[Insert Your Name Here]
แบบทดสอบทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อสรรหาบุคคลเข้ารับตำแหน่ง Frontend Developer ประจำปีการศึกษา 2565
-
แบบทดสอบนี้ถูกออกแบบมาให้ทำเสร็จภายใน 120 ชั่วโมง (5 วัน) อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯ จะให้เวลาในการทำทั้งหมด 168 ชั่วโมง (7 วัน) หลังจากที่ผู้สมัครได้รับบททดสอบนี้ เนื่องจากผู้สมัครบางท่านอาจจะมีช่วงเวลาที่สะดวกแตกต่างกันไป
-
ให้ผู้สมัครทำการ fork repository isd-sgcu/sgcu65-frontend-recruitment โดยใช้ account ของผู้สมัครเอง
-
กรุณาอ่านรายละเอียดโจทย์และทำความเข้าใจให้เรียบร้อยก่อนทำโจทย์ หากมีข้อสงสัยประการใดผู้สมัครสามารถส่งอีเมลไปที่ [email protected] เพื่อสอบถามได้ตลอดเวลา
-
พึงระลึกไว้เสมอว่าสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญในการพัฒนาซอฟต์แวร์จริง ๆ ซึ่งมีผลต่อการพิจารณาผู้สมัคร
- Code Readability – โค้ดอ่านรู้เรื่อง กระชับ เข้าใจง่าย
- Commit Message Readability – ข้อความใน commit ต้องมีความหมาย
-
การส่ง assignment ขอให้ผู้สมัครอัพโหลด source code ทั้งหมดลง repository ดังกล่าว โดยหากต้องการอธิบายเกี่ยวกับโค้ดที่ส่งมาเพิ่มเติมสามารถเขียนลงในไฟล์ README.md ได้
-
หากมีไอเดียเพิ่มเติมจากที่โจทย์ระบุไว้ที่ดีกว่าจากที่โจทย์กำหนด ผู้สมัครสามารถระบุไอเดียนั้นลงไปในไฟล์ README.md โดยเขียนด้วยรูปแบบดังนี้
## Additional Idea
- <ไอเดียเพิ่มเติมของผู้สมัคร>
- หากมีสมมติฐานเพิ่มเติมที่โจทย์ไม่ได้ให้ข้อมูลไว้ ผู้สมัครสามารถระบุสมมติฐานนั้นลงไปในไฟล์ README.md โดยเขียนด้วยรูปแบบดังนี้
## Assumption
- <สมมติฐานของผู้สมัคร>
- การตรวจ assignment จะยึดจาก commit สุดท้ายใน branch main ก่อนเวลาสิ้นสุดแบบทดสอบที่ระบุไว้ในอีเมลที่ผู้สมัครได้รับเท่านั้น โปรดพึงระลึกไว้เสมอว่า การตรงต่อเวลา เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อการเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่ดี
- ขอให้ทยอยส่ง source code เมื่อทำเสร็จแต่ละ Feature เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาการส่งเมื่อเวลาใกล้หมด ไม่จำเป็นต้องเสร็จทั้งหมดแล้วค่อยส่ง
- ผู้สมัครสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากช่องทางใดก็ได้ ในระหว่างการทำแบบทดสอบ
- การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกถือเป็นที่สิ้นสุด
- เพื่อทดสอบความรู้ HTML, CSS และ JavaScript เบื้องต้น
- เพื่อประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้สมัคร
- เพื่อประเมินความคิดสร้างสรรค์ของผู้สมัคร
