงานบริหารบุคคลจากท้องถิ่นเข้าสู่ส่วนกลาง ให้ท้องถิ่นกลับมามีอำนาจการจัดสรรคัดเลือกตามกฎหมายเดิม ก่อนมีคำสั่ง คสช."},{"no":48,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1iDwSracJcwqk53AB2xBtHcximwD68vP4/view","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,4,1,1,1,1,2,0],"detail":"เนื่องจากในปัจจุบัน พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 มีบางส่วนที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ เช่น การกําหนดกติกาให้เป็นธรรมมากขึ้น การอํานวยความสะดวกให้ประชาชนมากขึ้นในการใช้สิทธิออกเสียงประชามติและในการเข้าชื่อเสนอประชามติ และการอํานวยความสะดวกให้หน่วยงานมากขึ้นในการจัดการออกเสียงประชามติ เป็นต้น","solution":"- กําหนดเกณฑ์การกําหนดวันออกเสียงประชามติและเพิ่มความยืดหยุ่นในการกําหนดวันออกเสียงประชามติให้สอดคล้องกับวันเลือกตั้งของการเลือกตั้งอื่น ๆ ได้\n- กําหนดผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการดําเนินการ ในกรณีที่มีการออกเสียงประชามติในวันเดียวกับวันเลือกตั้งของการเลือกตั้งอื่น ๆ\n- กําหนดวันออกเสียงประชามติให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติม\n- กําหนดให้การเชิญชวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อให้ร่วมเข้าชื่อและการร่วมเข้าชื่อเพื่อเสนอให้มีการออกเสียงประชามติสามารถกระทําผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้\n- แก้ไขเงื่อนไขการออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทําประชามติ\n- แก้ไขลักษณะการจัดทําและการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะมีการออกเสียงประชามติให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติม\n- เพิ่มความยืดหยุ่นในการกําหนดเขตออกเสียงประชามติ\n- กําหนดให้หน่วยออกเสียงและที่ออกเสียงประชามติสอดคล้องกับหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งของการเลือกตั้งอื่น ในกรณีที่พื้นที่ใดมีการเลือกตั้งอื่นในวันเดียวกันกับการออกเสียงประชามติ\n- กําหนดผู้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตออกเสียงประชามติ\n- กําหนดให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้"},{"no":49,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1SBbktzLwBd2IAIkhabBe1qkRW8Erhv3c/view?usp=drive_link","name":"รอมฎอน ปันจอร์ และคณะ","status":[1,4,1,4,1,1,1,1,1,2],"detail":"คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 14/2559 ได้งดใช้บังคับ พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 บางมาตรา โดยเฉพาะการยุติบทบาทของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาทำหน้าที่แทน โดยสมาชิกมีที่มาจากจากการเสนอของหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะ กอ.รมน. และตัดทอนบทบาทที่เคยเป็นของสภาที่ปรึกษาฯ เดิมลง กฎหมายฉบับนี้จึงมุ่งยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและฟื้นฟูสถานะและบทบาของสภาที่ปรึกษาฯ และยังจำกัดบทบาทของ กอ.รมน. ในภารกิจเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้อยู่ภายใต้การร้องขอจากหน่วยงานพลเรือนและได้รับความเห็นชอบจากสภาที่ปรึกษาฯ","solution":"- ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 14/2559 ยุติบทบาทของคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนา จชต. และฟื้นฟูสถานะและบทบาทของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนา จชต.\n- กำหนดให้ กอ.รมน.มีอำนาจเพียงการสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กรที่มีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามที่ได้รับการร้องขอและได้รับความเห็นชอบจากสภาที่ปรึกษาฯ"},{"no":50,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ภาพยนตร์","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1u_j3xHoXB604qvQ_r6RyHqLPTy4Mjkb4/view?usp=sharing","name":"อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"กฎหมายเดิมมีบทบัญญัติบางส่วนไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และจำกัดเสรีภาพเกินสมควรจนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทย เพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ จึงเห็นสมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว โดยกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการภาพยนตร์แห่งชาติให้มีภาคส่วนอื่นนอกเหนือจากภาครัฐได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทย และเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่บางประการของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์แห่งชาติ ยกเลิกการกำหนดประเภทภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ ปรับเกณฑ์อายุผู้ชมภาพยนตร์ เพื่อลดอำนาจการควบคุมจากภาครัฐ ปรับมาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก ยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการวีดิทัศน์ซึ่งหมดความจำเป็นในปัจจุบัน และยกเลิกโทษทางอาญา โดยให้ใช้มาตรการปรับทางพินัยแทน เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมมากกว่าการควบคุม และสนับสนุนเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงสื่อภาพยนตร์ได้กว้างขวางมากขึ้น","solution":"1. สนับสนุนการเปิดกว้างทางความคิดสร้างสรรค์\n- ยกเลิกเรื่องอื่นๆ ใน พ.ร.บ. ที่ส่งผลต่อเสรีภาพ และสนับสนุนการเปิดกว้างทางความคิดสร้างสรรค์\n2. การปรับโทษทางอาญา\n- ปรับลดอายุในเรตต่างๆ และปรับโทษทางอาญาให้เป็นการลงโทษในลักษณะอื่นๆ\n3. สัดส่วนของคณะกรรมการ\n- ปรับโครงสร้างคณะกรรมการภาพยนตร์ จากเดิมส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ เปลี่ยนให้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์เป็นคณะกรรมการแทน\n4. การจัดเรตติ้ง\n- ปรับรูปแบบการจัดระดับความเหมาะสม (เรตติ้ง) จากเดิมที่เรตสูงสุดคือการกำหนดผู้ชมอายุ 20 ปีขึ้นไป ปรับเป็นอายุ 18 ปีขึ้นไป\n5. กองถ่ายที่เข้ามาถ่ายภายในประเทศ\n- ลดบทบาทการควบคุมจากรัฐสำหรับกองถ่ายที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย จากเดิมต้องขอตรวจบทและตรวจรายละเอียดอย่างเข้มงวด เปลี่ยนเป็นเพียงแค่การยื่นจดแจ้งแทน\n6. โรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก\n- เดิมกำหนดว่าโรงภาพยนตร์ทุกประเภทต้องขอใบอนุญาตการทำกิจการ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้กำหนดให้โรงภาพยนตร์ขนาดเล็กหรือโรงภาพยนตร์ชุมชนขนาดไม่เกิน 50 ที่นั่ง ใช้เพียงแค่การจดแจ้งเท่านั้น ไม่ต้องขออนุญาต"},{"no":51,"title":"ร่าง พ.ร.บ. รับราชการทหาร (ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร [ฉบับไม่เป็นร่างการเงิน])","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1-qAsZTIL7lZOggRk7A8TbsnMgKF0HGQO/view","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ประเทศไทยยังมีระบบเกณฑ์ทหารที่บังคับชายไทยบางส่วนเข้ารับราชการทหารเป็นเวลา 0.5-2 ปี แม้ในห้วงเวลาที่ไม่มีภัยสงคราม ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียทั้งในการลิดรอนเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพในระดับปัจเจกบุคคล และในการนำทรัพยากรมนุษย์ในวัยทำงานออกจากระบบเศรษฐกิจในระดับประเทศ การยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารจะไม่กระทบกับภารกิจการรักษาความมั่นคงของประเทศ หากทำควบคู่กับการลดยอดกำลังพลที่ไม่จำเป็นและการยกระดับคุณภาพชีวิตของพลทหารซึ่งจะนำไปสู่ยอดสมัครใจที่สูงขึ้น","solution":"ยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร (ในยามปกติ)\n- ในยามปกติ: คัดเลือกบุคคลเข้าเป็นทหารกองประจำการจากบุคคลที่สนใจสมัครรับราชการทหารด้วยตนเองเท่านั้น โดยเปิดให้บุคคลทุกเพศสามารถสมัครเป็นทหารกองประจำการได้\n- เปิดช่องให้คณะรัฐมนตรีตราพระราชกฤษฎีกาเรียกและตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ เฉพาะในยามที่มีเหตุปรากฎว่าประเทศอาจเผชิญสงครามในระยะเวลาอันใกล้\n\nยกระดับคุณภาพชีวิตของพลหทาร\n- ห้ามนำทหารไปทำงานรับใช้ส่วนตัว (พลทหารรับใช้) หรือกระทำการใดที่ละเมิดต่อร่างกายหรือจิตใจ\n- กำหนดให้หลักสูตรฝึกวิชาทหารต้องส่งเสริมความรู้ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน\n- ปรับระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่พลทหารให้มีความยืดหยุ่นขึ้น โดยคำนึงถึงความก้าวหน้าทางอาชีพ\n\nออกแบบขั้นตอนธุรการให้ทันสมัยขึ้น\n- กำหนดให้รายละเอียดและขั้นตอนธุรการต่าง ๆ (เช่น การขึ้นบัญชีทหารกองเกิน การรับสมัครทหารกองประจำการ การปลดทหารกองประจำการ) ถูกออกแบบในระดับกฎกระทรวง เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง"},{"no":52,"title":"ร่าง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1d59JLC1mW4vIkcLCzWEtljMAk8jzEo6c/view","name":"เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจากกฎหมายยาเสพติดไม่ได้กำหนดให้กัญชา กัญชง เป็นยาเสพติด ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงการปลูก ผลิต ใช้กัญชา กัญชง เช่นเดียวกับพืชโดยทั่วไป การปลูกและผลิตจึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนเทียบเท่ากับการปลูกพืชโดยทั่วไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงไม่อาจปฏิบัติต่อประชาชนที่ปลูก ผลิต ใช้กัญชา กัญชงตามวิถีของชุมชนในลักษณะที่แตกต่างจากพืชทั่วไปได้ กฎหมายฉบับนี้จึงรักษาสิทธิพื้นฐานของประชาชนในการเข้าถึง ปลูก ผลิต ใช้ตามวิถีของชุมชนได้อย่างมีเสรีภาพ โดยไม่ถูกกีดกันจากหน่วยงานรัฐ สถาบันวิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นๆ ที่เข้าถึงการปลูก ผลิต ใช้ตามวิถีชุมชน\n\nกฎหมายฉบับนี้ยังมุ่งเน้นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีการใช้กัญชา กัญชง ได้อย่างเหมาะสม การดำเนินการเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูปใดๆ จากกัญชา กัญชง ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการผลิต แปรรูปกัญชา กัญชง ซึ่งมีมาตรการให้ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นอยู่แล้ว ข้อกำหนดในกฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดการวิจัย พัฒนา การรักษา พัฒนาสายพันธุ์ท้องถิ่น และการกระจายประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนมาตรการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ใช้กัญชา กัญชง อย่างเหมาะสม","solution":"ร่างกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่\n1. ครัวเรือนสามารถปลูกใช้เองได้ แต่ต้องมาจดแจ้งกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน เพื่อเป็นข้อมูลว่ามีอยู่ในพื้นที่ไหนบ้าง\n2. หากดำเนินการเพื่อการค้าจะต้องขออนุญาตก่อน โดยจะมีระเบียบวิธีการที่มากกว่าแค่จดแจ้ง เพราะจะมีค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ซึ่งจะออกเป็นกฎกระทรวงภายหลังร่างพระราชบัญญัตนี้ผ่าน หากวัตถุประสงค์เพื่อสันทนาการ จะไม่มีการปิดกั้น แต่ให้เป็นอำนาจท้องถิ่นไปหารือและตกลงภายในแต่ละพื้นที่\n\nมีแนวทางดังนี้\n- มีกฎหมายเฉพาะควบคุมกัญชา กัญชง หลังจากไม่อยู่ในบัญชียาเสพติด\n- ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเข้าถึงการปลูกและการใช้ได้เช่นเดียวกับพืชทั่วไป\n- ครัวเรือนจดแจ้งกับรัฐเพื่อเป็นฐานข้อมูลเท่านั้น\n- ผู้รับจดแจ้งคือท้องถิ่น ไม่ใช่ข้าราชการ ซึ่งได้แก่ กทม. และ อบจ.\n- กระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบ ไม่ได้อยู่ในอำนาจกระทรวงสาธารณสุข\n- ผลิตภัณฑ์ที่เป็นยา อาหาร หรือเครื่องสำอาง ให้ไปใช้กฎหมายเฉพาะนั้นๆ\n- รายได้ค่าธรรมเนียมหรือภาษีเข้าหน่วยงานสังกัดท้องถิ่นนั้นๆ โดยตรง\n- การค้า (ได้แก่ ผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย โฆษณา) ต้องได้รับอนุญาตจาก กทม. หรือ อบจ.\n- องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นพิจารณาร่วมกับประชาคมเพื่อจัดให้มีพื้นที่ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการได้ (Sandbox) เช่น กทม. อาจกำหนดพื้นที่บริเวณถนนข้าวสาร\n- หากใช้เพื่อสันทนาการนอกพื้นที่ที่ท้องถิ่นกำหนดจะต้องถูกปรับ 2,000 บาท\n- ห้ามขายให้กับเด็ก และสตรีมีครรภ์ เว้นแต่จะอยู่ในความดูแลของแพทย์เพื่อรักษาโรค"},{"no":53,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (จัดทำ รธน. ฉบับใหม่ โดย สสร. เลือกตั้ง 100%)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1Two3K5GPCC_tmFyzUR7zmVRkLERzIKLF/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่เชื่อมโยงกับคณะรัฐประหาร ถูกรับรองโดยกระบวนการประชามติที่ไม่เสรีและเป็นธรรม และมีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย จึงสมควรเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมาดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และด้วยมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแม้ในกรณีที่เป็นฉันทามติในวงกว้างของประชาชนหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้","solution":"เพิ่มหมวด 15/1 (การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) และแก้ไขมาตรา 256 (การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ) โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้\n\n1. จัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท\n1.1 ประเภท 100 คนแบบแบ่งเขต โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง (สมัครเป็นรายบุคคล / ประชาชนเลือกผู้สมัครได้ 1 คน / ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับเลือก)\n1.2 ประเภท 100 คนแบบบัญชีรายชื่อ โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง (สมัครเป็นทีม / ประชาชนเลือกทีมผู้สมัครได้ 1 ทีม / แต่ละทีมได้จำนวน สสร. ตามสัดส่วนคะแนนที่ได้รับ)\n* ระบบเลือกตั้งที่มี สสร. ทั้ง 2 ประเภท จะทำให้สภาร่างรัฐธรรมนูญมีทั้งตัวแทนเชิงพื้นที่ และตัวแทนเชิงประเด็น-กลุ่มอาชีพ-กลุ่มสังคม\n\n2. กำหนดให้ สสร. มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ (ตราบใดที่ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ ตามที่บัญญัติไว้แล้วในรัฐธรรมนูญมาตรา 255)\n\n3. กำหนดให้ สสร. มีกรอบเวลาไม่เกิน 360 วัน ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้ สสร. มีเวลาเพียงพอในการรับฟังความเห็นอย่างรอบด้านและทำงานอย่างรอบคอบ ในขณะที่ไม่ทำให้กระบวนการมีความยืดเยื้อจนทำให้เราได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างล่าช้าจนเกินไป\n\n4. กำหนดอายุขั้นต่ำของผู้สมัคร สสร. ไว้ที่ 18 ปี ซึ่งสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยสากลว่าอายุขั้นต่ำสำหรับการลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งทางการเมืองใดๆก็ตาม มักยึดตามอายุขั้นต่ำในการมีสิทธิเลือกตั้ง (“ถ้าโตพอจะโหวตได้ ก็โตพอจะลงสมัครได้”)\n\n5. กำหนดให้ สสร. มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ประกอบไปด้วย สสร. ไม่น้อยกว่า 2/3 ของจำนวนกรรมาธิการ (เพื่อให้ กมธ. มีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเป็นเสียงส่วนใหญ่) และเปิดพื้นที่ให้กับคนนอกที่ สสร. คัดเลือกและอนุมติ (เพื่อให้ กมธ. มีพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์ ที่อาจไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยตรง)\n\n6. กำหนดให้มีการจัดทำประชามติ หลังจากที่ สสร. จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จ เพื่อสอบถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ซึ่งสอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564)\n\n7. กำหนดให้ สสร. มีอำนาจจัดทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.) และส่งให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ (ถ้ารัฐสภาไม่เห็นชอบ พรป. ฉบับไหนของ สสร. รัฐสภาจะมีอำนาจรับไปทำต่อเอง) เพื่อประหยัดเวลาและป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน\n\n8. กำหนดให้ สสร. สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้ โดยไม่ถูกกระทบจากการยุบสภาฯ หรือ จากการที่สภาฯหมดวาระ เพื่อความต่อเนื่องของ สสร. ในการทำงาน และของกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่\n\n9. กำหนดให้ สสร. ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง (เช่น สส / สว / รัฐมนตรี / ผู้บริหารหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น / ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ / ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ) ภายใน 5 ปีแรก เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน\n\n10. ปรับเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256) โดยกำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญกระทำได้ หาก\n- ได้รับความเห็นชอบเกิน ½ ของสมาชิกรัฐสภา (ซึ่งประกอบไปด้วย สส. ที่มาจากการเลือกตั้ง และ สว. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง) และ\n- ได้รับความเห็นชอบเกิน ⅔ ของสภาผู้แทนราษฎร (ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน)\n- (เฉพาะในกรณีที่เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนผ่านประชามติ"},{"no":54,"title":"ร่าง พ.ร.บ. มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1hW3wcCPjcAjRevBAL7QWJysIBHw9ZlHH/view?usp=sharing","name":"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคณะ","status":[1,4,1,4,1,1,1,1,2,0],"detail":"–","solution":"–"},{"no":55,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 7/2558 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการบริหารองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 17/2560 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 7/2558 ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560 (คืนสภาวิชาชีพให้ครู)","category":"education","link":"https://drive.google.com/file/d/1847IOx3C1PLNNHBjmvj7MuZzU13hqP09/view?usp=sharing","name":"สุรวาท ทองบุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"–","solution":"–"},{"no":56,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 11/2561 เรื่อง การแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (คืนมาตรฐานวิชาชีพครู)","category":"education","link":"https://drive.google.com/file/d/1Vl19yxQiKuxGHLlIeL-5xo5wVBZdlwoJ/view?usp=drive_link","name":"สุรวาท ทองบุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"–","solution":"–"},{"no":57,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560 (คืน ก.ค.ศ.)","category":"education","link":"https://drive.google.com/file/d/1bKqfTm6syQKMWQinHByg4DRveE0pBiZo/view?usp=drive_link","name":"สุรวาท ทองบุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"–","solution":"–"},{"no":58,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (แก้ไขเวนคืนที่ดิน)","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1gze4bHnXH8QtcLSNnqwtFKTYBKFM7d4E/view?usp=drive_link","name":"ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ปัจจุบัน พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มาตรา 8 (3) กำหนดให้การกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนอย่างน้อยต้องกำหนดรายละเอียดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น แต่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่ได้กำหนดเหตุจำเป็นประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเอาไว้ ทำให้การกำหนดแนวเขตที่ดินจะเวนคืนขึ้นอยู่กับการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดการใช้ดุลพินิจที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น ตลอดจนก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงในการใช้ประโยชน์และการพัฒนาที่ดินที่เหลืออยู่ โดยเฉพาะการเวนคืนที่ดินในเขตเมือง และสร้างความไม่เป็นธรรมต่อประชาชน และกระทบการพัฒนาเมืองในภาพรวมตามเจตนารมณ์ของผังเมืองและระบบคมนาคมทางรางที่รัฐต้องส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีที่ที่ดินเหลืออยู่ได้รับอานิสงค์จากการเวนคืน ทำให้ที่ดินที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินราคาเวนคืนควรนำมูลค่าที่ดินที่เหลืออยู่มาพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้เหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้ การเวนคืนอาจมีพื้นที่บางส่วนเหลือจากการใช้งานควรให้ผู้เวนคืนสามารถอนุญาตให้หน่วยงานอื่นขอใช้ประโยชน์ที่ดินที่ถูกเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะได้","solution":"- อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ได้จากการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะได้ เช่น สนามกีฬา สวนสาธารณะ สถานีดับเพลิง\n- กำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น\n- การเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือมีราคาลดลงหรือทำให้สิทธิในการพัฒนาที่ดินลดลงจากสิทธิเดิม ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับที่ดินส่วนเหลือนั้นด้วย"},{"no":59,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/19QwWAjIQo3Em1AfWicl7GQ5WLiG6HHWs/view?usp=sharing","name":"เอกราช อุดมอำนวย และคณะ","status":[1,4,1,2,0,0,0,0,0,0],"detail":"แก้ไขให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการบริหารจัดการสถานีได้ อีกทั้งบทกำหนดโทษทางปกครองที่กำหนดไว้อัตราโทษสูงไม่สอดคล้องและไม่เหมาะสมกับวิทยุภาคประชาชนและวิทยุกิจการบริการชุมชน หรือวิทยุที่มีกำลังส่งต่ำกว่า 1 กิโลวัตต์ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบกิจการขนาดเล็กมีรายได้น้อย รัศมีการส่งกระจายเสียงไปในระยะใกล้ จึงสมควรกำหนดให้ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน สามารถมีรายได้จากการบริจาค การอุดหนุนสถานี หรือรายได้อื่นเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการสถานีโดยไม่เน้นแสวงหากำไร และกำหนดโทษทางปกครองที่เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงที่ส่งกระจายเสียงด้วยกำลังส่งไม่เกิน 1 กิโลวัตต์","solution":"- กำหนดให้การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน มีรายได้จากการบริจาค การอุดหนุนสถานี หรือรายได้อื่นเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการสถานีโดยไม่เน้นการแสวงหากำไรได้\n- กำหนดการลงโทษทางปกครองสำหรับผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงที่ส่งกระจายเสียงด้วยกำลังส่งไม่เกิน 1 กิโลวัตต์ สำหรับการลงโทษตามมาตรา 59 ให้ปรับได้ไม่เกินวันละ 1,000 บาท"},{"no":60,"title":"ร่าง พ.ร.บ. อํานาจเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/17T9AZLlc1z1hRZPEL1vgbjdHX1lu9RsC/view","name":"","status":[1,4,1,4,1,1,1,1,2,0],"detail":"ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาไม่มีอำนาจเรียกให้หน่วยงานเอกชนเข้ามาชี้แจงในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีร่างกฎหมายนี้เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสามารถปฏิบัติหน้าที่พิจารณา ศึกษา สอบหา ตรวจสอบ และแสวงหาข้อเท็จจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและครบถ้วน โดยมีอำนาจชอบธรรมที่จะเรียกบุคคลหรือหน่วยงานเข้ามาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงคามคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือเรื่องที่พิจารณาสอบหาอยู่ และมีอำนาจเรียกเอกสาร ข้อมูล วัตถุ หรือหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจการที่กระทำหรือเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงดังกล่าวจากบุคคลหรือหน่วยงานได้ และใ้ห้การเรียกบุคคลหรือหน่วยงานมีผลบังคับต่อผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม ทั้งนี้ มีหลักเกณฑ์ในการเรียก และมีมาตรการป้องกันการถูกเรียกที่ไม่ชอบธรรม","solution":"- ให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจตั้ง กมธ.สามัญ กมธ.วิสามัญ และ กมธ.