React นั้นได้มีการเตรียม attributes ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการจัดการกับ event ไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งวิธีใช้ทั่วไปนั้นแทบจะเหมือนกับวิธีการจัดการ event ใน DOM ที่เราคุ้นเคยเลย โดยจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เช่น การใช้ camelCase
เป็นชื่อ attribute หรือการส่ง function แทนที่จะเป็น string เป็นต้น
const theLogoIsClicked = () => alert('Clicked');
// onClick event
<Logo onClick={ theLogoIsClicked } />
// onChange event
<input
type='text'
onChange={event => theInputIsChanged(event.target.value) } />
ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะจัดการ event กันภายในคอมโพเนนท์ที่สร้าง event นั้นขึ้นมา เช่นในตัวอย่างข้างล่าง เรามี button
อยู่ในคอมโพเนนท์ Switcher
แล้วเราต้องการให้การคลิกที่ button
ไปรันคำสั่งชื่อ _handleButtonClick
ที่อยู่ในคอมโพเนนท์ Switcher
class Switcher extends React.Component {
render() {
return (
<button onClick={ this._handleButtonClick }>
click me
</button>
);
}
_handleButtonClick() {
console.log('Button is clicked');
}
};
โค้ดชุดนี้จะสามารถทำงานได้ตรงตามที่เราต้องการ เพราะ _handleButtonClick
นั้นเป็น function และเราก็ส่ง function เข้าไปใน attribute ชื่อ onClick
แต่!! เนื่องจากตัวโค้ดไม่ได้อยู่ใน context
(บริบท) เดียวกัน ส่งผลให้เวลาที่เราต้องการเรียกถึงตัวแปร this
ข้างในฟังก์ชัน _handleButtonClick
เพื่อเรียกถึงคอมโพเนนท์ Switcher
จะทำให้เกิด Error ขึ้นมาทันที
class Switcher extends React.Component {
constructor(props) {
super(props);
this.state = { name: 'React in patterns' };
}
render() {
return (
<button onClick={ this._handleButtonClick }>
click me
</button>
);
}
_handleButtonClick() {
console.log(`Button is clicked inside ${ this.state.name }`);
// ไม่สามารถเรียก this.state.name ได้ เพราะหา this ไม่เจอ เนื่องจาก context ของ this ไม่ตรงกัน
// Uncaught TypeError: Cannot read property 'state' of null
}
};
เราสามารถแก้ได้โดยการใช้ bind
<button onClick={ this._handleButtonClick.bind(this) }>
click me
</button>
เสียแต่ว่าฟังก์ชัน bind
ของเรานั้นจะถูกเรียกซ้ำไปซ้ำมาอยู่บ่อยๆ เพราะว่าคอมโพเนนท์ button
อาจถูก render ใหม่หลายๆครั้ง (หรือที่เราเรียกกันว่า re-render) วิธีที่ดีกว่านี้ก็คือการเปลี่ยนไป bind
ที่ constructor
ของคอมโพเนนท์นั้นทีเดียวเลย
class Switcher extends React.Component {
constructor(props) {
super(props);
this.state = { name: 'React in patterns' };
// ทำการ binding ที่นี่แทน
this._buttonClick = this._handleButtonClick.bind(this);
}
render() {
return (
<button onClick={ this._buttonClick }>
click me
</button>
);
}
_handleButtonClick() {
console.log(`Button is clicked inside ${ this.state.name }`);
}
};
Facebook (ผู้สร้าง React) เองก็ยัง แนะนำ เทคนิคเดียวกันนี้เวลาที่ต้องจัดการกับฟังก์ชันที่ใช้ context เดียวกันภายในคอมโพเนนท์
Constructor ยังถือเป็นที่ที่ดีสำหรับการสร้าง handler ที่มีค่าบางอย่างพร้อมแล้วอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรามี <form>
ที่มีหลาย <input>
อยู่ข้างใน แต่เราต้องการจัดการการทำงานเมื่อ <input>
ถูกเปลี่ยนในฟังก์ชัน _onFieldChange(field, event)
เพียงที่เดียว
class Form extends React.Component {
constructor(props) {
super(props);
this._onNameChanged = this._onFieldChange.bind(this, 'name');
this._onPasswordChanged = this._onFieldChange.bind(this, 'password');
}
render() {
return (
<form>
<input onChange={ this._onNameChanged } />
<input onChange={ this._onPasswordChanged } />
</form>
);
}
_onFieldChange(field, event) {
console.log(`${ field } changed to ${ event.target.value }`);
}
};
การจัดการ event ใน React นั้นอาจดูเหมือนไม่มีอะไรใหม่ให้ศึกษาสักเท่าไหร่ เพราะคนสร้าง React นั้นถือว่าทำไว้ดีแล้วในเรื่องของการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ ในเมื่อตัวไลบรารี่เองมีการใช้ syntax ที่เหมือนกับ HTML เดิมอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะมีการจัดการ event เหมือนใน DOM