วันหนึ่ง ดาวเคราะห์ดวงที่สามของระบบสุริยะทางช้างเผือกหรืออีกชื่อหนึ่ง "โลก" ได้ล่มสลายไปจากมหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ใช้เวลาก่อร่างสร้างตัวกว่า 2.745 ล้านปีจนทำให้สิ่งมีชีวิตเกือบทั้งหมดในโลกมลายหายไปในที่สุด คุณและเหล่าผองเพื่อนเป็นผู้รอดจากมหาภัยพิบัตินั้น ซึ่งคุณต้องการที่จะกอบกู้โลกใบเดิมให้กลับมาให้เร็วที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณได้พบว่าโลกใบเดิมของคุณมีระบบจัดการฐานข้อมูลได้ไม่ดีเท่าที่ควร ระบบราชการและสวัสดิการของบางประเทศมีความจำเป็นที่จะต้องกรอกข้อมูลซ้ำ ๆ ทั้ง ๆ ที่มนุษย์สมัยก่อนทุกคนมีสิ่งที่เอาไว้ยืนยันตัวตนเช่น บัตรประชาชน ที่ข้อมูลพื้นฐานทุกอย่าง เช่น ชื่อ นามสกุล อยู่ในนั้นทั้งหมด
คุณผู้เป็นผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติและเห็นถึงปัญหานั้นจึงได้เริ่มทำ "ระบบลงทะเบียน" ที่จะให้มนุษย์ที่เหลือรอดทุกคนลงทะเบียนและมอบสวัสดิการที่ดีให้อย่างทั่วถึง ซึ่งคุณได้รวบรวมเหล่าเพื่อนพ้องที่ต้องการจะแก้ปัญหานี้มาได้จำนวนหนึ่งแล้ว ซึ่งเพื่อน ๆ ของคุณก็ทำหน้าที่ต่าง ๆ กันไป เพื่อนคนแรกได้ออกแบบ UX/UI มาให้คุณแล้วเรียบร้อย คุณสามารถเข้าไปดูและพัฒนาเว็บให้มีหน้าตาตามนั้นได้เลย เพื่อนคนที่สองได้ทำการพัฒนาระบบ Backend มาให้คุณแล้วเรียบร้อย คุณสามารถเข้าไปดูวิธีการใช้งานและทดลองใช้ API ได้
หน้าที่ของคุณคือ "พัฒนาเว็บลงทะเบียน" ที่จะมอบประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้ มีความสวยงาม รองรับได้ทั้งโทรศัพท์และบนคอมพิวเตอร์ และทำงานได้อย่างถูกต้องตามที่ควรจะเป็น โดยคุณต้องทำการพัฒนาส่วน Frontend ร่วมกับเพื่อนอีกคนหนึ่งแต่เพื่อนคนนั้นดันลาป่วยยาว คุณได้ตัดสินใจที่จะพัฒนาเว็บไซต์ให้ได้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ระหว่างที่เพื่อนของคุณพักผ่อน แต่เนื่องจากเพื่อนของคุณเก่งมาก feature ไหนที่คุณคิดว่าทำไม่ไหว (หรือขี้เกียจทำ) คุณก็สามารถเก็บไว้ให้เพื่อนคุณทำต่อได้ (mark feature ที่ทำแล้วใน README.md ด้วย! ) อย่าลืมที่จะเขียน Code ให้อ่านง่าย และเขียน Commit Message ให้มีความหมาย คุณจะได้ไม่โดนบ่นตอนเพื่อนของคุณกลับมาทำงาน
บางครั้งงานออกแบบที่เพื่อนคุณทำนั้นก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบเสมอไป คุณสามารถปรับแต่งอะไรได้นิดหน่อยตามความเหมาะสมตามที่คุณเห็นสมควร แต่บอกเพื่อนของคุณด้วยว่าคุณแก้อะไรไปและบอกเหตุผลด้วยว่าทำไม (ในที่นี้คืออย่าลืมเขียน Additional Idea ด้วยยย)
อย่าลืม mark ว่าทำ feature ไหนแล้วด้วยการใส่ x ลงใน [ ]
- เว็บไซต์มีหน้าตาเหมือนกับ UX/UI ที่กำหนดไว้
- เว็บไซต์สามารถ Navigate ผู้ใช้ไปยัง Social Media อื่น ๆ ได้เช่น Facebook, Instagram และ Twitter
- เว็บไซต์สามารถ Responsive ได้ (เว็บใน Mobile และ Desktop ต้องไม่เละ!)