ร่วมกัน เพื่อพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในหน้าที่และอำนาจของสภาได้\n- แก้ไขอำนาจของ กมธ. ให้มีอำนาจเรียกเอกสารจากบุคคล หรือเรียกบุคคลมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำ หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ หรือสังกัดหน่วยงานเอกชนก็ได้ (ยกเว้นกับผู้พิพากษา/ตุลาการที่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษาอรรถคดีหรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล รวมถึงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ)\n- กำหนดเอกสิทธิ์ของผู้ให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นต่อ กมธ. หรือผู้ที่จัดทำและเผยแพร่รายงานการประชุม ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย\n- กำหนดความรับผิดของ กมธ. ที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจนเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งหรือปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต\n- กำหนดความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกต้องถูกดำเนินการทางวินัย\n- กำหนดความรับผิดของผู้ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกให้มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัย\n- กำหนดความรับผิดของผู้ส่งเอกสาร แจ้งข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นอันเป็นเท็จต่อ กมธ. ให้มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัย ถ้าเป็นเจ้าน้าที่ของรัฐให้ถือว่ามีความผิดทางวินัยด้วย\n- กำหนดความรับผิดของผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติการตามหน้าที่ของ กมธ. ให้มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัย ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ถือว่ามีความผิดทางวินัยด้วย"},{"no":61,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ยกเลิก ม.279)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1H3AhjK8HArKGo6G_Pp-BUBS1bWaLtnez/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเข้าสู่อํานาจจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้ออกประกาศและคําสั่งหลายฉบับที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในวงกว้าง แต่ประกาศและคําสั่งดังกล่าวกลับถูกทําให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทำให้การตรวจสอบหรือเอาผิดการใช้อำนาจตามประกาศและคําสั่งดังกล่าวที่เข้าข่ายเป็นการละเมิดหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่สามารถกระทำได้","solution":"ยกเลิกมาตรา 279 ในบทเฉพาะกาล เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้เสียหายจากประกาศและคำสั่ง คสช. และหัวหน้า คสช. ได้โต้แย้งถึงความชอบด้วยกฎหมายของประกาศและคำสั่งซึ่งส่งผลสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน"},{"no":62,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ป้องกันรัฐประหาร)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1WMoBBoiKcmpNAtl1Fr_P91fuzVZTgZST/view?usp=sharing","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเผชิญกับการรัฐประหารมามากกว่าสิบครั้ง โดยที่เมื่อคณะทหารก่อรัฐประหารสําเร็จ ก็ตั้งตนเป็น “รัฏฐาธิปัตย์” ออกประกาศ คําสั่ง ให้ถือเป็น “กฎหมาย” ออกกฎหมายนิรโทษกรรมตนเอง ใช้อํานาจละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กําจัดศัตรูทางการเมืองและคนที่เห็นต่าง เมื่อต้องการคืนอํานาจให้ประชาชนกลับมาสู่การเลือกตั้ง คณะรัฐประหารก็จะออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอํานาจต่อไป จนเกิดวิกฤติการเมืองรอบใหม่ คณะทหารชุดใหม่ก็เข้ามาก่อรัฐประหารวนเวียนเช่นนี้มาหลายทศวรรษจนกล่าวกันว่าเป็น “วงจรอุบาทว์” ของการเมืองไทย ทั้งหมดนี้ทําให้พัฒนาการประชาธิปไตยในประเทศไทยต้องสะดุดหยุดลง กองทัพเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้นจนกลายเป็นรัฐซ้อนรัฐ และกระทบต่อการพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ","solution":"เพิ่มบทบัญญัติ “หมวด 16/1 การลบล้างผลพวงรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และการป้องกันและการต่อต้านรัฐประหาร” ซึ่งมีสถานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่มีผลใช้บังคับโดยตลอดแม้รัฐธรรมนูญจะสิ้นผลไป โดยบทบัญญัตินี้มีสาระสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้\n- เติมพลังให้ประชาชนทุกคนในการต่อต้านการรัฐประหาร เช่น การคุ้มครองสิทธิของประชาชนทั่วไปและการกำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่ในการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่วางแผนยึดอำนาจจากประชาชน เป็นต้น\n- เพิ่มความรับผิดชอบให้ทุกสถาบันทางการเมืองร่วมกันปฏิเสธรัฐประหาร เช่น การห้ามไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญและศาลทั้งปวงรับรองรัฐประหาร เป็นต้น\n- ทำให้การทำรัฐประหารมี “ราคา” สำหรับผู้ก่อการ เช่น การห้ามไม่ให้มีการนิรโทษกรรมคณะรัฐประหารและการกำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เสียหายที่ฟ้องผู้ก่อรัฐประหารฐานกบฏได้ โดยปราศจากอายุความ เป็นต้น"},{"no":63,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1RcFpjyYtp3On0Q4_BZWjkCbnXOti9vww/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"การกําหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติตามมาตรา 65 และการปฏิรูปประเทศตามหมวด 16 มีปัญหาหลายประการ ดังนี้\n\n- ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศขาดความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นผลพวงจากระบอบรัฐประหารของ คสช. มีบุคคลใน คสช. หรือเกี่ยวข้องกับ คสช. เข้าไปกํากับควบคุมตลอดทั้งกระบวนการ ในขณะที่แผนการปฏิรูปประเทศควรจะต้องมีที่มาที่ยึดโยงกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งอาจรวมถึงนโยบายที่รณรงค์หาเสียงไว้กับประชาชน\n- ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศขาดความยืดหยุ่นเพราะได้บรรจุกลไกเรื่องยุทธศาสตร์และแผนเข้าไปในรัฐธรรมนูญและกฎหมายจนนำไปสู่การขยายตัวของรัฐราชการ แทนที่จะเป็นยุทธศาสตร์และแผนที่พรรคการเมืองและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามากำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศที่ได้รับอาณัติจากประชาชนผ่านคูหาเลือกตั้ง\n- ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศเสี่ยงจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งกันและกัน ผ่านการอาศัยกลไกขององค์กรอิสระหรือศาลต่าง ๆ เพื่อลงโทษหน่วยงานรัฐที่อาจเป็นคู่ขัดแย้งกัน โดยใช้เหตุอ้างว่าไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ","solution":"- ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติผ่านการยกเลิกมาตรา 65 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง\n- ยกเลิกแผนปฏิรูปประเทศผ่านการยกเลิกหมวด 16 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง"},{"no":64,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2559 เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม สําหรับการประกอบกิจการบางประเภท ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559","category":"democracy","link":"","name":"สมชาติ เตชถาวรเจริญ และคณะ","status":[1,4,2,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"–","solution":"–"},{"no":65,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ปลดล็อกการสไตรค์)","category":"economy","link":"https://drive.google.com/file/d/1l94B8KiXqQrgw2QkvfmAH52l0Orbk1xj/view","name":"สหัสวัต คุ้มคง และคณะ","status":[1,4,2,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพและความคุ้มครองของผู้ใช้แรงงานไว้อย่างชัดเจน เพราะผู้ใช้แรงงานเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ หากไม่ได้รับสิทธิและความคุ้มครองตามสมควรก็จะทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปไม่ได้ ดังนั้น ผู้ใช้แรงงานร่วมกันหยุดงานจึงเป็นสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบอันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและสามารถใช้ได้โดยบุคคลและกลุ่มบุคคล รวมถึงการคุ้มครองเสรีภาพที่จะชุมนุมโดยสงบ เช่น การอำนวยความสะดวกให้บุคคลเข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบ ประกันให้บุคคลในสังคมมีโอกาสแสดงความเห็นที่สอดคล้องกับบุคคลอื่นถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง มีความสำคัญทั้งในเชิงสัญลักษณ์และในเชิงกระบวนการ ซึ่งนำไปสู่การสานเสวนาในภาคประชาสังคม และระหว่างภาคประชาสังคมกับรัฐบาล ปัจจุบันการกำหนดโทษอาญากับผู้ใช้แรงงานที่ร่วมกันหยุดงานหรือร่วมกันปิดงานจึงเป็นบทบัญญัติที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ","solution":"- ยกเลิกความในมาตรา 117 แห่งประมวลกฎหมายอาญา"},{"no":66,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหาร*","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1wXuVPzAWBsGCfAeLQSfDJ22QWu5TnZAn/view?usp=drive_link","name":"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคณะ","status":[1,4,2,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจาก พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติหลายมาตราไม่เหมาะสมกับปัจจุบัน และไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับในศาลพลเรือน อีกทั้งปัจจุบันโครงสร้างและกิจการทางทหาร ตลอดจนเขตพื้นที่ทหารได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม\n\nวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร จึงผลักดันวาระนี้ในคณะกรรมาธิการฯ และร่วมกับ สส. ในคณะกรรมาธิการฯ ยื่นร่างแก้ไขกฎหมายนี้ เพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้เป็นไปตามหลักสากล และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความในคดีและบุคคลที่เกี่ยวข้อง","solution":"- แก้ไขอำนาจการวางระเบียบราชการของศาลทหารของเจ้ากรมพระธรรมนูญโดยกำหนดให้เจ้ากรมพระธรรมนูญวางระเบียบราชการของอัยการทหารเท่านั้น\n- ยกเลิกศาลจังหวัดทหารออกจากเขตอำนาจของศาลทหารชั้นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับเขตพื้นที่ทหารที่มีการเปลี่ยนแปลง\n- กำหนดให้คณะกรรมการตุลาการทหาร (กตท.) เป็นผู้วางระเบียบกำหนดคุณสมบัติ พื้นความรู้ หน้าที่และอำนาจของตุลาการพระธรรมนูญ โดยแยกออกจากตำแหน่งอื่นๆ ที่เป็นอำนาจของกระทรวงกลาโหม เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญซึ่งควรมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อให้ทำหน้าที่ได้อย่างเป็นธรรมและมีความเป็นอิสระ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติในเรื่องเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตุลาการพระธรรมนูญและอัยการทหาร ซึ่งบัญญัติอยู่ในมาตรา 11/1 มารวมไว้ในมาตราเดียวกัน เนื่องจากมีเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกัน\n- กำหนดองค์ประกอบ วาระการดำรงตำแหน่ง องค์ประชุม และหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการตุลาการทหาร (กตท.) เพื่อทำหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้\n- แก้ไขอำนาจศาลทหารในการพิจารณาสั่งลงโทษกรณีมีผู้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลโดยแยกออกเป็นอีกมาตราหนึ่งต่างหาก และกำหนดรายละเอียดของโทษที่ศาลมีอำนาจลงได้ไว้ให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย\n- แก้ไขเขตอำนาจศาลทหาร โดยปรับปรุงคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร เพื่อให้มีความเหมาะสมและเกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความในคดี\n- กำหนดอำนาจของตุลาการพระธรรมนูญนายเดียวในศาลทหารชั้นต้น เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการทางคดีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาพิพากษา\n- แก้ไของค์ประกอบขององค์คณะของศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารกลาง และศาลทหารสูงสุด โดยกำหนดให้มีสัดส่วนของตุลาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมากขึ้น\n- แก้ไขตุลาการผู้ทำหน้าที่ประธานในการพิจารณาพิพากษา โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของตุลาการพระธรรมนูญที่มีอาวุโสสูงสุด\n- แก้ไขอำนาจศาลทหารในเวลาไม่ปกติ โดยกำหนดให้ “ในเวลาไม่ปกติ” คือ ในเวลาที่มีการรบ หรือสถานะสงคราม หรือได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ตามเขตอำนาจศาลที่มีอยู่ในเวลาปกติเท่านั้น\n- กำหนดให้ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมในวิธีพิจารณาความอาญาทหาร มีสิทธิร้องต่อคณะกรรมการตุลาการทหาร (กตท.) เพื่อสืบสวนข้อเท็จจริงและอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง\n- กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในศาลทหาร เพื่อให้มีความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง\n- กำหนดให้ผู้เสียหายที่ไม่ได้เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องในคดีอาญาศาลทหารในเวลาปกติ\n- แก้ไขถ้อยคำที่เกี่ยวกับการให้จำเลยคืนทรัพย์ ใช้ราคาทรัพย์ หรือใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่จำเลยกระทำผิด โดยกำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์ ใช้ราคาทรัพย์ หรือใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้แก่รัฐ\n- กำหนดให้คู่ความในคดีแต่งทนายเพื่อว่าต่างหรือแก้ต่างคดีได้ โดยทนายต้องเป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความเท่านั้น เว้นแต่กรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีโดยตรง หรือกรณีศาลทหารในเวลาไม่ปกติจะเป็นทนายความที่กระทรวงกลาโหมกำหนดก็ได้\n- กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องในศาลทหาร\n- แก้ไขการพิจารณาและสืบพยานในศาลทหาร โดยกำหนดให้ทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย\n- แก้ไขหลักเกณฑ์การห้ามอุทธรณ์ฎีกา โดยกำหนดห้ามอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาไม่ปกติเฉพาะในเวลาที่มีการรบหรือสถานะสงครามและศาลอาญาศึกหรือศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแทนศาลอาญาศึกเท่านั้น\n- แก้ไขหลักเกณฑ์การห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยตัดความในส่วนท้ายที่ไม่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับ เพื่อให้ศาลทหารสูงสุดสามารถรับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด"},{"no":67,"title":"ร่าง พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ*","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1g7xEvkceTlO2_EVwmo8ByMANSQS7DRAf/view?usp=sharing","name":"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคณะ","status":[1,4,2,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจาก พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 กำหนดให้มีการพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบโดยใช้ระบบไต่สวนในศาลทหาร ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการพิจารณาคดีโดยใช้ระบบกล่าวหาที่เป็นรูปแบบและลักษณะการดำเนินคดีอาญาทั่วไปในศาลทหาร จึงไม่มีความชำนาญในการพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ\n\nวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร จึงผลักดันวาระนี้ในคณะกรรมาธิการฯ และร่วมกับ สส. ในคณะกรรมาธิการฯ ยื่นร่างแก้ไขกฎหมายนี้ เพื่อเสนอยกเลิกบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และเพื่อให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบมาพิจารณาพิพากษาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบแทน","solution":"- ยกเลิกมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559\n- กำหนดบทเฉพาะกาลให้โอนบรรดาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลทหารก่อนใช้บังคับกฎหมายฉบับนี้ไปให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบที่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาแทน"},{"no":68,"title":"ร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต*","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1KYd-f7ahqbE20ZSD2dXJf2o5XGdi8jgN/view?usp=sharing","name":"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคณะ","status":[1,4,1,4,1,2,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจากปัจจุบันมีการจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบต่อผู้ถูกกล่าวหาตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณา เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคดีความที่เกี่ยวข้องทั้งหลายได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วและอย่างเสมอภาค ซึ่งหากบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบแต่ไม่ได้ถูกดำเนินคดีโดยศาลและระบบการพิจารณาพิพากษาที่กฎหมายเฉพาะกำหนดไว้อาจส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในคดี และอาจกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐและประชาชน\n\nวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร จึงผลักดันวาระนี้ในคณะกรรมาธิการฯ และร่วมกับ สส. ในคณะกรรมาธิการฯ ยื่นร่างแก้ไขกฎหมายนี้ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงควรยกเลิกการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกับผู้ถูกกล่าวหาที่เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในศาลทหาร","solution":"- ยกเลิกการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกับผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในศาลทหาร\n- กำหนดให้โอนบรรดาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบที่อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีของอัยการทหารก่อนวันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับไปให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ดำเนินการในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ"},{"no":69,"title":"ร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดร้ายแรงต่อสันติภาพและมนุษยชาติ","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1b7QyIGhIDICaHqmk9d8xHsRCnN2umlNR/view?usp=sharing","name":"ธิษะณา ชุณหะวัณ และคณะ","status":[1,4,2,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ร่างกฎหมายฉบับนี้มีเพื่อให้มีมาตรการทางกฎหมายที่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ตามพันธกรณีและความรับผิดชอบร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมร้ายแรง ซึ่งเป็นภัยคุกตามต่อสันติภาพ ความมั่นคง และความเป็นมนุษยชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ (Customary International Law) หรือหลักการปฏิบัติสากลโดยทั่วไป (General Principles) และบรรทัดฐานจากคำตัดสินของศาลโลก (Opinio Juris) และสร้างความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลกับความมั่นคงและผลประโยชน์ของรัฐภายได้หลักนิติธรรม เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายภายในที่ครอบคลุมการกระทำดังกล่าวอย่างครบถ้วน","solution":"- การป้องกันอาชญากรรมอันเป็นความร้ายแรงต่อสันติภาพและมนุษยชาติ กำหนดให้มีการส่งเสริมให้ประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสื่อมวลชน ตระหนักถึงความร้ายแรงของอาชญากรรมต่อสันติภาพและมนุษยชาติ\n- การกระทำความผิดร้ายแรงต่อสันติภาพและมนุษยชาติ กำหนดฐานความผิดดังต่อไปนี้\n1) ความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: การกระทำที่มุ่งหมายเพื่อทำลายกลุ่มที่ได้รับการคุ้มครองทั้งหมดหรือบางส่วน\n2) ความผิดฐานอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ: การกระทำที่มุ่งหมายเพื่อโจมตีหรือเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีที่ก่อให้เกิดความเสียหายในชีวิต ร่างกาย อนามัย และทรัพย์สินของพลเรือนอย่างกว้างขวางและเป็นระบบต่อพลเรือน\n3) ความผิดฐานอาชญากรรมสงคราม: การกระทำที่มุ่งหมายต่อทหารบาดเจ็บ เชลยศึก บุคคลากรทางการแพทย์ หรือพลเรือนในพื้นที่สงคราม โดยละเมิดกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง\n4) ความผิดฐานอาชญากรรมรุกราน: ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจควบคุมกำลังหรือกลุ่มติดอาวุธใด วางแผน เตรียมการ ยุยง หรือสั่งการให้ใช้กำลังอาวุธโจมตีหน่วยงานของรัฐหรือประชาชน อันกระทบต่อความเป็นเอกราชหรือบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักรหรือของรัฐอื่น\n- หน้าที่และความรับผิดของผู้บังคับบัญชา ตลอดจนคุ้มครองผู้ใต้บังคับบัญชา\nที่ปฏิเสธคำสั่งที่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ของผู้บังคับบัญชา\n- การดำเนินคดี กำหนดอำนาจพนักงานสอบสวนและศาลในการดำเนินคดี\nและพิจารณาพิพากษาคดีอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนเขตอำนาจศาล\n- บทกำหนดโทษ กำหนดบทลงโทษสำหรับความผิดฐานอาชญากรรมประเภทต่างๆ\n- บทเฉพาะกาลเพิ่มเติม เช่น กำหนดให้มีการจัดอบรมความรู้แก่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และผู้พิพากษา เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้"},{"no":70,"title":"ร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง (รางประชาชน)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1aDzt1Lrb7bwt-FinfR5jubOtldTMdBha/view?usp=drive_link","name":"สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ และคณะ","status":[1,1,1,4,1,2,0,0,0,0],"detail":"กรมการขนส่งทางราง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่สำคัญในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาระบบราง พร้อมทั้งกำกับมาตรฐานความปลอดภัย การบำรุงรักษา และการวางแผนเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัยสำหรับประชาชน นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนส่งทางรางของไทย\n\nอย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีบทบัญญัติกฎหมายที่ใช้ควบคุมและกำกับดูแลกิจการขนส่งทางรางโดยตรง ทำให้การพัฒนาและบริหารจัดการยังขาดความเป็นระบบ ไม่สอดคล้องกับการขนส่งรูปแบบอื่น","solution":"- ให้มี พ.ร.บ. การขนส่งทางราง รองรับหน่วยงานที่ตั้งมาก่อนคือกรมการขนส่งทางราง โดยกำหนดโครงสร้างอำนาจของคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับกฎหมายการขนส่งรูปแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางอากาศ สามารถบูรณาการการทำงานเพื่อพัฒนาระบบการขนส่งทางรางของประเทศ"},{"no":71,"title":"ร่าง พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด","category":"local","link":"https://drive.google.com/file/d/14RffrjkabpDkR9PGrNSrhdi8u9tmfNkm/view?usp=sharing","name":"สมชาติ เตชถาวรเจริญ และคณะ","status":[1,2,0,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"ร่าง พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ฉบับนี้ มีหลักการเพื่อเสนอให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากรตามที่จัดเก็บได้จากสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น เนื่องจากปัจจุบันกรมสรรพากรให้สิทธิผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน ณ สำนักงานใหญ่ เป็นเหตุให้ส่วนแบ่งภาษีมูลค่าเพิ่มของสาขาสถานประกอบการที่อยู่ในต่างจังหวัดตกเป็นของจังหวัดตามที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้รับการจัดสรรยอดภาษีมูลค่าเพิ่มของสาขาบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งอยู่ในพื้นที่ ","solution":"- ให้จัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร ตามที่จัดเก็บได้จากสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น"},{"no":72,"title":"ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร","category":"local","link":"https://drive.google.com/file/d/13oDEkelA4OL_-CleGYInKipEmHRZRUyr/view?usp=sharing","name":"สมชาติ เตชถาวรเจริญ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจากปัจจุบันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการรายได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีรวม ณ สำนักงานใหญ่แห่งเดียว ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสาขาของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งอยู่ไม่มีข้อมูลรายได้ของสาขาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จึงได้เสนอร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ฉบับนี้","solution":"- เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการรายได้ของแต่ละสาขา ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีในแต่ละปีภาษี ตามแบบที่อธิบดีกำหนด เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการกำหนดแผนในการดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นนั้นๆ ได้ต่อไป"},{"no":73,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ยุติการผูกขาดอำนาจเรื่องมาตรฐานจริยธรรม)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1nli-dh7bOm-pBh0w-A_DZwLbHSjNI5Qc/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"","solution":"- แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 160 มาตรา 168 มาตรา 186 มาตรา 201 มาตรา 202 มาตรา 208 มาตรา 219 มาตรา 234 มาตรา 235 มาตรา 236"},{"no":74,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ป้องกันการสมคบคิดกันระหว่างรัฐบาลกับ ป.