- เว็บไซต์มีระบบ Form Validation
- ทุก field ต้องไม่ใช่ string เปล่า
- ชื่อผู้ใช้ต้องประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษหรือตัวเลขเท่านั้น
- อีเมลต้องถูกรูปแบบ
- รหัสผ่านกับยืนยันรหัสผ่านตรงกัน
- เมื่อกดปุ่ม Submit แล้ว เว็บไซต์จะสามารถเรียก API เพื่อส่งข้อมูลของผู้ใช้ไปให้ Backend
- เว็บไซต์สามารถแสดง error จาก API response ได้
อย่าลืม mark ว่าทำ feature ไหนแล้วด้วยการใส่ x ลงใน [ ]
- เว็บไซต์มีหน้าตาเหมือนกับ UX/UI ที่กำหนดไว้
- เว็บไซต์สามารถ Responsive ได้ (เว็บใน Mobile และ Desktop ต้องไม่เละ!)
- เว็บไซต์สามารถดึงข้อมูลผู้ใช้จาก API มาแสดงได้
- User สามารถพิมพ์ค้นหาผู้ใช้ได้จาก
- ชื่อ
- นามสกุล
- ชื่อผู้ใช้
-
คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มจากแหล่งความรู้ไหนก็ได้ไม่จำกัด ยกเว้นถามเพื่อน ๆ ทั้งนี้ เราคาดหวังว่าคุณจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยตัวคุณเอง
-
คุณไม่จำเป็นต้องพัฒนาเว็บไซต์ให้ครบทุก Feature โดยสามารถเลือกทำตามความสำคัญ ตามความยากง่าย หรือตามความถนัดของคุณก็ได้
-
คุณสามารถหาไฟล์รูปและ icon ต่าง ๆ ที่ถูกใช้ใน design ได้จาก folder assets
-
หากคุณใช้ VS Code ในการพัฒนา แนะนำว่าติดตั้ง VSCode Extension: Live Server เพื่อความง่ายในการพัฒนาเว็บไซต์
- ก่อนอื่นทำการ Install Extension มาก่อนตามลิงก์ที่แปะไว้ข้างบนเลย
- เมื่อ Install เสร็จแล้ว ให้คลิกขวาที่ไฟล์
index.html
แล้วจะมี Menu นึงมาว่าOpen with Live Server
- ซึ่ง Live Server จะรันอยู่ที่ localhost:5500 ถ้าเปิดแล้วได้หน้าตาคล้าย ๆ folder ไม่ต้องตกใจ ให้คุณกดเลือก name-list หรือ register หน้าเว็บก็จะแสดงออกมา
- ทุกครั้งที่คุณ save file, Live Server จะทำการ Rerender หน้าเว็บใหม่ให้ ดังนั้นคุณไม่ได้ต้องเปิด ๆ ปิด ๆ ระหว่างทำงานอีกต่อไป
-
คุณไม่จำเป็นต้องใช้ framework ใด ๆ ในการทำข้อนี้ แต่หากต้องการใช้ก็สามารถใช้ได้
-
ใน repository ที่คุณทำการ fork ไป ทั้งสองหน้าจะถูกแยกไว้คนละ folder กัน แต่คุณสามารถลบทั้งสอง folder ทิ้งและเขียนรวมกันได้โดยใช้ routing ในการแสดงแต่ละหน้า
- ให้แสดงหน้ารายชื่อผู้ลงทะเบียนที่ route “/”
- ให้แสดงหน้าลงทะเบียนที่ route “/register”
-
หากคุณอยากเพิ่มอะไรมากกว่าที่กำหนดก็สามารถทำได้เลย!
ให้ผู้สมัครเขียน ชื่อ-นามสกุล assignment ไว้ที่ README.md ด้วย (แปะไว้ตรงไหนก็ได้ให้รู้ว่าเป็นของใครก็พอ)
ขอให้อัพโหลด source code ทั้งหมด (ยกเว้น dependencies ที่มีขนาดใหญ่ เช่น node_modules ถ้ามี) หากไม่ได้เขียนด้วย pure HTML, CSS, JavaScript ขอให้ระบุวิธีการเปิดเว็บขึ้นมาดูในไฟล์ README.md ด้วย โดยเขียนด้วยรูปแบบดังนี้
## How To Run
<วิธีการเปิดเว็บ>
ตั้งแต่ส่วนนี้ลงไป เป็นส่วนที่ผู้สมัครสามารถแก้ไขได้ตามอัธยาศัย ซึ่งอาจจะเป็นข้อสันนิษฐานหรือไอเดียเพิ่มเติมก็ได้