ป.ช.)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1N25DIj3KSA9DCccXCNGRHPtl6EeRbn0J/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้าชื่อร้องเรียนกล่าวหาและตรวจสอบกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่อาจเปิดช่องให้มีการใช้ดุลพินิจมากเกินควร เพราะกำหนดให้ประธานรัฐสภามีอำนาจในการพิจารณาว่าจะเสนอเรื่องร้องเรียนไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระหรือไม่ จนอาจกลายมาเป็นอุปสรรคในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ป.ป.ช. จึงแก้ไขกระบวนการร้องเรียนกรรมการ ป.ป.ช. โดยตัดดุลพินิจของประธานรัฐสภาในกรณีดังกล่าวออกเพื่อให้ทุกข้อร้องเรียนที่มีการเข้าชื่อกล่าวหาถูกเสนอไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระได้","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 236)\n- กำหนดให้ประธานรัฐสภาเสนอทุกเรื่องร้องเรียนที่มีการการเข้าชื่อกล่าวหากรรมการ ป.ป.ช. ไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระ"},{"no":75,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (เพิ่มกลไกคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสและผู้เปิดโปงการทุจริต [Open Data & Whistleblower Protection])","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1lN2z5DWiSXw6HHY5a3GLK2t8uRtOg3vf/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ยังไม่ได้คุ้มครองสิทธิของประชาชนอย่างเพียงพอในการเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ รวมถึงยังไม่มีบทบัญญัติใดๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการได้รับความคุ้มครองจากรัฐในกรณีที่เปิดเผยหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต (Whistleblower Protection) อันล้วนเป็นสิทธิของประชาชนที่มีความสำคัญในการตรวจสอบการทุจริต จึงแก้ไขให้ประชาชนมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ และประชาชนมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐในกรณีที่เปิดเผยหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 41 และมาตรา 59) \n- กำหนดให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐทั้ง\nหมด ยกเว้นข้อมูลที่เป็นความลับของทางราชการหรือข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติ\n- กำหนดให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ในกรณีที่เปิดเผยหรือแจ้งเบาะแสการทุจริตของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ\n- กำหนดให้รัฐต้องเปิดเผยและเผยแพร่ข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐทั้งหมด ยกเว้นข้อมูลที่เป็นความลับของทางราชการหรือข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวกในรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน"},{"no":76,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (สิทธิการศึกษา เรียนฟรี 15 ปี)","category":"education","link":"https://drive.google.com/file/d/1BOw4rY8TCDAyP8GUZu3qzllSDPZx13ph/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายเป็นเวลาเพียง 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ จึงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อขยายสิทธิของประชาชนให้ได้รับการศึกษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพเป็นเวลาอย่างน้อย 15 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย","solution":"(แก้ไขเพิ่มมาตรา 47/1 และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 54 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคห้า)\n- กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพเป็นเวลาอย่างน้อย 15 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา\n- กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพเป็นเวลาอย่างน้อย 15 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย\n- กำหนดให้ประชาชนได้รับการดูแลและพัฒนาหรือได้รับการศึกษา รัฐต้องดำเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามความถนัดของตน"},{"no":77,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (สิทธิชุมชน-สิ่งแวดล้อม)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1-Ws-LGvDd64gzMfLIalAoP4uOl1zHQVT/view?usp=sharing","name":"พงศธร ศรเพชรนรินทร์ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ยังไม่ได้คุ้มครองสิทธิของประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางและรัดกุมเพียงพอ จึงแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนและชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงยกระดับสิทธิบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน การยกระดับสิทธิในการดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ยั่งยืน และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน การยกระดับสิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินการของรัฐหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และการกำหนดให้มีองค์การอิสระที่ให้ความเห็นต่อการดำเนินการของรัฐหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 43 เพิ่มมาตรา 57 (3) และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 58)\n- กำหนดให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนและกำหนดให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิในการดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ยั่งยืน และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน\n- กำหนดให้รัฐมีหน้าที่คุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ยั่งยืน\nและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน\n- กำหนดให้มีองค์การอิสระที่ให้ความเห็นต่อการดำเนินการของรัฐหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพใดของประชาชนหรือชุมชน\n- กำหนดให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินการของรัฐหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพใดของประชาชนหรือชุมชน\n- กำหนดให้รัฐต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ เว้นแต่กรณีที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ รัฐพึงจัดการให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และต้องเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและโดยไม่ชักช้า"},{"no":78,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ความเสมอภาคทางเพศ)","category":"life","link":"https://drive.google.com/file/d/1RtITtAZvp6G2wtSxwBAMV_Wg4lHz946v/view?usp=drive_link","name":"ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่กำหนดให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน อันเป็นการสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศที่อาจไม่ได้คำนึงถึงความหลากหลายทางเพศ จึงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคทางเพศโดยคำนึงถึงความหลากหลายทางเพศ ทั้งในด้านเพศ เพศสภาพ เพศวิถี และอัตลักษณ์ทางเพศ","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 27 วรรคสอง)\n- กำหนดให้บุคคลทุกคน ไม่ว่าเพศ เพศสภาพ เพศวิถี หรืออัตลักษณ์ทางเพศใด มีสิทธิเท่าเทียมกัน"},{"no":79,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (สิทธิในกระบวนการยุติธรรม)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1TIJv9yHnVwmrO5eyakOnbPWUivcO-LRn/view?usp=drive_link","name":"ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ยังไม่ได้คุ้มครองสิทธิของประชาชนอย่างเพียงพอในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในกรณีที่ไม่มีพฤติการณ์อันเชื่อได้ว่าจะหลบหนี และสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในการจัดหาทนายความ","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 29 วรรคห้า เพิ่มมาตรา 29 วรรคหก และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 วรรคสาม)\n- กำหนดสิทธิในการขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาย่อมได้รับความคุ้มครองและพิจารณาอย่างรวดเร็ว โดยการไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวต้องเป็นกรณีที่เชื่อได้ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี\n- กำหนดให้จำเลยที่ศาลชั้นต้นไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวและจำเลยที่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือลงโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปจะถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาเกิน 1 ปีไม่ได้\n- กำหนดให้รัฐต้องให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการจัดหาทนายความให้ประชาชนตามที่กฎหมายบัญญัติ"},{"no":80,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (เสรีภาพในการแสดงออก)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1DJ9oq9Lvt1kUKx-L0bidVxH-NlxhCtiI/view?usp=drive_link","name":"ชลธิชา แจ้งเร็ว และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ยังไม่ได้คุ้มครองเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในทางวิชาการอย่างเพียงพอ จึงแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 34)\n- กำหนดให้การตรากฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการติชมด้วยความเป็นธรรมจะกระทำไม่ได้\n- แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองเสรีภาพในทางวิชาการ รวมถึงการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน"},{"no":81,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (เงื่อนไขจำกัดสิทธิเสรีภาพ)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1vfwUHR2AC7DO8BqXPKJhO8u6iX8_9kX-/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ขยายเงื่อนไขในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้รวมถึงเหตุผลเรื่องความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อย ทำให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนอาจไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร จึงแก้ไขเพื่อปรับลดเงื่อนไขที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพประชาชน","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25)\n- แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย\n- กำหนดให้สิทธิหรือเสรีภาพตามมาตรา 25 หมายความรวมถึงสิทธิหรือเสรีภาพตามพันธกรณีและกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย"},{"no":82,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร)","category":"democracy","link":"https://drive.google.com/file/d/1n7HTsRKvvKGGYDa5bZuessvu_rXJKE6t/view?usp=sharing","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังมีกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารที่กำหนดให้มีระบบเกณฑ์ทหารที่บังคับชายไทยบางส่วนเข้ารับราชการทหารในห้วงเวลาที่ไม่มีภัยสงคราม ซึ่งนำไปสู่การลิดรอนเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพในระดับปัจเจกบุคคล และการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ในวัยทำงานจากระบบเศรษฐกิจในระดับประเทศ จึงแก้ไขเพื่อปิดช่องไม่ให้มีการบังคับเกณฑ์ทหารในยามปกติที่ไม่มีภัยสงคราม โดยให้กองทัพประกอบด้วยเพียงบุคคลที่สมัครใจเข้ารับราชการทหาร ซึ่งจะทำให้กองทัพดำเนินการภารกิจการรักษาความมั่นคงของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากทำควบคู่กับการลดยอดกำลังพลที่ไม่จำเป็นและการยกระดับคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการในด้านของรายได้ สวัสดิการ ความก้าวหน้าทางอาชีพ ความปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจ และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะนำไปสู่ยอดจำนวนผู้สมัครใจที่สูงขึ้น","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 50 (5))\n- กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหารเมื่อมีภัยสงครามหรือมีเหตุที่ประเทศอาจเผชิญสงครามในระยะเวลาอันใกล้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"},{"no":83,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ยกระดับกลไกกรรมาธิการ)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1TyaGKoGzzEEkz6WXCodyOHd0rk1-7UZa/view?usp=sharing","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ไว้อย่างจำกัด จึงแก้ไขเพื่อยกระดับประสิทธิภาพของ กมธ. ในการทำหน้าที่ รวมถึงการสอบสวนข้อเท็จจริง การออกคำสั่งเรียกเอกสาร หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็น","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 129)\n- แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอำนาจของกรรมาธิการในการทำกิจการพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ และรายงานให้สภาทราบตามระยะเวลาที่สภากำหนด"},{"no":84,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ปรับขอบเขตอำนาจศาลทหาร)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1iRzsNyIM_GlBrrRDZALgvft4KjUrFB0R/view?usp=drive_link","name":"เอกราช อุดมอำนวย และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่เปิดช่องให้มีการออกกฎหมายที่ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั่วไปในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นทหาร ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ทหารและพลเรือนที่กระทำความผิดในลักษณะเดียวกันในยามปกติที่ไม่ได้มีการประกาศสงครามจะได้รับการปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน จึงแก้ไขขอบเขตอำนาจของศาลทหารเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 199)\n- กำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคล ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น เฉพาะในระหว่างการประกาศสงคราม"},{"no":85,"title":"ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ปรับนิยามฝ่ายค้าน)","category":"government","link":"https://drive.google.com/file/d/1PC9hmufKI53iY3gnnzQXWkamU5hfvyGO/view?usp=drive_link","name":"พริษฐ์ วัชรสินธุ และคณะ","status":[1,4,1,0,0,0,0,0,0,0],"detail":"เดิมทีรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง สส. ผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด และสมาชิกไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาฯ หรือรองประธานสภาฯ เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำให้พรรคการเมืองที่มีหัวหน้าพรรคเป็นผู้นำฝ่ายค้านจะไม่สามารถมีสมาชิกดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ หรือรองประธานสภาฯ ได้ จึงแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านเพื่อให้พรรคการเมืองที่ทำหน้าที่เป็นพรรคหลักในฝ่ายค้านสามารถมีสมาชิกดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ หรือรองประธานสภาฯ ได้ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่","solution":"(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 106 วรรคหนึ่ง)\n- แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการได้มาซึ่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร"}] \ No newline at end of file